วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ <br>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น</p> siriratb@hotmail.com (นาวาเอกไกรสิทธิ์ มหิวรรณ (Capt.Kraisit Mahiwan,RTN)) siriratb@hotmail.com (นาวาเอกหญิง ศิริรัตน์ บุญโสภา) Tue, 27 Aug 2024 14:52:14 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 An Integrated System of Electricity and Potable Water Production for Naval Cadets by Solar Concentration on POLYSUN https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/254484 <p>The POLYSUN software was developed to design and simulate sustainable energy systems: Photovoltaic system (PV), Photovoltaic Thermal system (PVT), Concentrated Photovoltaic Thermal system (CPVT). In this study, the CPVT system is proposed to be operated with Direct Contact Membrane Distillation (DCMD) to produce both electricity and clean water from seawater to match the requirements of a naval-cadet regiment in Royal Thai Naval Academy (RTNA), Thailand. The system will utilise heat waste from the CPVT system to desalinate seawater via the DCMD. The aims of this project are to design and simulate this hybrid system on POLYSUN to match the requirements of 100 units: 400 cadets in the regiment with the available area of 100 m x 100 m by supporting of literature reviews. The concentration tracking system of 100 collectors with nominal power at 1,878 W/collector is designed to cover the annual consumption electricity at 13,308 kWh and daily water consumption at 2,000 litres or 5 litres/person/day. The specific requirements of the DCMD are to feed seawater at 70°C and permeate water at 25°C into the DCMD with flow rate of feeding heat and permeate at 1,689 litres/hour. Furthermore, the financial assessment needs to be considered including the Levellised Cost of Electricity (LCOE) and the Return on Investment (ROI) as well as the Feed-in-Tariff (FiT) for 25-year lifetime. All in all, although the hybrid system can support both electricity and potable water for naval cadets, this system cannot make a profit within 25 years to have the ROI. The feasible reason is the daily electric consumption of naval cadets is different from other departments. Namely, the routine of daily electric consumption usually requires after sunset. In summary, this system has high-cost investment when calculated from the naval-cadet daily electric consumption and a recent policy: an electric fee of bureaucratic departments and a FiT at 3.10 Bath/kWh and 2.20 Bath/kWh, respectively.</p> จักริน มาลัยโรจน์ศิริ, ภาณุกร วัฒนจัง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/254484 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ของรูปร่างพื้นที่หน้าตัดกับความสามารถดูดซับพลังงานของท่อหุ้มด้วยไฟเบอร์กลาสภายใต้สภาวะโมเมนต์บิด https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256652 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนเหลี่ยมที่เพิ่มขึ้นของพื้นที่หน้าตัดของท่อหุ้มด้วยไฟเบอร์กลาสที่มีผลต่อความสามารถดูดซับพลังงานภายใต้สภาวะโมเมนต์บิด ประกอบด้วย ท่อสี่เหลี่ยม ท่อหกเหลี่ยม <br />ท่อแปดเหลี่ยม ท่อสิบเหลี่ยม ท่อยี่สิบเหลี่ยม ท่อสี่สิบเหลี่ยม ท่อหกสิบเหลี่ยม ท่อแปดสิบเหลี่ยม และท่อวงกลม ผลการเปรียบเทียบโมเมนต์บิดระหว่างการทดลองและไฟไนต์เอลิเมนต์ พบว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนผลของโมเมนต์บิดสูงสุดพบว่า ท่อสี่เหลี่ยมจะมีค่าโมเมนต์บิดสูงสุดต่ำสุดและจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามจำนวนเหลี่ยมที่เพิ่มขึ้นจนถึงท่อวงกลมจะให้ค่าโมเมนต์บิดสูงสุดมากที่สุด ผลของโมเมนต์บิดเฉลี่ย พบว่า ท่อสี่เหลี่ยมจะมีค่าโมเมนต์บิดเฉลี่ยต่ำสุดและท่อหกเหลี่ยมมีค่าโมเมนต์บิดเฉลี่ยสูงสุด ส่วนท่อรูปร่างพื้นที่หน้าตัดอื่น ๆ <br />มีการเปลี่ยนแปลงโมเมนต์บิดเฉลี่ยไม่มากนัก ส่วนผลของประสิทธิภาพ พบว่า ท่อหกเหลี่ยมหุ้มไฟเบอร์กลาส</p> <p>ความหนา 1 และ 2 mm เมื่อเทียบกับท่อเปล่าไม่หุ้มไฟเบอร์กลาส จะให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 73.77% และ 73.29% ตามลำดับ และยังพบอีกว่าท่อหกเหลี่ยมหุ้มไฟเบอร์กลาสความหนา 1 และ 2 mm มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นในการออกแบบควรเลือกใช้ท่อหกเหลี่ยมหุ้มไฟเบอร์กลาสเพราะมีความสามารถในการดูดซับพลังงานดีที่สุด</p> <p> </p> สมญา ภูนะยา, รัชดา โสภาคะยัง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256652 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดถุงสเตอร์ไรด์อัตโนมัติ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256522 <p>ในอดีตที่ผ่านมา หากบุคลากรทางการแพทย์ต้องการใช้อุปกรณ์ในการตัดถุงสเตอร์ไรด์หรือซองเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อซึ่งเป็นซองที่ใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหัตถการทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องให้ปราศจากเชื้อโรค มักจะใช้กรรไกรหรือแท่นตัดกระดาษด้วยแรงงานคน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งาน มีความล่าช้าในการตัดและขาดความแม่นยำในการตัด ทำให้สูญเสียทรัพยากรและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น คณะผู้วิจัยจึงได้นำความรู้เรื่องกลไกเจนีวาและระบบควบคุมอัตโนมัติมาออกแบบและสร้างเครื่องตัดถุงสเตอร์ไรด์อัตโนมัติขึ้นมา เพื่อลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และสามารถทำการตัดถุงสเตอร์ไรด์ได้ตามขนาดที่ต้องการ โดยตัดถุงสเตอร์ไรด์ขนาดความกว้าง 3 ขนาด คือ 5.5 เซนติเมตร, 7.5 เซนติเมตร และ 10 เซนติเมตร ผลการทดสอบพบว่าถุงสเตอร์ไรด์ที่ตัดได้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดที่ 0.44% เมื่อตัดถุงสเตอร์ไรด์กว้าง10 เซนติเมตร ที่ความยาว 9 เซนติเมตร</p> ปราโมทย์ สุขศิริศักดิ์, วิริยะ บริสุทธิ์, ประยูร กันอยู่ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256522 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 Using Machine Learning (Multiple Regression Model) to Conduct Satellite Derived Bathymetry with Sentinel-2 in Sattahip Bay, Thailand. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256554 <p>The aim of this study is to utilize machine learning (Multiple Regression Model) to perform Satellite Derived Bathymetry (SDB) with six image bands, namely blue, green, red, near-infrared, NDWI, and NDVI, from Sentinel-2 in Sattahip Bay, Thailand. The results demonstrated that the multiple regression model achieved higher accuracy (48.27%) compared to the ratio algorithm approach with the same areas and datasets. However, the depth values from the multiple regression model cannot meet the standard set by the International Hydrographic Organization (IHO). Nonetheless, they can serve as an initial identifying underwater objects, enhancing the safety of hydrographic surveyors, and reducing survey time.</p> สัณหณัฐ อิสมาแอล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256554 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 การสำรวจและวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ที่จำหน่ายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256692 <p>เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน สังเกตได้จากร้านกาแฟที่กระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงในการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ได้แก่ การบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อไม่ให้เกิดโทษต่อร่างกาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนที่จำหน่ายในร้านกาแฟ 4 ร้าน ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนนายร้อยและอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 316 นาย และวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมตรี</p> <p> ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 96 บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 1 แก้วต่อวัน โดยเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม ได้แก่ คัปปุชชีโน (ร้อยละ 28) เอสเปรสโซ (ร้อยละ 20) อเมริกาโน (ร้อยละ 17) ลัตเต (ร้อยละ 11) มอคา (ร้อยละ 8) โกโก้ (ร้อยละ 8) ชาเขียว (ร้อยละ 5) และชาไทย (ร้อยละ 3) ตามลำดับ <br />เมื่อวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนพบว่า เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจากร้านกาแฟทั้ง 4 ร้าน <br />ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ในช่วง 14.49-183.35 มิลลิกรัมต่อแก้ว โดยปริมาณคาเฟอีนต่อแก้วของเครื่องดื่มประเภทกาแฟทั้ง 5 ชนิด คือ คัปปุชชีโน เอสเปรสโซ อเมริกาโน ลัตเต และมอคา มีค่ามากที่สุด (121.49-183.54 มิลลิกรัม) รองลงมาคือ ชาไทย (122.47-135.05 มิลลิกรัม) ชาเขียว (101.31-110.09 มิลลิกรัม) และโกโก้ (14.49-17.61 มิลลิกรัม) ตามลำดับ ดังนั้นปริมาณที่แนะนำในการบริโภคเครื่องดื่มประเภทกาแฟและชาไทยจากร้านกาแฟทั้ง 4 ร้าน คือ ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน และเครื่องดื่มประเภทชาเขียว คือ ไม่เกิน 3 แก้วต่อวัน</p> <p><br /><br /></p> ปวีณา วัดบัว Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256692 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบวงกลมโดยใช้อาดุยโน่ https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256539 <p>งานวิจัยนี้เป็นการนำอาดุยโน่มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุดทดลองการเคลื่อนที่แบบวงกลม ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ตามแนวเส้นรอบวงของวงกลมรัศมีคงที่ค่าหนึ่ง โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างแรงสู่ศูนย์กลางกับความเร็วเชิงมุมของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยความเร็วคงที่ การวัดค่าความเร็วเชิงมุมได้ใช้เซนเซอร์<br />วัดความเร็วรอบร่วมกับการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์บนบอร์ดอาดุยโน่และแสดงผลบนจอ Liquid Crystal Display (LCD) แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่ารัศมีวงกลม ผลการวิจัยพบว่าชุดทดลองที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถวัดค่ารัศมีวงกลมได้ใกล้เคียงกับค่าจริง โดยมีความคลาดเคลื่อน 2.87% แสดงให้เห็นว่าชุดทดลองที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้ทดลองในการวัดค่ารัศมีวงกลมในการศึกษาเรื่องการเคลื่อนที่แบบวงกลมได้อย่างแม่นยำ</p> นุชนาฎ สุชาติพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256539 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 ต้นแบบระบบตรวจจับและติดตามใบหน้าด้วยการประมวลผลภาพดิจิทัลประกอบแขนกล https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256983 <p>ระบบตรวจจับและติดตามใบหน้าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้การประมวลผลภาพดิจิทัลเพื่อวิเคราะห์และระบุใบหน้าบุคคล เทคโนโลยีนี้นำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในหลายสาขา เช่น ระบบรักษาความปลอดภัย <br />การติดตามบุคคล และการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ในทางทหารเทคโนโลยีติดตามใบหน้าอาจถูกพัฒนาเป็นระบบควบคุมการยิงอัตโนมัติ โดยเปลี่ยนเป้าหมายจากวัตถุทั่วไปเป็นใบหน้าบุคคล เมื่อทำงานร่วมกับระบบควบคุมแท่นปืน กลายเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพ การทำงานของระบบเริ่มจากการตรวจจับใบหน้า ระบบใช้กล้องดิจิทัลจับภาพ จากนั้นใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ภาพเพื่อค้นหาและระบุใบหน้าบุคคลในเฟรม ทำการติดตามใบหน้า เมื่อระบบพบใบหน้าแล้วส่งค่าจุดเซนทรอยด์สู่แขนกลอาดูโน่ เพื่อทำการติดตามการเคลื่อนไหวของใบหน้าในเฟรมต่อ ๆ ไป ในการควบคุมแขนกล แขนกลปรับมุมและตำแหน่งตามข้อมูลที่ได้รับจากระบบ โดยชี้เป้าหมายไปที่ใบหน้าบุคคล อัลกอริทึม 4 ตัวในการทดลองในการตรวจจับภาพใบหน้าประกอบด้วย Viola-Jones Algorithm, Dlib Library, Convolutional Neural Networks (CNN) และ Multi-task Cascaded Convolutional Networks (MTCNN) ผลการวัดประสิทธิภาพด้วย Confusion Matrix มีค่าเฉลี่ยในการตรวจจับภาพใบหน้าจากทั้ง 4 อัลกอริทึมพบว่า อัลกอริทึม (CNN) มีประสิทธิภาพดีที่สุด มีค่า Precision ที่ 0.95, Recall ที่ 0.92 และ F1 score ที่ 0.93 ดังนั้น (CNN) เป็นอัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับใบหน้าสูงที่สุด ประสิทธิภาพการทำงานของแขนกลร่วมกับอัลกอริทึมที่ใช้ในการตรวจจับใบหน้าพบว่าอัลกอริทึม (CNN) มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการระบุและติดตามใบหน้าบุคคลได้อย่างแม่นยำ แม้ในสภาพแสงน้อยหรือสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน เมื่อทำงานร่วมกับแขนกลทำการทดสอบหมุนแขนกลในมุม 45 องศา และ 135 องศา สามารถทำงานในการติดตามใบหน้าได้ถึงร้อยละ 82.5 </p> พิศณุ คูมีชัย, จักริน มาลัยโรจน์ศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256983 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 เทคนิคการหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ด้วยวิธี General Direction of the Coast และ Coastal Front https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/254843 <p>สภาวะแวดล้อมทางกายภาพที่ไทยและกัมพูชามีร่วมกันในการแบ่งเขตแดนทางทะเล มิได้ทำให้ไหล่ทวีปหรือเส้นมัธยะที่แต่ละฝ่ายทำการประกาศฝ่ายเดียวเป็นเส้นเดียวกัน พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาเกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างการประกาศเขตไหล่ทวีปที่มีพื้นฐานของเส้นมัธยะทั้งแบบเคร่งครัดและแบบปรับแต่ง โดยเหตุผลและปัจจัยที่แต่ละฝ่ายนำมาประกอบการพิจารณานั้น มีทั้งความเป็นนามธรรมและรูปธรรม จุดประสงค์ของบทความทางวิชาการนี้เพื่อหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาด้วยวิธี General Direction of the Coast และ Coastal Front ภายใต้หลักการของ Land Dominates the Sea โดยต้องการให้พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชานั้น มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปสู่ขั้นตอนการแบ่งเขตทางทะเลด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของการศึกษาจะจำกัดอยู่เหนือแลตติจูด 11 องศาเหนือ อีกทั้งเป็นการพิจารณาและข้อคิดเห็นของผู้แต่งเท่านั้น</p> สมาน ได้รายรัมย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/254843 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้คลื่นสัญญาณเทระเฮิรตซ์ในการควบคุมทางทะเล https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/255760 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและเฝ้าระวังทางทะเล โดยมุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลื่นสัญญาณเทระเฮิรตซ์ (Terahertz)ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในวงการทหารและความมั่นคงในส่วนแรกของบทความผู้เขียนได้อธิบายถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังทางทะเลในบริบทของโลกปัจจุบันที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะทางของแต่ละประเทศ การสร้างความร่วมมือระหว่างชาติ ไปจนถึงบทบาทของกองทัพเรือในการลาดตระเวนเพื่อปกป้องและสนับสนุนกิจกรรมทางทะเลทั้งในยามสงครามและสันติภาพ ต่อมาผู้เขียนได้นำเสนอศักยภาพและประโยชน์ของการนำคลื่นสัญญาณเทระเฮิรตซ์มาใช้ในงานด้านการทหารโดยชี้ให้เห็นว่าคุณสมบัติพิเศษของคลื่นชนิดนี้ เช่น ความถี่สูง ความยาวคลื่นสั้น และความสามารถในการทะลุทะลวงวัตถุได้ดีจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการสำรวจตรวจการณ์ให้กับกองกำลังทางเรือ<br />ได้เป็นอย่างมากซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อการกระทำผิดกฎหมายหรือการรุกล้ำน่านน้ำของชาติอื่น ในส่วนสรุปของบทความผู้เขียนได้ย้ำถึงผลกระทบเชิงบวกที่จะเกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้คลื่นสัญญาณเทระเฮิรตซ์ในการลาดตระเวนและสำรวจตรวจการณ์ทางทะเลทั้งในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพ การลดความเสี่ยง การสร้างความปลอดภัย และการยกระดับการปฏิบัติงานโดยรวมของกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในกองทัพเรือ ซึ่งจะส่งผลดีอย่างมหาศาลต่ออุตสาหกรรมทางทะเลในภาพรวม นอกจากนี้ผู้เขียนยังมองว่าการพัฒนาเทคโนโลยีคลื่นสัญญาณเทระเฮิรตซ์ให้ก้าวหน้าและแพร่หลายมากขึ้น จะเป็นความท้าทายและโอกาสสำคัญที่ทุกฝ่ายควรจับตามองในอนาคตเพื่อการยกระดับการป้องกันและรักษาความมั่นคงทางทะเลที่เข้มแข็งและทันสมัยอย่างแท้จริง โดยสรุปบทความนี้ได้นำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลื่นสัญญาณเทระเฮิรตซ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและเฝ้าระวังทางทะเลผ่านการวิเคราะห์บริบทความท้าทายในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์และความเป็นไปได้ในการนำมาใช้งานตลอดจนผลกระทบเชิงบวกที่จะเกิดขึ้นต่อการปฏิบัติการและอุตสาหกรรมทางทะเลในภาพรวม ทั้งหมดนี้จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจและสมควรแก่การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปในอนาคตเพื่อพัฒนาศักยภาพการป้องกันและรักษาผลประโยชน์ทางทะเลให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน</p> Ornnicha Kongwut, พัฒน์ศรัญย์ เลาหไพบูลย์, วุฒิรงค์ คงวุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/255760 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 พลังงานคลื่น: ศักยภาพและโอกาสในการผลิตไฟฟ้าเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของไทย https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256565 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่น<br />ในปัจจุบันตลอดจนศักยภาพและโอกาสในการประยุกต์ใช้ในบริบทของประเทศไทย โดยในส่วนแรกได้นำเสนอหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์ของคลื่นทะเล ประเภทของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคลื่น และกลไกการทำงาน รวมถึงเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยกับการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ ต่อมาได้รวบรวมสถานภาพล่าสุดของโครงการโรงไฟฟ้าคลื่นในต่างประเทศ ทั้งในแง่ของขนาดกำลังการผลิต ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และแผนการพัฒนาในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ณ สิ้นปี ค.ศ.2020 มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมราว 60 เมกะวัตต์ (Megawatt : MW) คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.00006 ของการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก แต่มีแนวโน้มเติบโตสูง โดยคาดว่าในปี ค.ศ.2030 และ 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 จิกะวัตต์ (Gigawatt : GW) และ 100 GW ตามลำดับ ประเทศไทยซึ่ง<br /><br /></p> <p> </p> <p> </p> <p>มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 2,811 กิโลเมตร (kilometer : km) จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพและความเหมาะสมสำหรับการติดตั้งโรงไฟฟ้าคลื่นอยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณอันดามันตอนล่างและชายฝั่งภาคตะวันออก การผลักดันโครงการนำร่องเหล่านี้จะช่วยสร้างประโยชน์ต่อประเทศในวงกว้าง อาทิ การเสริมความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น รวมถึงการส่งเสริมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ การจะบรรลุศักยภาพดังกล่าวได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐควบคู่ไปกับ<br />การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งอย่างสมดุลและยั่งยืน หากดำเนินการได้อย่างจริงจังในทศวรรษนี้ คาดว่าภายในปี ค.ศ.2040 ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้าคลื่นที่ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 500 MW</p> ปวริศ ทองดอนเหมือน, วุฒิรงค์ คงวุฒิ, พัฒน์ศรัญย์ เลาหไพบูลย์, อรณิชา คงวุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/256565 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบ GNSS ของประเทศไทยสำหรับภารกิจทางทหาร https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/257276 <p>ระบบ GNSS มีบทบาทสำคัญในภารกิจทางทหารของประเทศไทย ทั้งในด้านการนำทาง การติดตามตำแหน่ง และการวางแผนยุทธวิธี อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาระบบ GNSS จากต่างประเทศอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบ GNSS ของตนเอง บทความนี้นำเสนอหลักการทำงานและองค์ประกอบของระบบ GNSS พร้อมแนวทางการออกแบบระบบ GNSS ของประเทศไทยโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ ได้แก่ การใช้เสาเรดาร์เป็นสถานีภาคพื้นดิน การเชื่อมต่อตัวรับสัญญาณ GPS ที่มีอยู่เข้ากับระบบ การพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็ก และการทำงานร่วมกับระบบ GPS ของประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประโยชน์และการประยุกต์ใช้ระบบ GPS ในภารกิจทางทหาร ความท้าทายในการพัฒนาระบบ และแนวทางในอนาคตสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงระบบ การขยายขอบเขตการใช้งานไปสู่ภาคพลเรือน และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทางทหารและสถาบันวิจัยในประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบ GNSS ที่มีประสิทธิภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ และสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน</p> ปาณิศา ธีระรัตน์, อรณิชา คงวุฒิ, พัฒน์ศรัญย์ เลาหไพบูลย์, วุฒิรงค์ คงวุฒิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/257276 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700