การออกแบบและประเมินประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติการถ่วงสมดุลหนึ่งระนาบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินประสิทธิภาพชุดฝึกปฏิบัติการถ่วงสมดุลหนึ่งระนาบ โดยชุดฝึกปฏิบัติการ ฯ นี้ ประกอบด้วย เครื่องฝึกปฏิบัติการถ่วงสมดุลหนึ่งระนาบ และเอกสารประกอบการสอน ได้แก่ ใบเนื้อหา ใบงาน ใบประลอง แบบฝึกหัด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระเบียบวิธีวิจัยได้กำหนดให้ใช้แบบสอบถามชนิดมาตรวัดชนิด 5 ระดับ แบบมาตรวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท (Likert Rating Scales) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคุณภาพของชุดฝึกปฏิบัติการ ฯ จำนวน 6 ท่าน ผลการประเมินด้านคุณภาพในภาพรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.31 และนำชุดฝึกปฏิบัติการ ฯ ไปหาประสิทธิภาพจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 นาย มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อชุดฝึกปฏิบัติการ ฯ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.01 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62 และมีผลการประเมินประสิทธิภาพ พบว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) คิดเป็น ร้อยละ 84.06 และค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) คิดเป็นร้อยละ 86.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์สมมติฐาน (80/80) ที่ได้กำหนดไว้ สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น
References
Lasauskiene J, Rauduvaite A. Project-Based Learning at University: Teaching Experiences of Lecturers. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 2015 Jul;(197):788-92.
Hosseinzadeh N, Hesamzadeh MR, Senini S. A Curriculum for Electrical Power Engineering based on Project Based Learning Philosophy. IEEE International Conference on Industrial Technology. 2009 Mar.
Bell S. Project-Based Learning for the 21st Century: Skills for the Future. The Clearing House. 2010 Jan;83(2):39-43.
De Silva CW. Vibration: Fundamentals and Practice. 2nd ed. Boca Raton: CRC Press; 2010.
De Silva CW. Vibration and Shock Handbook. Boca Raton: Taylor & Francis; 2005.
Singiresu SR. Mechanical Vibrations. 5th ed. Harlow, United Kingdom: Prentice Hall; 2005.
Girdhar P. Practical Machinery Vibration Analysis and Predictive Maintenance: Practical Professional. Burlington: Elsevier; 2004.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ม.ค.-มิ.ย 2556;5(1):7-20.
สุมิตรา ศรีชูชาติ. สถิติธุรกิจ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2550.