https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/issue/feed วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2023-07-21T00:00:00+07:00 นาวาเอกไกรสิทธิ์ มหิวรรณ (Capt.Kraisit Mahiwan,RTN) [email protected] Open Journal Systems วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/250454 Using Single Beam Echo Sounder to Recheck Shipwreck Location 2022-11-22T10:20:46+07:00 บุญญฤทธิ์ สุขเมือง [email protected] <p> The research aimed to ensure the searching capability of Single-Beam Echo Sounder (SBES) as same as Multi Beam Echo Sounders (MBES). The testing was about rechecking shipwreck on the Clyde River floor. If the solution from SBES technology is suitable for positioning shipwreck, it will save time and budget. The experiment was with five main objectives. GIS Software was the tool for processing and analyzing data. After the experiment was completed, the result showed that the map from the MBES dataset (2014) could find the location and measure the dimension of the shipwreck while the map of SBES (2019) neither found the location nor measured the dimension. SBES (2019) and MBES (2014) could be separately displayed on the river floor in different colours representing different depths. Moreover, the collected data by SBES (2019) on the fieldwork met Order 1b of the specific requirements (S-44) of IHO. Furthermore, the feature and contour lines from the SBES (2019) and MBES (2014) dataset presented quite the same feature of the river floor, but the map of SBES dataset (2019) from fieldwork showed a few differences in contour lines because the dataset did not cover the entire study area. Finally, the SBES dataset (2019) could not be used for identifying or rechecking the location and dimension of the shipwreck, but it could be used for generating the map of the river floor or seafloor. Although this research achieved most of the tasks, SBES still has some limitations and cannot achieve the main objective. The conclusion was that the capability of SBES was not suitable for searching and locating shipwreck.</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/251338 การหาค่าตัวเกณฑ์สำหรับการปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนาย 2023-02-16T12:20:47+07:00 ศุภสิทธิ์ คงดี [email protected] <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายและเพื่อศึกษาแนวทางในการนำตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายมาใช้สำหรับหนังสือมาตราน้ำ โดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลระดับน้ำจริงและข้อมูลระดับน้ำทำนายในช่วงเวลา 1 รอบของวัฏจักรน้ำขึ้น – น้ำลง ตั้งแต่ พ.ศ.2540 – 2559 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) เพื่ออธิบายลักษณะของผลต่างระหว่างน้ำจริงกับน้ำทำนาย (Residual Levels) แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนาย ผลการวิจัยพบว่า ผลต่างระหว่างระดับน้ำจริงกับระดับน้ำทำนาย (Residual Levels) ของ<strong>สถานีวัดระดับน้ำอ่าวสัตหีบ</strong> ช่วงเวลาน้ำเกิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 13 เซนติเมตร ช่วงเวลาน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 19 เซนติเมตร ช่วงเวลาระหว่างน้ำเกิดกับน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 14 เซนติเมตร <strong>สถานีวัดระดับน้ำสงขลา </strong>ช่วงเวลาน้ำเกิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 12 เซนติเมตร ช่วงเวลาน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 16 เซนติเมตร ช่วงเวลาระหว่างน้ำเกิดกับน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 17 เซนติเมตร <strong>สถานีวัดระดับน้ำอ่าวทับละมุ</strong> ช่วงเวลาน้ำเกิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 18 เซนติเมตร ช่วงเวลาน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 16 เซนติเมตร ช่วงเวลาระหว่างน้ำเกิดกับน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 16 เซนติเมตร ซึ่งได้สังเคราะห์เป็นตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายตามช่วงเวลาได้ดังนี้ ช่วงเวลาน้ำเกิด 1–18 เซนติเมตร ช่วงเวลาน้ำตาย 3 –16 เซนติเมตร และช่วงเวลาระหว่างน้ำเกิดกับน้ำตาย 0–16 เซนติเมตร และจากการนำตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายที่ได้มาใช้เพื่อเปรียบเทียบกับระดับน้ำจริงที่สถานีวัดระดับน้ำอ่าวทับละมุ ของปี พ.ศ.2557 ได้ค่าเฉลี่ยของผลต่างอยู่ในช่วง 2-16 เซนติเมตร ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 0 – 1 เซนติเมตร แสดงให้เห็นว่าการนำตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายมาใช้สามารถทำให้ค่าระดับน้ำทำนายมีความใกล้เคียงกับความระดับน้ำจริงมากขึ้น</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/251470 การจัดสรรทรัพยากรในการวางกำลังสำหรับภารกิจค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยครอบคลุมพื้นที่ทางบกของประเทศไทย 2023-03-07T09:17:34+07:00 เทียนสิริ เหลืองวิไล [email protected] <p> จุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ คือการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการครอบคลุมพื้นที่และการบริหารจัดการอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ในการตอบสนองต่อภารกิจค้นหาและช่วยชีวิต โดยการวิเคราะห์ขีดความสามารถนี้ ได้ดำเนินการเขียนโปรแกรมทำแบบจำลองการทำงานแต่ละช่วงเวลาของอากาศยาน ใน MATLAB โดยใช้อัลกอลิทึมของกฎเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจภารกิจแต่ละช่วงเวลา แบบจำลองนั้นจะเริ่มดำเนินการจากการพิจารณาค่าตัวแปรต่าง ๆ สำหรับสถานการณ์ตามคู่มือการค้นหาและช่วยชีวิตขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศและกฏระเบียบของกองทัพอากาศไทย โดยอากาศยาน<span style="font-size: 0.875rem;">ที่สูญหาย จะสมมุติให้เป็นอากาศยานขนาดเล็กและมีความน่าจะเป็นที่วัตถุที่ต้องการค้นหาอยู่ในบริเวณนั้น (Probability of Containment (POC)) เป็นแผนที่ความน่าจะเป็นแบบจุด (Point Datum) สำหรับทุกการจำลอง ส่วนอากาศยานที่พิจารณาใช้ในการทำภารกิจมี 4 ประเภท คือ C130H, SAAB 340, EC725 และ BELL 412EP ตามที่กองทัพอากาศมีในปัจจุบัน ขีดความสามารถของอากาศยานแต่ละแบบนั้น จะพิจารณาจากระยะในการปฏิบัติภารกิจและความสามารถในการค้นหาและช่วยชีวิตเมื่อเทียบกับเวลา ส่วนความสามารถในการครอบคลุมพื้นที่จะพิจารณาจากความสามารถในการกวาดพื้นที่และครอบคลุมแผนที่ความน่าจะเป็นที่วัตถุที่ต้องการค้นหาอยู่ในบริเวณนั้น (POC) จากนั้นขีดความสามารถเหล่านี้ จะถูกดำเนินการต่อในกระบวนการวิเคราะห์การบริหาร จัดสรรอากาศยานไปตามกองบินต่าง ๆ เพื่อตอบสนองในการครอบคลุมพื้นที่ทางบกมากสุดและตอบวัตถุประสงค์ของกองทัพอากาศ </span>งานวิจัยชิ้นนี้ถือว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกองทัพอากาศในการตอบสนองเร็วต่อภารกิจค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย อีกทั้งยังสร้างความกระจ่างในการบริหาร จัดสรรทรัพยากร และหมุนเวียนอากาศยานไปยังกองบินต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/252304 ระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ 2023-04-19T08:48:04+07:00 ปราโมทย์ สุขศิริศักดิ์ [email protected] <p> ในปัจจุบันการเพาะปลูกทางการเกษตรนั้นมีหลายหลายรูปแบบ แต่ปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกทางการเษตรนั้นก็คือการรดน้ำให้กับพืชผักต่าง ๆ เดิมวิธีการรดน้ำแบบใช้แรงงานคนและระบบรดน้ำแบบสปริงเกอร์โดยไม่มีการควบคุมทำให้การรดน้ำไม่มีความสม่ำเสมอ อาจทำให้น้ำท่วมพื้นที่และพืชผักรับปริมาณน้ำมากเกินความจำเป็น คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบระบบรดน้ำแปลงผักอัตโนมัติผ่านเซนเซอร์วัดความชื้นในดิน และส่งสัญญาณข้อมูลกลับไปยังตัวรับสัญญาณโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ (บอร์ดอาดูโน) ในการควบคุมการทำงาน โดยการติดตั้งเซนเซอร์ในบริเวณแปลงเพาะปลูกจำลอง 2 แปลง สำหรับตรวจวัดค่าความชื้นในดิน จากนั้นส่งค่าการตรวจวัดผ่านโมดูลสื่อสารแบบมีสายไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อทำการประมวลผลว่าควรจ่ายน้ำหรือไม่ โดยผ่านเงื่อนไขของความชื้น 70% ในการควบคุมให้ระบบจ่ายน้ำเพื่อรดน้ำ หากความชื้นต่ำกว่า 70% ระบบจะจ่ายน้ำเพื่อรดน้ำแปลงผักอัตโนมัติ และเมื่อความชื้นมากกว่า 70% ระบบจะหยุดจ่ายน้ำ โดยค่าความชื้นที่วัดได้จะถูกส่งไปเก็บที่โมดูลเอสดีการ์ดเพื่อไปวิเคราะห์ผลการทดสอบ ซึ่งผลการทดสอบโดยรวมสามารถทำงานได้ดี</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/252520 ชนวนหัวกระทบแตกไว/ถ่วงเวลา สำหรับลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด 2023-05-11T10:43:40+07:00 ทวี ดีจะมาลา [email protected] <p> การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เพื่อ 1) สร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาชนวนหัวกระทบแตกไว <br />ถ่วงเวลา สำหรับลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด (ลย./ค.) 2) พัฒนาและสร้างชนวนหัวกระทบแตกไว ถ่วงเวลา สำหรับ ลย./ค. 3) เป็นแนวทางในการสร้างชนวนหัวกระทบแตกไว ถ่วงเวลา สำหรับ ลย./ค. ที่มีคุณลักษณะ และขีดความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐานทางทหารและนำเข้าสู่สายการผลิตต่อไป โดยการวิจัยนี้จะใช้วิธีวิศวกรรม<br />ย้อนรอยตรวจสอบข้อมูลทางเทคนิคและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนอุปกรณ์กลไกการทำงานหลักอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกทำหน้าที่ด้านความปลอดภัย และส่วนที่สองทำหน้าที่จุดระเบิดให้ทำงานเมื่อชนวนกระทบเป้าหมาย และนำปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ จากการศึกษาความเป็นไปได้ในอดีตมาปรับปรุงแก้ไข โดยได้เน้นเรื่องการพัฒนาชิ้นส่วนกลไกทางกล ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้แบบรูปที่ถูกต้องแม่นยำเนื่องจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ของกลไกทางกลมีขนาดค่อนข้างเล็กจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมมีความเที่ยงตรงสูงในการผลิต เพื่อนำมากำหนดกระบวนการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ของชนวนหัวขึ้นเองโดยใช้วัสดุที่จัดหาภายในประเทศเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้พัฒนาขบวนวัตถุระเบิดที่มีอำนาจการระเบิดที่เหมาะสมกับ ลย./ค. ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจากการดำเนินการวิจัยสามารถสร้างองค์ความรู้ให้กำลังพลของ ศอว.ศอพท. ผลิตชนวนหัวกระทบแตกไว ถ่วงเวลา สำหรับ ลย./ค. ได้ และผ่านการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานทางทหารที่กำหนด ชนวนหัวสามารถทำงานได้ดีคิดเป็นร้อยละ 97</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/252318 การสังเคราะห์ลิแกนด์ N, N´-โพรพิลีนบิส-เบนโซไฮดรอกซามาไมด์ และการเกิดพันธะโคออร์ดิเนชันกับไอออนทองแดง (II) 2023-05-11T13:42:37+07:00 ขจัดภัย ทิพยผ่อง [email protected] <p> งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีการสังเคราะห์ลิแกนด์เตตระเดนเทตจากไบเดนเทตลิแกนด์เบนโซไฮดรอกซามาไมด์ด้วยขั้นตอนที่ง่ายเพียงสองขั้นตอน การสังเคราะห์เริ่มจากเปลี่ยนเบนซาลโดซีมเป็นเบนซาลดีไฮด์ไฮดรอกซี่มิโนอิลคลอไรด์ แล้วนำไปทำปฏิกิริยากับ 1,3-โพรพิลีนไดเอมีน ได้ลิแกนด์เตตระเดนเทตที่ประกอบด้วยเบนโซไฮดรอกซามาไมด์สองหน่วยที่เชื่อมต่อกันด้วยโพรพิลีนและได้ร้อยละผลิตภัณฑ์รวมเท่ากับ 65.01 สารประกอบโคออร์ดิเนชันของลิแกนด์นี้กับคอปเปอร์ (II) ไอออนศึกษาด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี และแมสสเปกโทรสโกปี พบว่ามีอัตราส่วนโลหะต่อลิแกนด์เป็น 1:1 วิธีที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมอนุพันธ์ของเบนโซไฮดรอกซามาไมด์ที่อาจนำไปใช้เป็นอาหารเสริมหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ทางการแพทย์ได้</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/252315 การพัฒนาสารเคลือบกันน้ำเพื่อรักษาสภาพกระดาษโดยใช้ อนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตและเอทิลเซลลูโลส 2023-05-16T15:43:33+07:00 ชลิตา เมฆมุกดา [email protected] <p> งานวิจัยนี้พัฒนาสารเคลือบป้องกันน้ำเพื่อรักษาสภาพกระดาษในรูปแบบจดหมายเหตุและหนังสือที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยใช้วัสดุผสมเอทิลเซลลูโลสและอนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตในรูปแบบคอลลอยด์ จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอินฟราเรดและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่า วิธีการที่พัฒนานี้ทำให้อนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตฝังตัวลงในเส้นใยของกระดาษอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ส่งผลต่อลักษณะภายนอกของกระดาษ จากการวัดมุมสัมผัสหยดน้ำบนกระดาษแสดงให้เห็นว่า สารเคลือบกระดาษนี้ทำให้กระดาษมีสมบัติการกันน้ำเพิ่มขึ้นมาก กระดาษกรองมีมุมสัมผัสหยดน้ำเพิ่มขึ้นจาก 0 องศา เป็น 100 องศา และกระดาษจากหนังสือเก่ามีมุมสัมผัสหยดน้ำเพิ่มขึ้นจาก 75 องศา เป็น 80 ถึง 100 องศา โดยสมบัติกันน้ำเกิดขึ้นจากฟิล์มเอทิลเซลลูโลสบนกระดาษมีความไม่ชอบน้ำจากหมู่เอทิลซึ่งมีขั้วต่ำ นอกจากนี้อนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตยังช่วยให้สมบัติการกันน้ำของกระดาษเพิ่มขึ้นจากความขรุขระบนพื้นผิว ปัจจัยสุดท้ายที่ทำให้สมบัติการกันน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกระดับคือการปรับปรุงสมบัติพื้นผิวของอนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยกรดสเตียริกที่มีสายโซ่โมเลกุลไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีขั้ว จึงทำให้พื้นผิวของอนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต เกิดอันตรกิริยากับน้ำลดลง โดยสรุปแล้ววิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเคลือบป้องกันน้ำเพื่อรักษาสภาพกระดาษ</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/252633 The Locating Suitable Anchoring Sites in Sattahip Bay, Thailand by Using GIS and Logistic Regression Model. 2023-05-26T11:56:49+07:00 สัณหณัฐ อิสมาแอล [email protected] <p> Sattahip Bay is one of the important maritime regions in Thailand since 3 main harbors (Laem Thian Naval Base, Chuk Samet Naval Base, and Sattahip Commercial Port) located in this bay. Consequently, tons of ships port-in and port-out in this area including some ships also anchor in the bay as well. However, selecting a wrong anchoring location led to unexpected incidents such as getting ground on the rock, ship collision, etc. In order to mitigate those issues, the aim of this project is to use Geographic Information System (GIS) and Logistic Regression Model to generate suitable an anchoring site model in Sattahip Bay with 5 main factors, which are water depth, seafloor type, current speed, the availability of communication signal, and clearance from dangerous object. The results from the model imply that the middle area of Sattahip Bay is the most suitable for anchoring since all criteria is met that are neither too deep and too shallow water depth, proper holding force from sand and clay, low current speed, average accessibility of communication signal, and no dangerous object. This model is useful to serve as a cross check tool for navigators to mitigate man errors in anchoring. </p> <p> </p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/252651 การหาเส้นทางที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมที่มีอันตรายด้วยแผนภาพสามเหลี่ยม Delaunay 2023-06-16T13:24:58+07:00 เทียนสิริ เหลืองวิไล [email protected] <p> งานวิจัยชิ้นนี้ มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอและแสดงตัวอย่างแนวทางการใช้แผนภาพสามเหลี่ยม Delaunay ในการวิเคราะห์เส้นทางที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติภารกิจทางอากาศ เส้นทางที่เหมาะสมในงานวิจัยชิ้นนี้ คือ เส้นทางที่สั้นที่สุดที่สามารถหลีกเลี่ยงการบินเข้าไปยังบริเวณที่เสี่ยงต่อการถูกตรวจจับด้วยระบบเรดาร์ข้าศึกและการชนเข้ากับภูมิประเทศ โดยขอบเขตงานนี้จะอธิบายการประยุกต์ใช้แผนภาพสามเหลี่ยม Delaunay แต่ละขั้นตอนโดยละเอียด อีกทั้งยังอธิบายประสิทธิภาพและข้อจำกัดของแนวคิดนี้ด้วย ตัวอย่างของแนวคิดที่นำเสนอในงานวิจัยชิ้นนี้นั้น จะถูกประยุกต์บนแผนที่สามมิติที่จำลองสร้างขึ้นมา กระบวนการของแนวคิดที่นำเสนอ จะเริ่มต้นจากการสุ่มจุดยอดของสามเหลี่ยม Delaunay บนแผนที่สามมิติ จากนั้นดำเนินการสร้างโครงข่ายสามเหลี่ยม Delaunay ขึ้นมา โดยเส้นขอบของโครงข่ายสามเหลี่ยม Delaunay จะถูกพิจารณาเป็นเส้นทางที่สามารถใช้บินได้ของอากาศยานบนพื้นที่สามมิติ จากนั้นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการถูกตรวจจับจากระบบเรดาร์ข้าศึกหรือการถูกโจมตีจากข้าศึกจะถูกตัดออกจากโครงข่ายสามเหลี่ยม Delaunay หลังจากนั้นโครงข่ายที่เหลืออยู่จะถูกนำมาคำนวณหาเส้นทางที่สั้นที่สุดจากจุดเริ่มต้นไปยังเป้าหมายด้วยอัลกอลิทึมของไดก์สตรา (Dijkstra’s Algorithm) และในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการปรับเส้นทางการบินให้ราบเรียบขึ้นด้วยสมการพหุนาม ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าแนวคิดการประยุกต์ใช้แผนภาพสามเหลี่ยม Delaunay ในการใช้หาเส้นทางการบินที่เหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจของอากาศยานนั้น มีประสิทธิภาพสูง อีกทั้งกระบวนการเหล่านี้ยังสามารถใช้สำหรับการวางแผนเส้นทางการบินได้อย่างดีและสามารถต่อยอดในปัญหาอื่น ๆ สำหรับการวางแผนเส้นทางของทหารเรือ ทหารบก หรือ แม้กระทั่งพลเรือนได้อีกด้วย</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/250352 ข้อจำกัดด้านเทคนิคของจุดเริ่มต้นในการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา 2022-11-21T12:07:38+07:00 สมาน ได้รายรัมย์ [email protected] <p> ผลงานทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปัจจัยด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอุทกศาสตร์เช่น เทคนิคการสำรวจและการสร้างแผนที่ ที่ส่งผลต่อการแบ่งเขตแดนทางทะเล โดยการนำข้อมูลจุดเริ่มต้นในการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาในอ่าวไทยทั้งของไทยและกัมพูชามาวิเคราะห์เปรียบเทียบหาความแตกต่าง และความเป็นมาที่แต่ละฝ่ายใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างกัน โดยจะไม่กล่าวถึงการแบ่งเขตแดนออกไปในทะเล นอกจากนี้ยังจะได้อธิบายถึงข้อจำกัดด้านเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกใช้แผนที่เพื่อการใช้งานด้านการแบ่งเขตแดนทางทะเล เช่น มาตราส่วน ละติจูดกลาง เป็นต้น</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/252902 การคำนวณความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิ (Depth of Closure) สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 2023-06-19T16:25:39+07:00 วันชัย จันทร์ละเอียด [email protected] <p> การแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมชายฝั่งโดยส่วนใหญ่แล้วมีความจำเป็นที่จะต้องทราบค่าความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิ (Depth of Closure: DoC) ซึ่งเป็นค่าความลึกน้ำ ณ จุดที่คลื่นสามารถพัดพาตะกอนไปตามพื้นท้องทะเลโดยมีการเคลื่อนที่ของตะกอนสุทธิน้อยที่สุด ซึ่งเป็นความลึกที่มีอัตราการถ่ายเทตะกอนเท่ากับศูนย์ และถือว่าตะกอนอยู่ในสภาวะสมดุล DoC เป็นตัวแปรสำคัญในงานวิศวกรรมชายฝั่ง เช่น การออกแบบท่าเทียบเรือ เขื่อนกันคลื่น การขุดลอก และการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในบทความนี้จะนำเสนอการคำนวณหาค่าความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิ (DoC) สำหรับแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยใช้สถิติข้อมูลคลื่นจากแบบจำลองการพยากรณ์คลื่นในทะเล (WAM Model) และข้อมูลขนาดตะกอนเฉลี่ยของพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยประกอบกับการใช้สมการแบบจำลองการคำนวณคลื่นเบื้องต้น (Simple Wave-Based Model) ผลการศึกษาพบว่าชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน (หัวหิน สัตหีบ ระยอง) มีค่า DoC อยู่ระหว่าง 1.95 – 3.83 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา นราธิวาส) มีค่า DoC อยู่ระหว่าง 3.87 – 6.70 เมตร จากผลการคำนวณแสดงให้เห็นว่าค่าความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิไม่ใช่ค่าคงที่ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของคลื่น ลักษณะของตะกอน และสัณฐานวิทยาของชายฝั่ง รวมทั้งรูปแบบสมการของแบบจำลองการคำนวณหาค่า DoC ที่ใช้ในการคำนวณ ดังนั้น เพื่อให้การคำนวณหาค่าความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิมีความถูกต้องใกล้เคียงกับลักษณะตามธรรมชาติของระบบชายฝั่งทะเล จึงควรมีการประเมินการหาค่า DoC ตามช่วงเวลาเป็นระยะๆ โดยใช้ข้อมูลภาคสนามและแบบจำลองที่มีการปรับปรุงอยู่เสมอประกอบในการคำนวณ</p> <p> </p> <p> </p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rtna/article/view/252569 การสืบค้นหาสูตรการคำนวณค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่น 2023-06-29T10:08:59+07:00 สายชล สิทธิพงศ์ [email protected] บัญชา ค้งตระกูล [email protected] <p> ในบทความนี้ ได้นำเสนอการสืบค้นสูตรต่าง ๆ สำหรับการคำนวณหาค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่น และผลลัพธ์ของการคำนวณหาค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่นโดยเลือกใช้สูตรคำนวณสี่สูตรสำหรับสถานที่ซึ่งตำแหน่งตั้งอยู่ที่เส้นรุ้ง 18°39’43’’ N และอยู่ที่ระดับความสูง 300 m AMSL ผลลัพธ์จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสูตรที่เลือกใช้ในการคำนวณทั้งสี่สูตรให้ค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันน้อยมาก ค่าเฉลี่ยของค่าความโน้มถ่วงที่ได้รับคือ 9.784 70 ± 0.000 02 m/s<sup>2</sup> หรือ 9.784 70 m/s<sup>2</sup> ± 0.002% โดยค่าความโน้มถ่วงท้องถิ่นที่ได้จากสูตรคำนวณทั้งสี่สูตรมีความคลาดเคลื่อนจากค่าเฉลี่ยประมาณ 0.0002%</p> 2023-07-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี