ความแม่นยำของการใช้แบบจำลองการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ฐานข้อมูลที่ได้จากการสุ่มแบบมีเงื่อนไขเพื่อการคาดการณ์ผลการเรียนของนักเรียนนายเรือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเชิงวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอการตรวจสอบความแม่นยำของการนำแบบจำลองวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ฐานข้อมูลที่ได้จากการสุ่มแบบมีเงื่อนไขด้วยคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นจากต้นแบบข้อมูลจากผลการศึกษาจริงรายวิชาความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกรรม ประจำปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนนายเรือ ฐานข้อมูลสุ่มนี้จะบรรจุข้อมูลที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามคือ ผลการเรียนรายวิชา กับตัวแปรต้นคือ ปัจจัยที่มีผลต่อผลการเรียนรายวิชา ประกอบด้วย ปัจจัยตัวบุคคล และปัจจัยการเรียนการสอน โดยเขียนโปรแกรมสร้างฐานข้อมูลสุ่มย้อนหลังจำนวน 30 ปีการศึกษา แล้วนำฐานข้อมูลที่สร้างได้มาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทดสอบแบบจำลองวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตามให้ได้สมการพยากรณ์ผลการเรียนรายวิชาของนักเรียนนายเรือ จากนั้นทำการทดสอบความแม่นยำในการทำนายของสมการพยากรณ์ที่ได้ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ความแม่นยำในการทำนายของสมการพยากรณ์เมื่อนำไปทดสอบกับฐานข้อมูลสุ่มที่สร้างขึ้น ไม่ว่าจะผ่านการสุ่มกี่ครั้งก็ตาม ผลทดสอบความแม่นยำเมื่อทดสอบกับ 1 ปีการศึกษาใดๆ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 84% ถ้าทดสอบกับฐานข้อมูลสุ่มสะสม 3 ปีการศึกษา จะมีความแม่นยำเฉลี่ยประมาณ 88.4% เมื่อเพิ่มจำนวนฐานข้อมูลสุ่มสะสมเป็น 5, 10, 15 และ 20 ปีการศึกษา จะพบว่า ความแม่นยำในการทำนายเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 90%, 91.67%, 91.67% และ 93% ตามลำดับ และเมื่อเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณจากฐานข้อมูลสุ่มทั้งหมด 30 ปีการศึกษา จะได้สมการพยากรณ์ คือ
y = -2.47317 + 0.13134a + 0.00209b
เมื่อ a แทน ค่าเฉลี่ยในส่วนของปัจจัยตัวบุคคล
b แทน ค่าเฉลี่ยในส่วนของปัจจัยการเรียนการสอน
เมื่อนำไปทำการทดสอบความแม่นยำในการทำนายผลการเรียนรายวิชาของนักเรียนนายเรือกับฐานข้อมูลสุ่มทั้งหมดก็จะพบว่า สมการพยากรณ์ที่ได้นี้สามารถทำนายได้ถูกต้องถึง 96% จากผลการทดสอบความแม่นยำในการทำนายผลการเรียนรายวิชาของนักเรียนนายเรือด้วยสมการพยากรณ์ที่ได้จากแบบจำลองวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณจะพบว่า เมื่อมีฐานข้อมูลสุ่มมีจำนวนข้อมูลเพิ่มมากเรื่อยๆ ก็จะทำให้แนวโน้มของความแม่นยำในการทำนายเพิ่มสูงมากขึ้นตามไปด้วย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น
References
ศราวุธ แดงมาก. โลกแห่งดิจิทัล ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ความมหาศาลของข้อมูลทางการแพทย์สู่ การค้นพบความรู้ที่มีค่าด้วยการทำเหมืองข้อมูล. เวชบันทึกศิริราช. ม.ค.-เม.ย. 2560;10(1):29-33.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. ประมวลคำศัพท์ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คุรุสภา; 2515.
ไพศาล หวังพาณิชย์. หลักและวิธีการประเมินโครงการ. วารสารวัดผลการศึกษา. ม.ค.-เม.ย. 2533:23–38.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. การวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
ธวัลพร มะรินทร์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนนายเรือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2559.
กฤษฎา บุญวัฒน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2541.
ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ. หลักสูตรการศึกษาโรงเรียนนายเรือ พ.ศ. 2563 (ฉบับปรับปรุง 2558) [อินเทอร์เน็ต]. สมุทรปราการ: โรงเรียนนายเรือ; 2563. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563]. จาก: www.rtna.ac.th
ฐณัฐ วงศ์สายเชื้อ. การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression analysis) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2558. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2563]. จาก: http://pirun.ku.ac.th/~fedutnw/pubs/da7010_multiple%20regression19.pdf
สุทิน ชนะบุญ. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2563. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2563]. จาก: http://www.kkpho.go.th/i/index.php/component/attachments/download/1933#
6 โปรแกรม สำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการทำการวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: Advanced Research Group; 2561. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563]. จาก https://www.arresearch.com/a/44271
กัลยา วาณิชย์บัญชา. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา. ก.ค.-ก.ย. 2558;12 (58):13-24.
อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. Thai J Anesthesiol. 2561;44(1):36-42.