ระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ

Main Article Content

ปราโมทย์ สุขศิริศักดิ์

บทคัดย่อ

     ในปัจจุบันการเพาะปลูกทางการเกษตรนั้นมีหลายหลายรูปแบบ แต่ปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกทางการเษตรนั้นก็คือการรดน้ำให้กับพืชผักต่าง ๆ เดิมวิธีการรดน้ำแบบใช้แรงงานคนและระบบรดน้ำแบบสปริงเกอร์โดยไม่มีการควบคุมทำให้การรดน้ำไม่มีความสม่ำเสมอ อาจทำให้น้ำท่วมพื้นที่และพืชผักรับปริมาณน้ำมากเกินความจำเป็น คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบระบบรดน้ำแปลงผักอัตโนมัติผ่านเซนเซอร์วัดความชื้นในดิน และส่งสัญญาณข้อมูลกลับไปยังตัวรับสัญญาณโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ (บอร์ดอาดูโน) ในการควบคุมการทำงาน โดยการติดตั้งเซนเซอร์ในบริเวณแปลงเพาะปลูกจำลอง 2 แปลง สำหรับตรวจวัดค่าความชื้นในดิน จากนั้นส่งค่าการตรวจวัดผ่านโมดูลสื่อสารแบบมีสายไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อทำการประมวลผลว่าควรจ่ายน้ำหรือไม่ โดยผ่านเงื่อนไขของความชื้น 70% ในการควบคุมให้ระบบจ่ายน้ำเพื่อรดน้ำ หากความชื้นต่ำกว่า 70% ระบบจะจ่ายน้ำเพื่อรดน้ำแปลงผักอัตโนมัติ และเมื่อความชื้นมากกว่า 70% ระบบจะหยุดจ่ายน้ำ โดยค่าความชื้นที่วัดได้จะถูกส่งไปเก็บที่โมดูลเอสดีการ์ดเพื่อไปวิเคราะห์ผลการทดสอบ       ซึ่งผลการทดสอบโดยรวมสามารถทำงานได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา. เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ = Smart Farms Technology. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. ก.ค.-ธ.ค. 2559;14(2):201-210.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ. IoT ฝีมือคนไทย [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ; c2022 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.scimath.org/article-technology/item/9815-Arduino

พรนรินทร์ ต้นกระหาด, ทรงวุฒิ แสงจันทร์. โครงข่ายเซนเซอร์ความชื้นในดินสำหรับควบคุมการให้น้ำพืช = Soil moisture sensor network for controlling plant watering. ประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 14 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6; 1-4 เม.ย. 2556; โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์พลาซ่า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก; 2556.

วราพล เกษมสันต์, อติรัฐ มากสุวรรณ์. รูปแบบการใช้เครื่องมือทางการเกษตรเพื่อผ่อนแรงทางกิจกรรมทางการเกษตรสำหรับปรับโครงสร้างกายภาพของดิน = A Pattern of Using Agricultural Tools to Relieve Effort in Agricultural Activity in the Improvement of the Physical Soil Structure. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร. ก.ค.-ธ.ค. 2565;6(2);30-46.

กุลวดี สุทธาวาส. วิธีการหาความชื้นในดินภาคสนาม (ทฤษฎี+ปฏิบัติการ) [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10; c2022 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ย.65]. เข้าถึงได้จาก: www.r10.ldd.go.th/khowlegeR10_1/kn6.pdf

เอกรัตน์ ศรีไทย, อนุรัญช์ วรรธนะเลิศวาณิช, ณัฐพงศ์ พุ่มมี. การวิเคราะห์เพื่อหาขนาดและรูปแบบแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมสำหรับการสูบน้ำเพื่อการเกษตร = Analysis to Obtain the Optimum Sizing and Typing for Agriculture Solar Water Pump [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม;2556.

คณุตฆ์ แซ่ม้า, สุรชัย แซ่จ๋าว. ระบบรดน้ำแปลงผักอัตโนมัติ = Automatic Plant Watering System [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ; 2561.

สายันต์ ท้ายเมือง. แบบจำลองเครื่องรดน้ำอัตโนมัติ [ออนไลน์]. กรุงเทพฯ: โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กองวิทยาการ กรมอิเล็กทรอนิกส์เรือ; c2022 [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://elecschool.navy.mi.th/pro /doc62/07.pdf

เขมรัฐ มองเชิง, ดวงนภา ทองเกิด. ระบบควบคุมการให้น้ำสวนทุเรียนอัตโนมัติ = The Automatic Watering Controller for Durian Farms [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

ภาคิน มณีโชติ, เทพ เกื้อทวีกุล, ณัฐพงศ์ ศิลาจันทร์, ณัฐปกรณ์ พลีใหญ่, จารุกิตติ์ พิบูลนฤดม. การพัฒนาระบบให้น้ำชะอมพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยด้วย IoT สำหรับชุมชม = Development of Suitable Watering System with Solar Energy for Senior by Using IoT in Community. ประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1; 22 ก.พ. 2564; ผ่านระบบออนไลน์; 2564.

Stroud KA, Booth DJ. Engineering Mathematics. 6th ed. London: Palgrave; 2007.