ผลของการแช่น้ำหมักชีวภาพต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ผลของการแช่น้ำหมักชีวภาพต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าว ทดสอบโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปทุมธานี 1 พันธุ์ กข.29 และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบ Least Significant Difference (LSD) จำนวน 4 สิ่งทดลอง 4 ซ้ำ โดยสิ่งทดลองที่เปรียบเทียบ คือ 1) การไม่แช่น้ำเปล่า 2) แช่น้ำเปล่า 3) แช่น้ำหมักปลา และ 4) แช่น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ผลการทดลองพบว่า การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำหมักชีวภาพเมื่อเทียบกับการไม่แช่น้ำ มีผลทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกสูงขึ้นในพันธุ์ กข. 29 โดยมีค่าความงอกเพิ่มขึ้น จากเมล็ดพันธุ์ไม่แช่น้ำมีความงอกร้อยละ 23.25 เมื่อแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำหมักปลาและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินมีความงอกเป็นร้อยละ 34.50 และร้อยละ 37.00 ตามลำดับ สำหรับผลของการแช่น้ำหมักชีวภาพต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ พบว่า
การแช่น้ำหมักชีวภาพทุกสูตรมีผลทำให้ค่าการเจริญของต้นกล้าด้านลำต้นของเมล็ดพันธุ์
ในทุกพันธุ์ มีค่าสูงกว่าการไม่แช่น้ำ
Article Details
References
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2546). สารเร่งประเภทจุลินทรีย์ พด.1 พด.2 พด.3 สำหรับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตการเกษตร. กรุงเทพฯ.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2550). มีอะไรในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดความรู้และเทคโนโลยี การพัฒนาที่ดิน, สนท.01008-2550. กรุงเทพฯ: สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมวิชาการเกษตร. (2547). ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ น้ำหมักชีวภาพ (ตอนที่ 1). เอกสารวิชาการ ลำดับที่ 3/2547. กรุงเทพฯ: ควิกปริ๊นท์ออฟเซ็ท.
บุญมี ศิริ. (2558). การปรับปรุงสภาพและยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. ขอนแก่น: ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรันยา คุ้มปลี และ สุรพงษ์ ดำรงกิตติกุล. (2555). ผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพผลไม้ต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์พริก. น. 2339-2346. ใน: การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9, 6 – 7 ธันวาคม 2555. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม.
สมเกียรติ สุวรรณคีรี. (2547). ปุ๋ยนํ้าชีวภาพหรือนํ้าสกัดชีวภาพ และการประยุกต์ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) (ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม). เชียงใหม่: สถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน, ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. (2544). สรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2560). การผลิตข้าวครบวงจรโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน).
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. (2563). รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปีพ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563 จาก http://www.doa.go.th/ ard/?page_id=386.
อรอนงค์ โพธิ์แป้น. (2552). คุณลักษณะทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมีของผลิตที่เกิดขึ้นตลอดการผลิตทั้งในรูปของแข็งและของเหลวจากการทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน. โครงงานนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลา.
อานัฐ ตันโช. (2550). ไส้เดือนดิน (Earthworms). ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
อานัฐ ตันโช. (2556). เกษตรธรรมชาติประยุกต์: หลักการ แนวคิด เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ทรโอแอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย.
Bewley, J. D., & Black, M. (1982). Physiology and Biochemistry of Seed in Relation to Germination. Vol II. Seed Viability, Dormancy and Environment Control. New York: Springer Verlay.
International Seed Testing Association (ISTA). (1995) . Handbook of Vigour Test Method. 3rd Edition 1995, Zurich, Switzerland: International Seed Testing Association.
International Seed Testing Association (ISTA). (2011). International Rules for Seed Testing. Bassersdorf, Switzerland: International Seed Testing Association.