วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

สาขาขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์     

      บทความวิจัยและบทความวิชาการที่ให้ความสำคัญในด้านการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ทุกระดับ โดยผลการวิจัยนั้นต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ สามารถขยายผลความสำเร็จไปยังพื้นที่อื่น หรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งมีขอบเขตดังนี้

  1. การจัดการเพื่อการพัฒนา
  2. สุขภาวะชุมชน
  3. เกษตรและอาหารเพื่อชุมชน
  4. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมชุมชน

ประเภทบทความที่รับ
      ตีพิมพ์ผลงาน 2 ประเภท คือ

  • บทความวิจัย (Research article)
  • บทความวิชาการ (Academic article) 

การพิจารณาบทความ

      บทความที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารมีการตรวจสอบและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Peer-reviews) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ โดยผูัทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blinded Peer review) ผ่านระบบ ThaiJO

กำหนดการตีพิมม์เผยแพร่

      กำหนดตีพิมพ์เผยแพร่เป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ฉบับคือ

  • ฉบับที่ 1 ช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน
  • ฉบับที่ 2 ช่วงเดือน กรกฏาคม-ธันวาคม

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

      วารสารจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ต่อ 1 บทความ รายละเอียดดังนี้

  • บุคคลภายนอก ค่าธรรมเนียม  4,500 บาท (สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)
  • บุคคลภายในมหาวิทยาลัย (บุคลากรสายวิชาการ/สนับสนุน) ค่าธรรมเนียม ไม่เก็บค่าธรรมเนียม
  • นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ค่าธรรมเนียม 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)

      โดยจะเรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ได้รับการพิจาณาจากบรรณาธิการให้เข้าสู่กระบวนการส่งพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ โดยวารสารขอสงวนสิทธิ์คืนเงินกรณีบทความได้รับการปฏิเสธตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ จำนวน 2 ท่านจาก 3 ท่าน

Language

      ภาษาไทย

      English

Publisher

      มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.