The Equi-Area/Ratio วิธีการใหม่ในการแบ่งเขตแดนทางทะเล
Main Article Content
บทคัดย่อ
สิ่งต่างๆ ที่อยู่เหนือน้ำนอกฝั่งไม่ว่าจะเป็นหิน เกาะแก่งต่างๆ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการขยายเส้นฐานตรงต่อรัฐชายฝั่ง เขตทางทะเลตามที่มีการระบุไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (United Nations Convention on the Law of the Sea : UNCLOS 1982) จะวัดความกว้างของเขตทางทะเลต่างๆ จากเส้นฐานปกติ หรือเส้นฐานตรง นอกจากนี้รัฐชายฝังยังใช้เส้นฐานเป็นพื้นฐานในการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศ รัฐชายฝั่งจะอ้างสิทธิอธิปไตยให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้โดยการใช้ หิน เกาะแก่งต่างๆ ในการขยายเส้นฐานออกไปในทะเล ในลักษณะทางภูมิศาสตร์บางพื้นที่ หิน เกาะแก่งต่างๆ ที่นำมากำหนดเป็นจุดต่อเชื่อมของเส้นฐานตรงนั้นอาจจมีความคลุมเครือในการนำมาร่วมพิจารณา เช่น เกาะบางเกาะของเส้นฐานตรงอาจจะอยู่ไกลจากฝั่งมากเกินไป หรือไม่เป็นไปตามข้อกำหนดใน UNCLOS 1982 ในบางกรณีต้องตีความในการนำหินหรือเกาะที่เรียงรายอยู่ตามแนวชายฝั่งมาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นฐานตรง เช่น บริเวณใกล้เคียง (Immediate Vicinity) ทั้งนี้จุดประสงค์หลักในการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างรัฐตามที่ระบุไว้ใน UNCLOS 1982 คือการแบ่งเขตแดนทางทะเลต้องบรรลุผลแห่งความเที่ยงธรรม (Equitable Solution) เพื่อเป็นการลดความเป็นนามธรรมในการนำ หิน หรือเกาะมาเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งเขตแดนทางทะเลและทำให้ความเที่ยงธรรมเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น จึงได้คิดค้นวิธีการแบ่งเขตทางทะเลขึ้นใหม่มีชื่อว่า The Equi – Area / Ratio โดยสามารถนำหิน เกาะต่างๆ ประกอบการแบ่งเขตแดนทางทะเลได้ตามจุดประสงค์ของการแบ่งเขตทางทะเล วิธี The Equi – Area / Ratio จำแนกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ The Equi - Area กับ The Equi – Ratio โดยได้ทำการทดสอบกับผลการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้แก่ผลการตัดสินระหว่างประเทศยูเครน และโรมาเนีย กับ ผลการตัดสินระหว่างนิคารากัว กับ โคลัมเบีย การทดสอบยืนยันว่าวิธี The Equi – Area / Ratio สามารถใช้งานได้จริง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น
References
International Hydrographic Organization. A Manual on Technical Aspect of the United Nations Convention on the Law of the Sea – 1982. 5th ed. Monaco: International Hydrographic Bureau; 2014.
Division for Ocean Affairs and the Law of the Sea. The Law of the Sea. New York: United Nations; 2001.
Division for Ocean Affairs and the Law of the Sea. Handbook on the Delimitation of Maritime Boundaries. New York: United Nations; 2000.
Dispute concerning delimitation of the maritime boundary between Bangladesh and Myanmar in the Bay of Bengal, ITLOS. (Mar. 14, 2012)
Maritime Delimitation in the Black Sea Romania v. Ukraine, ICJ. (Feb. 3,2009)
Territorial and maritime dispute Nicaragua v. Columbia, ICJ. (Dec. 13, 2007)