การศึกษาระดับผิวหน้าทะเลบริเวณอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ด้วยข้อมูลดาวเทียมระบบอัลติมิตี้
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษาค่าความสูงของผิวหน้าทะเลบริเวณอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ด้วยข้อมูลดาวเทียมอัลติมิตี้ ระหว่างปี พ.ศ.2536 - 2555 พบว่า ค่าความสูงระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย (amplitude) มีค่าสูงกว่าในทะเลจีนใต้ ค่าเฟส (phase) ของระดับน้ำทะเลพบค่าสูงสุดในอ่าวไทย ประมาณกลางเดือนมกราคม ค่าต่ำสุดประมาณเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุม อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยระยะยาวสำหรับอ่าวไทย มีค่า 3.4 + 0.7 มิลลิเมตรต่อปี ในทะเลจีนใต้ มีค่าระหว่าง 4-5 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งค่าดังกล่าวนั้น สูงกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยของโลกซึ่งมีค่าประมาณ 3.2 มิลลิเมตรต่อปี สำหรับลักษณะการเปลี่ยนแปลง (pattern) ของค่าความสูงระดับน้ำทะเล ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม โดยในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน – มกราคม) จะพบค่าความสูงระดับน้ำทะเลมีค่าสูงบริเวณชายฝั่งของประเทศจีน เกาะบอร์เนียว และอ่าวไทย โดยมีค่าต่ำบริเวณทะเลลึกในทะเลจีนใต้ ส่วนช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม – สิงหาคม) จะมีลักษณะตรงกันข้ามคือ มีค่าสูงบริเวณทะเลลึกในทะเลจีนใต้ และมีค่าต่ำบริเวณชายฝั่งของประเทศจีน เกาะบอร์เนียว และอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังพบเพิ่มเติมอีกว่า ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ ENSO (El Nino-Southern Oscillation) มีผลกระทบทำให้ค่าความสูงระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ มีค่าลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เช่น ในปี พ.ศ.2540-2541 เป็นต้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของโรงเรียนนายเรือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากโรงเรียนนายเรือก่อนเท่านั้น
References
AVISO. (2014) Mean Sea Level Rise. Retrieved January 2,2014 from http:// www.aviso.oceanobs.com/en/news/ocean-indicators/mean-sea-level/
Cheng, X. and Qi, Y. (2007) Trends of sea level variations in the South China Sea from merged altimetry data. Global and Planetary Change, 57, 371-382.
Fang, G., H. Chen, Z. Wei, Y. Wang, X. Wang, and C. Li. (2006) Trends and interannual variability of the South China Sea surface winds, surface height, and surface temperature in the recent decade, J. Geophys. Res., 111, C11S16, doi:10.1029/2005JC003276.
Naeije, M., Schrama, E., Doornbos, E., and Scharroo, R. (2006). The Role of RADS in Building the 15-year Altimeter Record, Proc. Symp. “15 years of Progress in Radar Altimetry”, 13-18 March 2006, Venice, Italy, ISBN 92-9092-925-1.
Naeije, M., Scharroo,R. and Doornbos, E. (2007). Next generation altimeter service: challenges and achievements, in Envisat Symposium, Montreux, Switzerland, ESA SP-636, edited by H. Lacoste, ESA/ESTEC.
Naeije,M., Scharroo,R. Doornbos,E. and Schrama,E. (2008). GLobal Altimetry Sea-level Service: GLASS, Final Report. NIVR/DEOS publ., NUSP-2 report GO 52320 DEO, 107pp.
Neelasri, K. (1995) An investigation of mean sea level change in the upper gulf of thailand. page 25. Report to National Research Council of Thailand.
Peltier, W.R. (2004) Global Glacial Isostasy and the Surface of the Ice-Age Earth: The ICE-5G (VM2) model and GRACE. Ann. Rev. Earth. Planet. Sci. 32,111-149.
Punpuk,V. (1981) Sea level variations in Gulf of Thailand. Master’s thesis, NAVAL POSTGRADUATE SCHOOL, Monterey, California, USA.
Scharroo, R. (2008) RADS version 3.0 User manual and Format Specification. Delft University of Technology. 47 pp.
Sojisuporn, P., Morimoto, A. and Yanagi, T. (2010) Seasonal variation of sea surface current in the Gulf of Thailand. Coastal Marine Science, 34(1), 91-102
Trisirisatayawong, I., Naeije, M., Simons,W., and Fenoglio-Marc, L. (2011). Sea level change in the Gulf of Thailand from GPS-corrected tide gauge data and multi-satellite altimetry. Global and Planetary Change, 76,137–151.
Wang H.Y, L.T. Liu, H.T. Hsu, G.Y. Wang, (1999) The sea level anomalies in China and vicinity from satellite altimeter data, The Proceedings of the 20th Asian Conference on Remote Sensing (ACRS99), Hong Kong, 1999.1:319-324.