การขจัดคราบน้ำมันในทะเล

Main Article Content

ศิริรัตน์ บุญโสภา

บทคัดย่อ

คราบน้ำมันในทะเลมีที่มาจากหลายๆ สาเหตุ เช่น อุบัติเหตุเรือชนกัน อุบัติเหตุจากการขนถ่ายน้ำมันในทะเล การลักลอบทิ้ง หรือ แม้กระทั่งมาจากการรั่วไหลของอุตสาหกรรมแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล ผลที่เกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้คือก่อให้เกิดมลพิษทางทะเลที่ยากต่อการขจัด เนื่องจากคราบน้ำมันจะไหลกระจายไปได้ในระยะทางไกลตามทิศทางของลมและกระแสน้ำ และไปสะสมอยู่ในระบบนิเวศน์ต่างๆ เราจึงควรศึกษาวิธีการขจัดคราบน้ำมันหลังจากเกิดเหตุในกรณีต่างๆ โดยมีแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันในระดับชาติ ซึ่งกล่าวถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและวิธีการ ขั้นตอนในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล รวมทั้งวิธีการ สารเคมีที่ใช้ในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล เพื่อผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ประสบเหตุได้เข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในระหว่างการขนถ่ายน้ำมันที่บริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง ของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] กัลยา อำนวย, พลเรือตรีหญิง. (2546). การนำแบคทีเรียทะเลไปใช้ในการย่อยสลายคราบน้ำมันในทะเล. โครงการวิจัย. กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ. กองทัพเรือ.
[2] จิราภรณ์ ธนียวัน, รองศาสตราจารย์. (2544). การคัดเลือกจุลินทรีย์ และการผลิตไบโอเซอร์แฟคแตนท์. รายงานการวิจัย. ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] นภดล สว่างนาวิน, เรือเอก. (2547). ผลของสารลดแรงตึงผิวต่อการย่อยสลายน้ำมันดิบโดยจุลินทรีย์ที่แยกได้จากทรายทะเลที่ปนเปื้อนคราบน้ำมัน . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต . ภาควิชาจุลชีววิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] Kosaric, N. (1993). Biosurfactants Production Property Application. Surfactant Science. (Series:vol.48) New York: Marcel Dekker, Inc.
[5] Sheehan, D.(1997). Bioremediation Protocols. New Jersey: Humana Press, Totowa.
[6] “น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณอ่าวพร้าว.” 2556.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา http://www.bangkokbiznews.com.
[7] “ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล.”(2559).[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา http://www.mkh.in.th.
[8] ภาพประกอบจาก www.sciencedirect.com, www.graysonline.com, www.technolomo.com.