การบำบัดน้ำเสียจากการล้างไอโซแทงค์คอนเทนเนอร์ โดยการใช้โอโซนในระบบพลาสมาความดันสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
น้ำเสียจากการล้างไอโซแทงค์นั้น มีการบรรจุสารเคมีหลายประเภท เป็นอีกสาเหตุทำให้เกิดน้ำเสียที่ยากจะบำบัดได้ แต่ด้วยอุตสาหกรรมต่างๆ ปัจจุบัน ยังต้องมีการขนส่งสารเคมีอยู่เป็นประจำ และวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็คือการขนส่งด้วยไอโซแทงค์ จึงได้ใช้หลักการทางฟิสิกส์วิศวกรรมออกแบบเครื่องบำบัดน้ำเสีย โดยปั๊มน้ำเสียมาฉีดให้เป็นฝอยเพื่อเพิ่มพื้นที่ของน้ำเสียให้สัมผัสกับโอโซนในระบบพลาสมาความดันสูง การศึกษานี้ ได้ใช้โอโซน 800 มิลลิกรัมต่อชั่วโมง กับน้ำเสีย 20 ลิตร อัตราการไหล 60 ลิตรต่อชั่วโมง ผลคือทำให้ค่าคุณภาพน้ำที่ใช้ตรวจวัด ได้แก่ ค่าออกซิเจนละลาย (DO) ค่าบีโอดี (BOD) และค่าซีโอดี (COD) ของน้ำเสียดีขึ้น ในเวลาอันรวดเร็ว คือ ค่า DO เพิ่มขึ้นจาก 0 เป็น 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ในเวลา 24 นาที การวิเคราะห์ทางสถิติ ด้วยค่า R2 = 0.903 เข้าใกล้ 1 แสดงว่า DO ที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับเวลาอยู่ในระดับสูงมาก ส่วน BOD ลดลงร้อยละ 32.79 จาก 6,550 เหลือ 4,402.33 มิลลิกรัมต่อลิตร ในเวลา 12 นาที โดยมีค่า R2 = 0.708 มีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่าการลดของ BOD มีความสัมพันธ์กับเวลาสูง และ COD ลดลงร้อยละ 14.23 จาก 14,375.33 ลงมาเหลือ 12,330 มิลลิกรัมต่อลิตร ในเวลา 24 นาที ค่า R2 = 0.871 มีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่าการลดของ COD มีความสัมพันธ์กับเวลาสูง เช่นกัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น
References
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. (2534). ภาวะมลพิษภัยใกล้ตัว.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.
Allbiz. [Retrived 24 October 2018]. ISO Tank Container. [Webblock]. from https://gujarat.all.biz/iso-tank-container-g335953.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2560). กฎหมายที่เกี่ยวข้องและการตรวจโรงงานที่มีการใช้สารเคมี. กรุงเทพฯ : กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
ไพโรจน์ หอมอ่อน. (2558). การพัฒนาและออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแบตเตอรี่ด้วยเทคโนโลยีโอโซนระบบพลาสมาความดันสูง. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม).
Nilsson, F. (2017). Application of ozone in wastewater treatment: Oxidation of pharmaceuticals and filamentous bulking sludge. (Doctural Thesis, Lund University).
Bhatta, R., Kayastha, R., Subedi, D.P. and Joshi, R. (2015). Treatment of Wastewater by Ozone Produced in Dielectric Barrier Discharge. Journal of Chemistry, 2015, Retrieved from: http://dx.doi.org/10.1155/2015/648162
โอโซน. (สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559) จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/โอโซน
การประปานครหลวง. (2556).โอโซน วารสารออนไลน์คลินิกน้ำสะอาด, 3(2), 9-10. สืบค้นจาก http://cwc.mwa.co.th/index.php?page=showarticlebytopic.php&id=16
Fresenius, W. and Quentin, K. E. (1988). Water Analysis. Berlin Heidelberg: Springerverlag.
Kutner, M. H., Christopher, J. and Buser, H. R. (2005). Applied Linear Statistical Models. Boston: (5th Edition, International Edition). McGraw-Hill Irwin.
Zhou, H. and Daniel, W. (2000). Ozone Mass Transfer in Water and Wastewater Treatment: Experimental Observations Using a 2D Laser Particle Dynamics Analyzer. Water Research, 2000(34), 909-9211. from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0043135499001967?via%3Dihub
Guikford, J. P. and Benjamin, F. (1973). Fundamental Statics in Psychology and Education. Tokyo: McGraw-Hill Kagakusha.
George, T. and Franklin, B. (1991). Wastewater Engineering Treatment, Disposal and Reuse. (3rd Edition).New York: McGraw - Hill.