การศึกษาและสร้างเครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการบริโภค

Main Article Content

ปราโมทย์ สุขศิริศักดิ์
วิริยะ บริสุทธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาและสร้างเครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการอุปโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างเครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์โดยโครงสร้างทำจากอะลูมีเนียม มีพื้นที่รับแสง 0.48 ตารางเมตร มีความลาดเอียงของกระจก 13 องศากับแนวระดับ โดยได้ดำเนินการวิจัย 2 แบบ แบ่งเป็นเครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ก่อนเพิ่มประสิทธิภาพและหลังเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพนั้นเป็นการหุ้มฉนวนกันความร้อนออกนอกเครื่องกลั่น และเพิ่มวัสดุดูดซับแสงอาทิตย์โดยการพ่นสีดำที่ตัวเครื่องกลั่น จากนั้นนำน้ำดิบจากหลังอาคารโรงฝึกงานภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช มาทำการกลั่นตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. รวมทั้งสิ้น 7 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือน ผลที่ได้พบว่าปริมาณน้ำที่กลั่นได้ก่อนการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องกลั่นมีปริมาณน้ำเฉลี่ย 0.53 ลิตรต่อวัน และหลังจากเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องกลั่นแล้วมีปริมาณน้ำเฉลี่ย 1.10 ลิตรต่อวัน ซึ่งคุณภาพน้ำที่ได้จากการกลั่นอยู่ในค่ามาตรฐานน้ำดื่มของกองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ ซึ่งอ้างอิงเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กรมวิทยาศาสตร์บริการ. เครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ [ออนไลน์] . กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์บริการ; c2022 [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.dss.go.th/index.php

สิทธิโชค พรหมน้ำฉ่า, กิตติ นวลพลับ, บุญยัง ปลั่งกลาง, สมชาย เบียนสูงเนิน. ระบบวัดและแสดงผลพลังงานที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ [Measure and Display System for Solar Radiation]. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี. ม.ค.-ธ.ค. 2550;10(1):87-92.

Wibulsawas P. Research and Development of Solar Thermal Energy in Thailand. Asean Journal of Science and Technology Development. 1988;5(1):15-23.

ศิรินุช จินดารักษ์, พิสิษฏ์ มณีโชติ, วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร, ประพิธาริ์ ธนารักษ์. บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก [Small Solar Home System]. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. ก.ค.-ธ.ค. 2546;11(2):19-27.

สำรวย ภูบาล, พิชัย นามประกอบ, ปรีดา จันทวงษ์. การศึกษาความเป็นไปได้ของเครื่องกลั่นน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ [Feasibility Study of Simple Solar Energy Water Still]. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. ม.ค.-ธ.ค. 2550;3(1):1-7.

Koffi BK, Konan D, Nguessa RK, J.K S, Tanoh A, Kouacou MA, et al. Modelling of Solar Still for Production of Pure Water in The Abidjan Zones. Research Journal of Physics. 2009;3(1):5-13.

Antwi E, Bensah E, Ahiekpor JC. Use of Solar Water Distiller for Treatment of Fluoride-Contaminated Water: The Case of Bongo District of Ghana. Desalination. 2011 Sep;278(1):333-336.

Gaur MK, Tiwari GN. Optimization of Number of Collectors for Integrated PV/T Hybrid Active Solar Still. Appl Energy. 2010 May;87(1):1763-72.

Mohamed M, El-Baky MA. Thermosyphon Solar Water Distiller of Cement and Aluminum Absorber with Auxiliary Condenser. International Journal of Water Resources and Environmental Engineering. 2011 Dec 8;3(13):303-8.

Pearce JM, Denkenberger D. Numerical Simulation of the Direct Application of Compound Parabolic Concentrators to a Single Effect Basin Solar Still. Proceedings of Solar Cookers and Food Processing International Conference; 2006 Jan; Granada: Solar Cookers International; 2006.