การศึกษารูปแบบเขื่อนป้องกันตลิ่งของกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อจัดทำฐานข้อมูลในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
River Bank Dam, Department of Public Works and Town & Country Planning, River Bank Dam Data Baseบทคัดย่อ
เนื่องด้วยประเทศไทยประสบปัญหาน้ำหลากและน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ แต่ในปัจจุบันข้อมูลของเขื่อนป้องกันตลิ่งที่เป็นสาธารณะยังไม่สมบูรณ์นัก ทำให้การนำไปใช้บริหารจัดการน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้ทำการศึกษาจึงเห็นความสำคัญของการรวบรวมและศึกษารูปแบบเขื่อนป้องกันตลิ่งและโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (1) การรวบรวมรูปแบบเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ออกแบบโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองทั้งหมดทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าไว้ด้วยกัน แล้วทำการศึกษาเพื่อจัดประเภท และ (2) การรวบรวมข้อมูลโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่สร้างแล้วเสร็จในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่พร้อมนำไปใช้งานได้ทันที ผลการศึกษาสรุปได้ว่า (1) เขื่อนป้องกันตลิ่งมีทั้งสิ้น 51 รูปแบบ เมื่อนำมาพิจารณาโดยใช้ลักษณะทางกายภาพและโครงสร้างทางวิศวกรรมเป็นหลัก สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่ เขื่อนป้องกันตลิ่งแนวลาด และเขื่อนป้องกันตลิ่งแนวตั้ง อีกทั้งสามารถแบ่งย่อยเขื่อนป้องกันตลิ่งแนวลาดได้เป็น 9 ประเภท 17 รูปแบบ และเขื่อนป้องกันตลิ่งแนวตั้งแบ่งย่อยได้เป็น 11 ประเภท 34 รูปแบบ จากนั้นจัดทำรายละเอียดประกอบได้แก่ รูปตัดเขื่อน รายละเอียดของสันเขื่อน ส่วนป้องกันการกัดเซาะ และ ฐานเขื่อน และ (2) โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งมีทั้งสิ้นจำนวน 58 โครงการ ข้อมูลที่รวบรวมได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ ละติจูด ลองจิจูด ความยาวของเขื่อน ความยาวเสาเข็มที่ใช้ในโครงการ ปีที่เริ่มดำเนินการ ปีที่แล้วเสร็จ และ ชื่อรูปแบบของเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ได้จัดประเภทไว้แล้ว ข้อมูลที่รวบรวมได้ถูกนำมาสร้างฐานข้อมูลสำหรับให้หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำและผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ