เพรียงกับการยึดเกาะ

Main Article Content

วริษฐา ขาววิเศษ

บทคัดย่อ

เพรียงเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทสัตว์ขาปล้อง(Arthropod) อยู่ในชั้น (Infraclass) Cirripedia ใน Subphylum Crustacea อาศัยในบริเวณน้ำตื้นและบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลง เพรียงมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ จัดเป็นสัตว์ยึดเกาะอยู่กับที่ (Nonmotile) กินอาหารโดยผ่านการกรองอาหารจากน้ำ (Suspension Feeders) แต่ในช่วงที่เป็นตัวอ่อนสามารถว่ายน้ำได้ เป็นจำพวก Microscopic Plankton ในช่วงที่เป็นตัวอ่อนลงยึดเกาะกับพื้นผิววัสดุต่างๆ ในทะเล และพัฒนาจนเป็นตัวเต็มวัย ถือเป็นช่วงที่ก่อให้เกิดปัญหาพื้นผิวสกปรก (Fouling) กองทัพเรือยังนิยมใช้สีกันเพรียงเพื่อป้องกันการยึดเกาะของเพรียงและพืชใต้น้ำ โดยมีสารพิษคือ Copper Oxide เป็นตัวทำลายตัวอ่อนเพรียง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อใช้ไประยะหนึ่งสีเหล่านี้ก็หมดสภาพและก็ถึงเวลาสมควรที่ควรนำเรือขึ้นบกมาบำรุงรักษาและตรวจสอบทั้งระบบ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และนักสมุทรศาสตร์พยายามคิดค้นหาวิธีแก้ปัญหาเพรียงที่ลงเกาะนี้ (Antifouling) โดยใช้วิธีทั้งทางฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา ซึ่งแต่ละวิธีมีทั้งข้อดีและข้อด้อยต่างๆกัน การนำมาใช้จึงควรปรับและพิจารณาให้เหมาะกับการใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Crisp,D.J., G Walker,G.A.Young, and A.B.Yule. (1985)Adhesion and substrate choice in mussels andbarnacles.J.Colloid and Inverface Sci.,104(1):40- 50,

Osman,R.W. (1977).The establishment and development of a marine epifaunal community. Ecological Monographs,47:37-63.

Ruppert E.E and Barnes.(1994) R.D.Invertebrate zoology.6th Edition. International edition.USA.: Saunders college publishing.

Susan M.Libes. (2009) Introduction to Marine Biogeochemistry.2nd Edition. California: Academic Press.

Yule,A.B. and G.Walker. (1984)The temporaryadhesion of barnacle cyprids: effect of some differing surfaces characteristics. J.marine.Biol.U.K.64:429-439.

กรมแผนการช่างกรมอู่ทหารเรือ.2554.งานทาสีเรือของกองทัพเรือกับมาตรฐานการใช้งาน.นาวิกศาสตร์94(12):46-49.โรงพิมพ์สารบรรณ กองทัพเรือ

ปัทมา ระงับพิศม์.2545.การยับยั้งการลงเกาะของตัวอ่อนเพรียงหิน (Balanus amphitrite) โดยแบคทีเรีย ทะเลที่อาศัยอยู่กับฟองน้ำหรือปะการังอ่อนจากหมู่เกาะช้างจังหวัดตราด.: http://newtdc.thailis.or.th/

สมชาย สุรสรยทุธ.2545.การเปรียบเทียบการเติบโตของเพรียงหินบนเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำที่เคลือบผิว และไม่เคลือบผิว.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

เผดิมศักดิ์ จารยะพันธ์และคณะ(2550ก). ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล: สถานการณ์และข้อเสนอ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

เผดิมศักดิ์ จารยะพันธ์และคณะ(2550ข).โครงการสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของประเทศไทยกับการใช้ทะเลอย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย