ภูมิแพ้กรุงเทพ

Main Article Content

จุฑามาศ พบสุข

บทคัดย่อ

ฝุ่น PM2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาในปัจจุบัน ในความเป็นจริงนั้น เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่ที่ปรากฏใน ปีนี้และดูเป็นเรื่องราวค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากเกิดขึ้นไวกว่าปกติ ตั้งแต่กลางเดือนมกราคม ซึ่งโดยหลักปกติจะเกิดขึ้นกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อสถานการณ์ยาวนานขึ้นจึงดูค่อนข้างรุนแรง โดยถ้าเราอยู่ในภาวะกลุ่มเสี่ยง เช่น ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรที่จะหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีค่า ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน หรือหากจำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ก็ควรหาทางดูแลรักษาตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ซึ่งในที่นี้จะยกปัจจัยในการเกิดที่เกี่ยวข้องทางด้านอุตุนิยมวิทยา เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง หรือดำเนินการหาแนวทางแก้ไขในระยะยาวต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

“ฝุ่น : เหตุใดสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก จึงพุ่งสูงขึ้นมาอีกครั้ง.” 2561.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา https://www.bbc.com/thai/thailand-46643980

“PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ กับวิกฤตสุขภาพที่คนไทยจะต้องแลก.” 2561.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/

“มาทำความเข้าใจเรื่องอากาศกันเถอะ.” 2560.[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา https://medium.com/discovery/

“นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม.”[ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา https://il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter2/chapter2_airpolution5.htm

ชาคริต โชติอมรศักดิ์, 2556. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ และปัญหาหมอกควัน. รายงานการประชุม. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบสุขภาพ จากภาวะหมอกควันและไฟป่า ปี 2556. ภาควิชาภูมิศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาพประกอบจาก https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants,https://www.rtnmet.org,

https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/151124144834740840.pdf, https://aqicn.org/city/bangkok, www.facebook.com/globebangkok