การคำนวณความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิ (Depth of Closure) สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมชายฝั่งโดยส่วนใหญ่แล้วมีความจำเป็นที่จะต้องทราบค่าความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิ (Depth of Closure: DoC) ซึ่งเป็นค่าความลึกน้ำ ณ จุดที่คลื่นสามารถพัดพาตะกอนไปตามพื้นท้องทะเลโดยมีการเคลื่อนที่ของตะกอนสุทธิน้อยที่สุด ซึ่งเป็นความลึกที่มีอัตราการถ่ายเทตะกอนเท่ากับศูนย์ และถือว่าตะกอนอยู่ในสภาวะสมดุล DoC เป็นตัวแปรสำคัญในงานวิศวกรรมชายฝั่ง เช่น การออกแบบท่าเทียบเรือ เขื่อนกันคลื่น การขุดลอก และการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในบทความนี้จะนำเสนอการคำนวณหาค่าความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิ (DoC) สำหรับแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยใช้สถิติข้อมูลคลื่นจากแบบจำลองการพยากรณ์คลื่นในทะเล (WAM Model) และข้อมูลขนาดตะกอนเฉลี่ยของพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยประกอบกับการใช้สมการแบบจำลองการคำนวณคลื่นเบื้องต้น (Simple Wave-Based Model) ผลการศึกษาพบว่าชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบน (หัวหิน สัตหีบ ระยอง) มีค่า DoC อยู่ระหว่าง 1.95 – 3.83 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา นราธิวาส) มีค่า DoC อยู่ระหว่าง 3.87 – 6.70 เมตร จากผลการคำนวณแสดงให้เห็นว่าค่าความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิไม่ใช่ค่าคงที่ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของคลื่น ลักษณะของตะกอน และสัณฐานวิทยาของชายฝั่ง รวมทั้งรูปแบบสมการของแบบจำลองการคำนวณหาค่า DoC ที่ใช้ในการคำนวณ ดังนั้น เพื่อให้การคำนวณหาค่าความลึกวิกฤติของการถ่ายเทตะกอนสุทธิมีความถูกต้องใกล้เคียงกับลักษณะตามธรรมชาติของระบบชายฝั่งทะเล จึงควรมีการประเมินการหาค่า DoC ตามช่วงเวลาเป็นระยะๆ โดยใช้ข้อมูลภาคสนามและแบบจำลองที่มีการปรับปรุงอยู่เสมอประกอบในการคำนวณ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น
References
Udo K, Ranasinghe R, Takeda Y. An assessment of measured and computed depth of closure around Japan. Sci Rep [Internet]. 2020 Feb 19 [cited 2023 Apr 10];10(1): 2987. Available from: https://www.nature.com/scientificreports. doi: 10.1038/s41598-020-59718-5
Dean RG, Dalrymple RA. Coastal processes with engineering applications. [place unknown]: Cambridge University Press; 2001.
กองทัพเรือ, กรมอุทกศาสตร์. แผนที่เดินเรือ หมายเลข 045 บรรณาธิกร ครั้งที่ 7 ก.ย..2546. กรุงเทพฯ: กรมอุทกศาสตร์; 2526.
Birkemeier WA. Field data on seaward limit of profile change. J Waterw Port Coast Ocean Eng. 1985 May 1;111(3):598-602.
Hallermeier RJ. USES FOR A CALCULATED LIMIT DEPTH TO BEACH EROSION. Int Conf Coastal Eng. [Internet]. 1978 Jan. 29 [cited 2023 Apr 22];1(16):88. Available from: https://icce-ojs-tamu.tdl.org/icce/article/view/3351
Hallermeier RJ. A profile zonation for seasonal sand beaches from wave climate. Coastal Eng. 1981;4:253-77.
Nicholls RJ, Larson M, Capobianco, Birkemeier WA. Application of depth of closure: Improving understanding and prediction. Coastal Eng. 1996:3874-87.
Nicholls RJ, Larson M, Capobianco M, Birkemeier WA. DEPTH OF CLOSURE: IMPROVING UNDERSTANDING AND PREDICTION. Int. Conf. Coastal. Eng. [Internet]. 1998 Jan. 29 [cited 2023 Jun. 22];1(26). Available from: https://icce-ojs-tamu.tdl.org/ice/article /view/5810
กรมอุทกศาสตร์, กองอุตุนิยมวิทยา, ศูนย์ข้อมูลข่าวกรองภูมิสารสนเทศทางอุทกศาสตร์. รายงานการวิเคราะห์คลื่นจากข้อมูลลม (WAM) บริเวณอ่าวไทย. กรุงเทพฯ: กรมอุทกศาสตร์, กองอุตุนิยมวิทยา; 2560.
วันชัย จันทร์ละเอียด. การประเมินการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง ตั้งแต่บ้านตันหยกเปาว์ถึงบ้านบางตาวา จังหวัดปัตตานี โดยแบบจำลอง Genesis. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.
กรมอุทกศาสตร์, กองสมุทรศาสตร์, ศูนย์ข้อมูลข่าวกรองภูมิสารสนเทศทางอุทกศาสตร์. รายงานการสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ระหว่างปี พ.ศ.2557 - 2565 กรุงเทพฯ: กรมอุทกศาสตร์, กองสมุทรศาสตร์; 2565.