การพัฒนาชุดทดลองการหาค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลกด้วยตัวตรวจวัดเวลา แบบดิจิตอลพร้อมโปรแกรมแสดงผลอัตโนมัติด้วย IoT บน Smartphone สำหรับห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ โรงเรียนนายเรือ

Main Article Content

วีระ บุญผุด

บทคัดย่อ

การศึกษาค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกมีความสำคัญเป็นอย่างมากในสาขาวิชาฟิสิกส์ที่ส่งผลต่อการสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับแรงดึงดูดระหว่างมวล น้ำหนักและพลังงานศักย์โน้มถ่วง การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาชุดทดลองในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์เพื่อวัดค่าเวลาด้วยตัวตรวจวัดเปียโซอิเล็คทริคและค่ากระจัดด้วยตัวตรวจวัดอัลตราโซนิค ร่วมกับการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์บนบอร์ด Arduino Mega2560 R3 ควบคุมและแสดงผลอัตโนมัติบนจอภาพชนิดสัมผัส นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งควบคุมและแสดงผลบนสมาร์ทโฟนผ่านแอพพลิเคชันบลิงค์ ค่าเวลาและค่าการกระจัดที่วัดได้นี้จะนำมาวิเคราะห์หาค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มของโลก โดยวิธีคำนวณจากสูตรการตกอย่างอิสระและวิธีทางกราฟ ผลจากการทดสอบพบว่าค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่วัดได้จากชุดการทดลองมีค่าใกล้เคียงกับค่ามาตรฐาน โดยผลการทดสอบของชุดทดลองที่พัฒนาขึ้นนี้มีความแม่นยำถึงร้อยละ 99.51 จากผลการทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่าชุดทดลองที่สร้างขึ้นสามารถใช้ทดลองวัดความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกในการศึกษาเรื่องการตกอย่างอิสระของวัตถุได้อย่างแม่นยำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โรงเรียนนายเรือ [อินเทอร์เน็ต]. สมุทรปราการ: สำนักงาน; c2020 [เข้าถึงเมื่อ 25 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้ จาก: https:// www.rtna.ac.th/download/education_63.pdf

สำนักงานการอุดมศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; c2019 [เข้าถึงเมื่อ 25 เม.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://op.chandra.ac.th/plan/images/pdf/plan20yrs%20education%2061-80.pdf

ปิยพงษ์ สิทธิคง. ฟิสิกส์ 1 ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ท็อป; 2559.

Serway RA, Jewett JW. Physics for scientists and engineers. 9th ed. Belmont, CA: Brooks/Cole; 2012.

ทัศนีย์ ไพรรื่นรมย์, ณัฐนันท์ วรเดช. สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; c2022 [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nimt.or.th/main/?p=21307& fbclid=lwAR2xzP44rY5B4oUBuNOPMLZG-855 - oNwS-NKnVTNY6

ดิเรก บุญธรรม, สันติภาพ สระบัว, อภิชาต พองพลา, อุดมเดช ภักดี, ชุติมา อุปถัมภ์. การพัฒนาอุปกรณ์ใช้ในห้องปฏิบัติการเพื่อติดตามการตกอิสระของวัตถุโดยอาศัยอุปกรณ์เปียโซอิเล็กทริก. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) [อินเทอร์เน็ต]. ม.ค.-มี.ค.2555 [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2565];21(1): 41-47. เข้าถึงได้จาก:

http://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/ 12118/10268

อภิรักษ์ พันธุ์พณาสกุล, ธิดารัตน์ ศรีระสันต์, ภูวนาท จันทร์ขาว, กนกรัตน์ จันทร์มโณ. การพัฒนาระบบควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศผ่านสมาร์ทโฟน. ใน: The 10th Hatyai National and International Conference. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 The 10th Hatyai National and International Conference; 12-13 ก.ค. 2562; สงขลา. [สงขลา]: [มหาวิทยาลัยหาดใหญ่]; 2562. น. 645-59.

ชาริณี ชาญดนตรีกิจ, ณัฐการ สืบบุก. ระบบควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านอินเตอร์เน็ต [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก:

http://www.hu.ac.th/conference/conference2019/proceedings _ 2019/FullText