การหาค่าตัวเกณฑ์สำหรับการปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายและเพื่อศึกษาแนวทางในการนำตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายมาใช้สำหรับหนังสือมาตราน้ำ โดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลระดับน้ำจริงและข้อมูลระดับน้ำทำนายในช่วงเวลา 1 รอบของวัฏจักรน้ำขึ้น – น้ำลง ตั้งแต่ พ.ศ.2540 – 2559 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) เพื่ออธิบายลักษณะของผลต่างระหว่างน้ำจริงกับน้ำทำนาย (Residual Levels) แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนาย ผลการวิจัยพบว่า ผลต่างระหว่างระดับน้ำจริงกับระดับน้ำทำนาย (Residual Levels) ของสถานีวัดระดับน้ำอ่าวสัตหีบ ช่วงเวลาน้ำเกิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 13 เซนติเมตร ช่วงเวลาน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 19 เซนติเมตร ช่วงเวลาระหว่างน้ำเกิดกับน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 14 เซนติเมตร สถานีวัดระดับน้ำสงขลา ช่วงเวลาน้ำเกิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 12 เซนติเมตร ช่วงเวลาน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 16 เซนติเมตร ช่วงเวลาระหว่างน้ำเกิดกับน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 17 เซนติเมตร สถานีวัดระดับน้ำอ่าวทับละมุ ช่วงเวลาน้ำเกิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 18 เซนติเมตร ช่วงเวลาน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 16 เซนติเมตร ช่วงเวลาระหว่างน้ำเกิดกับน้ำตาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 16 เซนติเมตร ซึ่งได้สังเคราะห์เป็นตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายตามช่วงเวลาได้ดังนี้ ช่วงเวลาน้ำเกิด 1–18 เซนติเมตร ช่วงเวลาน้ำตาย 3 –16 เซนติเมตร และช่วงเวลาระหว่างน้ำเกิดกับน้ำตาย 0–16 เซนติเมตร และจากการนำตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายที่ได้มาใช้เพื่อเปรียบเทียบกับระดับน้ำจริงที่สถานีวัดระดับน้ำอ่าวทับละมุ ของปี พ.ศ.2557 ได้ค่าเฉลี่ยของผลต่างอยู่ในช่วง 2-16 เซนติเมตร ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 0 – 1 เซนติเมตร แสดงให้เห็นว่าการนำตัวเกณฑ์การปรับแก้ค่าระดับน้ำทำนายมาใช้สามารถทำให้ค่าระดับน้ำทำนายมีความใกล้เคียงกับความระดับน้ำจริงมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น
References
Doodson AT, Warburg HD. Admiralty Manual of Tides. Taunton: United Kingdom Hydrographic Office; 1966.
Simon B, Gonella J, Manley D, Shipman S. Coastal Tides. Monaco: Institut Océanographique de Paris; 2013.
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. ระดับน้ำในน่านน้ำไทย พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: กองสร้างแผนที่ กรมอุทกศาสตร์; 2550.
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. มาตราน้ำน่านน้ำไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: กองสร้างแผนที่ กรมอุทกศาสตร์. 2559.
Australian Hydrographic office [Internet]. New South Wales: Australian Hydrographic office; 2021. Australian National Tide Tables; 2007 [cited 2023 Jan 28]; [about 2 screens]. Available from: https://www.hydro.gov.au/prodserv/publications/antt.htm
Admiralty Tide Tables: South China Sea and Indonesia. Taunton: United Kingdom Hydrographic Office; 2017.
Pugh D. Changing Sea Levels : Effects of Tides, Weather and Climate. Cambridge: Cambridge University Press; 2004.