การปรับปรุงการทำงานตามหลักการยศาสตร์และพัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการ เก็บเกี่ยวพริก: กรณีศึกษา เกษตรกรปลูกพริกกลุ่มหนึ่งในพื้นที่ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อภิชล กำเนิดว้ำ
ชัยณรงค์ ศรีวะบุตร
สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์
ชาตรี หอมเขียว

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันนั้นเกษตรกรยังคงมีปัญหาด้านท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์สำหรับการปรับปรุงการทำงานและพัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการเก็บเกี่ยวพริกของกลุ่มเกษตรกรผู้เก็บเกี่ยวพริกกลุ่มหนึ่งในพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรทั้งหมด จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินท่าทางของร่างกายรยางค์ส่วนบนอย่างรวดเร็ว และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์และระดับการบาดเจ็บ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างอุปกรณ์ช่วยเก็บเกี่ยวพริก ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมินท่าทางของร่างกายรยางค์ส่วนบนอย่างรวดเร็ว พบว่าอยู่ในระดับ 3 นั่นคือ ลักษณะงานเริ่มมีปัญหา ควรพิจารณาศึกษาเพิ่มเติมและรีบดำเนินการปรับปรุงโดยเร็ว ภายหลังการปรับปรุงโดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับท่าทางการทำงานที่ถูกต้องและประยุกต์ใช้อุปกรณ์ต้นแบบ ผลการประเมินท่าทางของร่างกายรยางค์ส่วนบนอย่างรวดเร็ว ลดลงจากระดับ 3 เป็นระดับ 2 หรือระดับที่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่องอาจจะจำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบใหม่ ซึ่งหลังจากพัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการเก็บเกี่ยวพริกเพื่อให้เกษตรกรทดลองใช้งาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ต้นแบบโดยรวมเท่ากับ 3.68 คะแนน หรืออยู่ในระดับพึงพอใจมาก นอกจากนี้ อุปกรณ์ช่วยเก็บเกี่ยวพริกยังสามารถลดการบาดเจ็บลงจาก 2.91 คะแนน หรือระดับความรู้สึกบาดเจ็บปานกลาง เป็น 1.53 คะแนน หรือระดับความรู้สึกบาดเจ็บน้อย ซึ่งลดลง 1.38 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 47.42

Article Details

How to Cite
[1]
กำเนิดว้ำ อ., ศรีวะบุตร ช., ระวังวงศ์ ส., และ หอมเขียว ช., “การปรับปรุงการทำงานตามหลักการยศาสตร์และพัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการ เก็บเกี่ยวพริก: กรณีศึกษา เกษตรกรปลูกพริกกลุ่มหนึ่งในพื้นที่ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 93–106, เม.ย. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

C. Pornsuriay and C. Thongrat, “Situation of chili pepper disease in southern Thailand,” Songklanakarin Journal of Plant Science, vol. 5, no. 3, pp. 101-107, Dec, 2018. (in Thai)

L. Jin, Q. Xinyan and Y. Chen, “Design and Analysis on Key Components of a Novel Chili Pepper Harvester’s Picking Device,” The Open Mechanical Engineering Journal, vol. 9, no. 1, pp. 540–545, Sep, 2015.

K. Wachirasiri and S. Taptagaporn, “Work improvement to reduce fatigue and work posture risks: a case study in assembly connectors workers,” Thai Journal of Ergonomics, vol. 1, no. 1, pp. 1-7, Jun, 2017. (in Thai)

W. Madtharak, “Working loss reduction of para rubber plantation farmers using ergonomics assessment: a case study in Manung district, Satun province area,” The Journal of Industrial Technology, vol. 14, no. 1, pp. 13-21, Apr, 2018. (in Thai)

A. Manothum and S. Arphorn, “Study of ergonomic risks of maize farmers in Lampang, Thailand,” The Journal of Industrial Technology, vol. 14, no. 3, pp. 73-81, Dec, 2018. (in Thai)

P. G. Dempsey R. W. McGorry and N. V. O’Brien, “The effects of work height, work piece orientation, gender, and screwdriver type on productivity and wrist deviation,” International Journal of Industrial Ergonomics, vol. 33, no. 4, pp. 339-346, Apr, 2004.

R. Joomjee, C. Theppitak and S. Punneng, “Ergonomics management for lifting and moving rubber sacks at Maung Ubon Ratchathani rubber marketing cooperative,” Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, vol. 10, no. 2, pp. 25-36, Dec, 2020. (in Thai)

Ergonomics in Thailand. “Ergonomics assessment.” Thai-ergonomics. Accessed: Jan. 15, 2021. [Online.] Available: http://thai-ergonomic-assessment.blogspot.com/ (in Thai)

L. McAtamney and E. N. Corlett, “RULA: a survey method for the investigation of work-related upper limb disorders,” Applied Ergonomics, vol. 24, no. 2, pp. 91-99, Apr, 1993.

Sungkhapong and K. Pochana, Ergonomics and assessment, 1st ed. SongKla, Thailand: Prince of Songkla University, 2013. (in Thai)

Y. Sermsuti-anuwat, Tool Engineering Basics: Jig, Fixture & Gauge Design, Nonthaburi, Thailand: 21Century, 2013. (in Thai)

Working Group on Ergonomics Risk Assessment Standards, Ergonomics standard on risk assessment of static working postures, Bangkok, Thailand: Thailand Institute of Occupational Safety and Health, 2021. (in Thai)