การศึกษาการกระจายตัวของอุณหภูมิในฟลูอิไดซ์เบดที่ใช้อบแห้งเมล็ดข้าวโพดโดยใช้พลังงานจากฮีตปั๊ม

ผู้แต่ง

  • จิรเมธา สังข์เกษม อาจารย์, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

คำสำคัญ:

Temperature profiles, Heat pump, Fluidized bed, % Moisture content dry-basis, %Moisture content wet-basis, Moisture ratio

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้นำเสนอการกระจายตัวของอุณหภูมิในฟลูอิไดซ์เบดในแนวตั้ง  โดยใช้พลังงานจากฮีตปั๊มที่เป็นความร้อนทิ้งนำกลับมาใช้ใหม่เพื่ออบแห้งเมล็ดข้าวโพดในฟลูอิไดซ์เบด การศึกษาได้มุ่งเน้นไปที่การกระจายตัวของอุณภูมิในฟลูอิดไดซ์เบด ความร้อนทิ้งจากฮีตปั๊มสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่แต่มีอุณหภูมิที่ไม่คงที่ เนื่องจากควบคุมการทำงานของเครื่องปรับอากาศมีการตัดต่อการทำงาน การกระจายตัวของอุณหภูมิที่ใช้แหล่งพลังงานความร้อนจากฮีตปั๊มจะไม่คงที่เหมือนกับพลังงานฮีตเตอร์ที่ใช้เทอร์โมสตัทควบคุม แต่ข้อได้เปรียบของพลังงานความร้อนจากฮีตปั๊มคือเป็นพลังงานที่ได้เปล่าไม่มีต้นทุนเนื่องจากเป็นความร้อนทิ้งของเครื่องปรับอากาศ ฮีตปั๊มสามารถใช้อบแห้งเมล็ดข้าวโพดหรือเมล็ดพืชเล็กๆ ชุดทดลองประกอบด้วย 1.เครื่องปรับอากาศขนาด 18,000 Btu/hr 2. พัดลมอัดอากาศขนาด 1 แรงม้า 3.ฟลูอิดไดซ์เบด และ 4.ลิ้นปีกผีเสื้อสำหรับควบคุมความเร็วของอากาศร้อนที่ทางเข้าเบด การทดลองโดยอ้างอิงความเร็วของอากาศร้อนที่ทางเข้าเบด 7 m/s จากแหล่งพลังงานของฮีตปั๊มเพียงอย่างเดียวใช้เวลาอบแห้ง 420 นาที สำหรับจุดกักเก็บที่น้อยกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ความชื้นมาตรฐานแห้ง (% moisture content dry-basis) [1] ผลการทดลองที่ได้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด DT = 13.42 oC เกิดขึ้นที่เวลา 10 นาที และหลังจาก 60 นาที จนถึง 420 นาที ผลความแตกต่างของอุณหภุมิต่างกันน้อยมากประมาณ 1-2 oC

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)