การออกแบบและพัฒนาชุดอุปกรณ์วัดคาบเวลาและความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก ประกอบชุดทดลองการแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย

Main Article Content

ภาณุกร วัฒนจัง
วีระ บุญผุด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาชุดอุปกรณ์วัดคาบเวลาและความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลกประกอบชุดทดลองการแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย (Simple Pendulum Oscillation) โดยชุดอุปกรณ์ ฯ นี้ ประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจจับแบบอินฟราเรดและ NodeMCU ESP8266 โดย NodeMCU ESP8266 นั้น มีคุณสมบัติในการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things; IoT) ในส่วนของการแสดงผลจะแสดงคาบเวลาเฉลี่ย (Average Time;T avg ) และความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก (Gravitational Acceleration;g ) ผ่านแอปพลิเคชัน Blynk ทั้งนี้ พบว่ามีร้อยละความคลาดเคลื่อน (Percent Error) ร้อยละ 1.463 เมื่อเทียบกับค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลกมาตรฐาน ณ กรุงเทพมหานคร โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีค่า 9.78297 เมตรต่อวินาที2 และชุดอุปกรณ์วัดคาบเวลาการแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่ายมีความแม่นยำสูงกว่าการจับเวลาด้วยนาฬิกาจับเวลาของนักเรียนนายเรือ (นนร.) ที่มีร้อยละความคลาดเคลื่อนร้อยละ 4.150

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โรงเรียนนายเรือ [อินเตอร์เน็ต]. สมุทรปราการ: โรงเรียนนายเรือ; c2020 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.rtna.ac.th/download/65Final.pdf

Serway RA, Jewett JW. Physics for scientists and engineers with modern Physics. 9th ed. Boston: Brooks/Cole; 2012.

Halliday D, Resnick R, Walker J. Fundamentals of physics. 11th ed. New Jersey: John Wiley & Sons; 2018.

กฤษฎา สังกาณี, รัชนู กัดมั่น. ชุดปฏิบัติการเรื่องการแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่ายโดยใช้เซนเซอร์ฮอลล์.ใน: ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช, วิวรรธน์ จันทร์เทพย์, วนิดา ตรีสวัสดิ์, บรรณาธิการ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 3 สร้างองค์ความรู้ มุ่งสู่การศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น; 1 มี.ค. 2558; ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง; 2558. น. 571-8.

อภิรักษ์ พันธุ์พณาสกุล, ธิดารัตน์ ศรีระสันต์, ภูวนาท จันทร์ขาว, กนกรัตน์ จันทร์มโณ. การพัฒนาระบบควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศผ่านสมาร์ทโฟน. ใน: ทัศนีย์ ประธาน, บรรณาธิการ. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10; 12-13 ก.ค. 2562; สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2556. น. 645-59.

INRO Electronics. Infrared (IR) Sensor Hw201 Object Detection [Internet]. [place unknown]: INRO Electronics; c2022 [cited 2022 Jan 17]. Available from: https://www.inro-electronics.com/infrared-object-detection-sensor

สุเมธี อินคำเชื้อ. การออกแบบและพัฒนาระบบตรวจจับการใช้กระแสไฟฟ้าด้วยเครือข่ายไร้สาย [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th /thesis/ 2017/TU_2017_5910037489_7858_6921.pdf

โภคี บุญนรากร. ระบบให้อาหารม้าแบบอัตโนมัติด้วยไอโอที [อินเทอร์เน็ต] [ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/17309/1/6010121035.pdf