พลังงานคลื่น: ศักยภาพและโอกาสในการผลิตไฟฟ้าเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของไทย

Main Article Content

ปวริศ ทองดอนเหมือน
วุฒิรงค์ คงวุฒิ
พัฒน์ศรัญย์ เลาหไพบูลย์
อรณิชา คงวุฒิ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่น
ในปัจจุบันตลอดจนศักยภาพและโอกาสในการประยุกต์ใช้ในบริบทของประเทศไทย โดยในส่วนแรกได้นำเสนอหลักการพื้นฐานทางฟิสิกส์ของคลื่นทะเล ประเภทของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคลื่น และกลไกการทำงาน รวมถึงเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยกับการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ ต่อมาได้รวบรวมสถานภาพล่าสุดของโครงการโรงไฟฟ้าคลื่นในต่างประเทศ ทั้งในแง่ของขนาดกำลังการผลิต ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และแผนการพัฒนาในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ณ สิ้นปี ค.ศ.2020 มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมราว 60 เมกะวัตต์ (Megawatt : MW) คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.00006 ของการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก แต่มีแนวโน้มเติบโตสูง โดยคาดว่าในปี ค.ศ.2030 และ 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 จิกะวัตต์ (Gigawatt : GW) และ 100 GW ตามลำดับ ประเทศไทยซึ่ง


 


 


มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 2,811 กิโลเมตร (kilometer : km) จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพและความเหมาะสมสำหรับการติดตั้งโรงไฟฟ้าคลื่นอยู่หลายแห่ง โดยเฉพาะบริเวณอันดามันตอนล่างและชายฝั่งภาคตะวันออก การผลักดันโครงการนำร่องเหล่านี้จะช่วยสร้างประโยชน์ต่อประเทศในวงกว้าง อาทิ การเสริมความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น รวมถึงการส่งเสริมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ  การจะบรรลุศักยภาพดังกล่าวได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐควบคู่ไปกับ
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งอย่างสมดุลและยั่งยืน หากดำเนินการได้อย่างจริงจังในทศวรรษนี้ คาดว่าภายในปี ค.ศ.2040 ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้าคลื่นที่ผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 500 MW

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Chaiyapa, W., Esteban, M., & Kameyama, Y. (2018). Why go green? Discourse analysis of motivations for Thailand's oil and gas companies to invest in renewable energy. Energy Policy, 120, 448-459.

Energy Policy and Planning Office (EPPO), Ministry of Energy. (2020). Energy Statistics of Thailand 2020.

พีรกานต์ บรรเจิดฤทธิ์. (2563). พลังงานคลื่นและเทคโนโลยีเครื่องกลเติมอากาศ. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC).

Falcão, A. F. O. (2010). Wave energy utilization: A review of the technologies. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 14(3), 899-918.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564). รายงานสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2564.

REN21. (2020). Renewables 2020 Global Status Report. Paris: REN21 Secretariat.

United Nations. (2015). Transforming our world: The 2030 agenda for sustainable development. UN General Assembly, A/RES/70/1.

Esteban, M., & Leary, D. (2012). Current developments and future prospects of offshore wind and ocean energy. Applied Energy, 90(1), 128-136.

European Commission. (2020). An EU Strategy to harness the potential of offshore renewable energy for a climate neutral future. COM/2020/741.

Khan, N., Kalair, A., Abas, N., & Haider, A. (2017). Review of ocean tidal, wave and thermal energy technologies. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 72, 590-604.

HM Government. (2020). The Ten Point Plan for a Green Industrial Revolution.

IRENA. (2021). Renewable Power Generation Costs in 2020. Abu Dhabi.

OES. (2017). An International Vision for Ocean Energy.

IPCC. (2014). Climate Change 2014: Mitigation of Climate Change. Cambridge University Press.

Magagna, D., & Uihlein, A. (2015). Ocean energy development in Europe. International Journal of Marine Energy, 11, 84-104.

IRENA. (2021). Renewable Energy Statistics 2021. Abu Dhabi.

OES. (2021). International LCOE for Ocean Energy Technologies. IEA Technology Collaboration Programme for Ocean Energy Systems (OES).

Liu, T., Yu, J., Yu, Y., Zhang, X., Zhou, B., & Yin, L. (2023) Characterization of wave power resources off the coast of Guangdong, Processes, 11(7) 2221.

Rusu, E., & Onea, F. (2018). A review of the technologies for wave energy extraction. Clean Energy, 2(1), 10-19.

Sgobbi, A., Simoes, S. G., Magagna, D., & Nijs, W.. (2016). Assessing the impacts of technology improvements on the deployment of marine energy in Europe with an energy system perspective. Renewable Energy, 89, 515-525.

Wave Swell Energy. (2020, November 10). Indonesians ride the wave to deliver energy roadmap. Retrieved from https://www.waveswell.com/indonesians-ride-the-wave-to-deliver-energy-roadmap

Zhao, X. L., Ning, D. Z., Zou, Q. P., & Cai, S. Q. (2019). Hybrid floating breakwater-WEC system: A review. Ocean Engineering, 186, 106126.

กระทรวงพลังงาน. (2562). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานแห่งชาติฉบับที่ 3 การจัดทาบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย.

Aderinto, T., & Li, H. (2019). Ocean wave energy converters: Status and challenges. Energies, 12(10), 1-26.

Astariz, S., & Iglesias, G. (2015). The economics of wave energy: A review. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 45, 397-408.

Ko, Chung, Lee, K., Park, D., Yi, Z., (2019) Current Policy and Technology for Tidal Current Energy in Korea. Energies. 12, 1-15

Satymov, R., Bogdanov, D., Dadashi, M., Lavidas, G., & Breyer, C. (2024) Techno-economic assessment of global and regional wave energy resource potentials and profiles in hourly resolution. Applied Energy. 364, 123119

O’Connell, R., Kamidelivand, M., Furlong, R., Guerrini, M., Cullinane, M., & Murphy, J. (2024) An advanced geospatial assessment of the Levelised cost of energy (LCOE) for wave farms in Irish and western UK waters. Renewable Energy. 221, 119864.

Quirapas, M. A., Lin, H., Abundo, M. L., Brahim, S. P., & Santos, D. D., (2015). Ocean renewable energy in Southeast Asia: A review. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 41, 799-817.

Esteban, M., & Leary, D. (2012). Current developments and future prospects of offshore wind and ocean energy. Applied Energy, 90(1), 128-136.

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2561). การประเมินศักยภาพพลังงานคลื่นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเชษฐ บุญลาโภ. (2560). การศึกษาเบื้องต้นของศักยภาพพลังงานคลื่นนอกชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศไทย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 22, นครราชสีมา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580).

Kerr, S., Watta, L., Calton, J., Conway, F., Hull, A., Johnson, K., Jude, S., Kannen, A., MacDougall, S., McLachlan, C., Potts, T. (2014). Establishing an agenda for social studies research in marine renewable energy. Energy Policy, 67, 694-702.