การสำรวจและวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ที่จำหน่ายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

Main Article Content

ปวีณา วัดบัว

บทคัดย่อ

เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน สังเกตได้จากร้านกาแฟที่กระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงในการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ได้แก่ การบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อไม่ให้เกิดโทษต่อร่างกาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนที่จำหน่ายในร้านกาแฟ 4 ร้าน ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนนายร้อยและอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 316 นาย และวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิล สเปกโทรโฟโตเมตรี


          ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 96 บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 1 แก้วต่อวัน โดยเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม ได้แก่ คัปปุชชีโน (ร้อยละ 28) เอสเปรสโซ (ร้อยละ 20) อเมริกาโน (ร้อยละ 17) ลัตเต (ร้อยละ 11) มอคา (ร้อยละ 8) โกโก้ (ร้อยละ 8) ชาเขียว (ร้อยละ 5) และชาไทย (ร้อยละ 3) ตามลำดับ
เมื่อวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนพบว่า เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจากร้านกาแฟทั้ง 4 ร้าน
ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีปริมาณคาเฟอีนอยู่ในช่วง 14.49-183.35 มิลลิกรัมต่อแก้ว โดยปริมาณคาเฟอีนต่อแก้วของเครื่องดื่มประเภทกาแฟทั้ง 5 ชนิด คือ คัปปุชชีโน เอสเปรสโซ อเมริกาโน ลัตเต และมอคา มีค่ามากที่สุด (121.49-183.54 มิลลิกรัม) รองลงมาคือ ชาไทย (122.47-135.05 มิลลิกรัม) ชาเขียว (101.31-110.09 มิลลิกรัม) และโกโก้ (14.49-17.61 มิลลิกรัม) ตามลำดับ ดังนั้นปริมาณที่แนะนำในการบริโภคเครื่องดื่มประเภทกาแฟและชาไทยจากร้านกาแฟทั้ง 4 ร้าน คือ ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน และเครื่องดื่มประเภทชาเขียว คือ ไม่เกิน 3 แก้วต่อวัน




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amare M, Shimelis A. Polymer modified glassy carbon electrode for the electrochemical determination of caffeine in coffee. Talanta 2012; 93:122-128.

ปัทมา ตาปราบ. การศึกษาการสื่อสารทางการตลาดและลักษณะของผู้บริโภคกาแฟสด [การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาโท สาขาการตลาด]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Norton TR, Lazev AB, Sullivian MJ. The ‘Buzz’ on caffeine: patterns of caffeine use in a convenience sample of college students. Journal of Caffeine Research. 2011; 1(1):35-40.

ศิวพร ไวทยะพิศาล. พฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร; 2560.

Chaugule A, et al. Extraction of caffeine. International Journal of Advance Research in Chemical Science. 2019; 6(9):11-19.

. ณัฐนิช อินทร์ขำ. ข้อดีของการดื่ม “กาแฟ” ที่มี “คาเฟอีนธรรมชาติ” [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph. go.th/th/rrhlnews.

Gaza U. A comparative analysis of caffeine extraction efficiency from different tea varieties and its effect on human physiology: a spectrophotometric investigation. American Journal of Analytical Chemistry. 2023; 14:134-148.

ไพรัตน์ โชควิบูลย์กิจ. การวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มโคล่าโดยวิธีการสกัดและสเปกโตรโฟโตเมตรี. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 2548; 1(1): 40-44.

Murray SD, Hansen PJ. The extraction of caffeine from tea: an old undergraduate experiment revisited. Journal of Chemical Education. 1995; 72(9):851-852.

Saad M, et al. Determination of caffeine content in coffee drinks prepared in some coffee shops in the local market in Jeddah city, Saudi Arabia. Open Chemistry. 2023; 21:1-7.

Gebrewold F, Geletu G. Chemistry of caffeine in coffee and its determination using uv/vis spectrophotometer: a review article. Chemistry and Materials Research. 2018; 10(1): 23-27.

Ihsan BRP, et al. Determination of caffeine in robusta coffee beans with different roasting method using uv-vis spectrophotometry. Food Research. 2023; 7(6):29-34.

Amen A. Determination of caffeine content in some commonly consumed tea brands in Taraba state. International Journal of Modelling and Applied Science Research. 2022; 25(9):165-174.

Vuletic N, et al. Spectrophotometric determination of caffeine content in the selection of teas, soft and energy drinks available on the Croatian market. Food Research. 2021; 5(2):325-330.

อาดุล อับดุลลอ. การวิเคราะห์ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มปรุงแต่งด้วยช็อกโกแลต โดยวิธีใช้ 1-โพรพานอลเป็นสารสกัดด้วยเทคนิคสเปกโทรโฟโตเมตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ; 2551.

ทิพยรัตน์ ชาหอมชื่น และคณะ. ประสิทธิภาพของวิธีการสกัดโดยคลื่นอัลตราโซนิคต่อปริมาณคาเฟอีนและฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียจากกากกาแฟ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 2566; 8(2):61-71.

Eticha S, Bedassa T. Determination of caffeine in coffee samples by high performance liquid chromatography and ultraviolet-visible spectrophotometry methods from Wollega, Ethiopia. International Journal of Biochemistry, Biophysics and Molecular Biology. 2020; 5(1): 8-17.

Grujic-Latic N, et al. Quantitative determination of caffeine in different matrices. Macedonian Pharmaceutical Bulletin. 2016; 62(1):77-84.

Misto KA, et al. Spectrophotometric analysis of caffeine in local product of arabica: observed at different roasted temperatures. IOP Conf. Ser.: Mater. Sci. Eng. 2021; 1173: 1-7.