การบริหารจัดการน้ำป่าที่ท่วมขังในพื้นที่การเกษตร กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตะเภา
คำสำคัญ:
การจัดการน้ำ, การประมาณราคาก่อสร้าง, ระยะเวลาคืนทุน, Flood Water Management, Cost Estimations, Payback Periodบทคัดย่อ
บทความนี้ได้ทำการศึกษาปัญหาขององค์การบริการส่วนตำบลเกาะตะเภา ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะตะเภา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ในช่วงฤดูฝนจะเกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร 1,500 ไร่ มีปริมาณน้ำ 1,329,000 ลูกบาศ์กเมตร และในเวลาเดียวกันมีพื้นที่การเกษตร 3,000 ไร่ ยังมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ การศึกษาการบริหารจัดการน้ำป่าที่ท่วมขังในพื้นที่การเกษตร กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะตะเภาจึงทำการศึกษาวิธีการก่อสร้างทางผันน้ำ และศึกษาแนวทางการออกแบบการผันน้ำจากพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำป่าท่วมขังไปสู่พื้นที่การเกษตรที่มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ โดยทางระบบท่อ ประมาณราคาค่าลงทุน หาทางเลือกที่เหมาะสม และระยะเวลาคุ้มทุน ผลการศึกษาพบว่า ต้องใช้ท่อซีเมนต์ใยหิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.60 เมตร ราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น 23,000,000 บาท ระยะเวลาคุ้มทุน 1.70 ปี
MANAGEMENT OF FLASH FLOODING IN THE RURAL AREAS CASE STUDY: KOHTAPHAO SUB-DISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION
This paper raises the problem of Kohtaphao Sub-district Administrative Organization (SAO) located at Kohtaphao Sub-District, Amphur Bantak, Tak Province. During the rainy season, the flash flood inundated farmland, 1,500 Rai with 1,329,000 cubic meters of water. At the same time with an area of 3,000 acres of agricultural water used for agriculture is insufficient. This study of flash flooding management in the rural areas is focused how the construction of the water diversion. By using the design and the diversion of agricultural land to be flash flooding to farmland with water used for agriculture is insufficient using pipeline. The estimated capital cost is found the alternative of good solution for time and cost. The results show that require asbestos cement pipes 0.60 meter of diameter preliminary with construction cost 23 million baht and payback period 1.70 years.
Downloads
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ