การพัฒนาแบบจำลองระบบโลจิสติกส์และการตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงเมืองมรดกโลกภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย สู่เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

อลงกรณ์ เมืองไหว
วชิระ วิจิตรพงษา
ธณิดา โขนงนุช

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โซ่อุปทานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก เชื่อมโยงภาคเหนือตอนล่างและเมืองหลวงพระบางโดยวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาผ่านเครื่องมือตามแนวคิดการประเมินห่วงโซ่อุปทานของ Chopra ทั้ง 6 ด้าน และนำมาสังเคราะห์ร่วมกับการพัฒนาแบบจำลองการเลือกระบบขนส่งเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวแบบโลจิตหลายทางเลือก (Multimodal Logit Model) ทำให้ทราบถึงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชื่อมโยง ระหว่างเมืองมรดกโลกในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว สามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางถนนอยู่ในระดับดี มีท่าอากาศยานทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับนานาชาติช่วยเพิ่มศักยภาพในการเดินทาง แต่ทั้งนี้การเชื่อมโยงการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวยังทำได้ไม่ดีนัก ทรัพยากรในพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่ แนวทางการพัฒนาจะต้องมีการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยลุ่มจังหวัดที่จะกลายเป็นศูนย์กลางคลัสเตอร์การท่องเที่ยว อาทิเช่น พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เน้นหนักในด้านคุณภาพและความพอเพียงของระบบไฟฟ้า ประปา สาธารณสุข ในขณะที่พื้นที่อื่นเน้นเรื่องของความครอบคลุมของเส้นทางท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มจะเดินทางออกจากเขตเมืองเพื่อท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และบริบทของชุมชน เพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามายังพื้นที่ รวมถึงการแก้ไขกฎระเบียบข้อจำกัดด้านการขนส่ง การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวบนเส้นทางฯ มากยิ่งขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2564. สืบค้น 20 สิงหาคม 2564, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=628

ขวัญเรือน พุ่มจำเนียร. (2555). ปัจจัยที่มีผลใ ห้นักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเลือกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศด้วยตนเอง. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธยา สมสุข. (2552). คุณภาพบริการการท่องเที่ยวของตลาดนํ้าบางนํ้าผึ้ง. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร, 3(2), 188–196.

Ayyub, B, M., & Klir, G, J. (2005). Uncertainty Modeling and Analysis in Engineering and the Sciences. Chapman & Hall/CRC, New York: Taylor & Francis Group.

Ben-Akiva, M. E., & Lerman, S. R. (1985). Discrete Choice Analysis: Theory and Application to Travel Demand. Cambridge, MA: MIT.

Hensher, D. A., Rose, J. M., & Greene, W. H. (2005). Applied Choice Analysis: A Primer. Cambridge: Cambridge University Press.

Lotan, T. (1992). Modeling Route Choice Behavior in the Presence of Information Using Concept from Fuzzy Set Theory and Approximate Reasoning. MIT.

Pike, S. (2008). Destination Marketing: An Integrated Marketing Communication Approach. Oxford: Elsevier.

Simon, P. W., Matthew G. K., & Fred, L. M. (2011). Statistical and Econometric Methods for Transportation Data Analysis. (2nd ed.). Boca Raton: FL.

Train, K. (2003). Discrete Choice Methods with Simulation. Cambridge: MIT Press, MA.

World Economic Forum. (2018). The Global Competitiveness Report 2018.

Zailani, S., Iranmanesh, M., Yusof, N. A., & Ansari, R. (2015). Effects of Service Supply Chain Practices on the Profitability of Tourism Firms. Anatolia, 26, 1–12.