การประยุกต์ใช้กระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกเครื่องมือลีนที่เหมาะสม : กรณีศึกษาเชิงประจักษ์

Main Article Content

นิธิเดช คูหาทองสัมฤทธิ์
วาสนา จันทร์ขำ
รัชนี ภูวพัฒนะพันธุ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เลือกเครื่องมือลีนที่เหมาะสมด้วยกระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์ภายใต้องค์ประกอบในการตัดสินใจ ได้แก่ เกณฑ์การตัดสินใจจำนวน 8 ด้าน และเครื่องมือลีนทางเลือกที่แตกต่างกันจำนวน 7 เครื่องมือ องค์ประกอบในการตัดสินใจเหล่านี้มีอิทธิพลจากองค์ประกอบในการตัดสินใจอื่นภายนอกกลุ่มและได้รับผลกระทบจากองค์ประกอบในการตัดสินใจในกลุ่มเดียวกัน วิธีการที่เสนอได้ถูกประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย จากผลการศึกษาพบว่ากระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์สามารถใช้แก้ปัญหาการเลือกเครื่องมือลีนที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดลำดับเครื่องมือลีนโดยพิจารณาจากค่าน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบในการตัดสินใจในกลุ่มทางเลือกของเมทริกซ์ขีดจำกัด ผู้ตัดสินใจสามารถเปรียบเทียบองค์ประกอบในการตัดสินใจเป็นรายคู่และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์การตัดสินใจและเครื่องมือลีนได้พร้อมกัน จากการประยุกต์วิธีการที่เสนอกับบริษัทกรณีศึกษาพบว่าการควบคุมการมองเห็นมีความเหมาะสมมากที่สุดในการปรับปรุงการทำงานตามแนวคิดของลีนและสามารถเพิ่มผลิตภาพร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับผลิตภาพเดิมก่อนการปรับปรุง ในขณะที่เครื่องมือลีนประเภทอื่นมีความสำคัญลดลงมาตามค่าน้ำหนักความสำคัญจากมากไปหาน้อย ประโยชน์จากการศึกษาวิจัยนี้เป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบการในการแก้ปัญหาการเลือกเครื่องมือลีนเพื่อช่วยลดความสูญเปล่าระหว่างการทำงานและเพิ่มผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
[1]
คูหาทองสัมฤทธิ์ น., จันทร์ขำ ว., และ ภูวพัฒนะพันธุ์ ร., “การประยุกต์ใช้กระบวนการโครงข่ายเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกเครื่องมือลีนที่เหมาะสม : กรณีศึกษาเชิงประจักษ์”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 15–26, เม.ย. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

S. Vinodh, A. Thiagarajan and G. Mulanjur, “Lean concept selection using modified fuzzy TOPSIS: a case study,” International Journal of Services and Operations Management, vol. 18, no. 3, pp. 342-357, Jun. 2014.

S. Vinodh, K. R. Shivraman and S. Viswesh, “AHP‐based lean concept selection in a manufacturing organization,” Journal of Manufacturing Technology Management, vol. 23, no. 1, pp. 124–136, Dec. 2011.

S. Jing, Z. Niu and P.-C. Chang, “The application of VIKOR for the tool selection in lean management,” Journal of Intelligent Manufacturing, vol. 30, no. 8, pp. 2901–2912, Sep. 2019.

L. N. Pattanaik, T. K. Baug and C. Koteswarapavan, “A hybrid ELECTRE based prioritization of conjoint tools for lean and sustainable manufacturing,” Production Engineering, vol. 13, no. 6, pp. 665–673, Oct. 2019.

C. Bai, A. Satir, and J. Sarkis, “Investing in lean manufacturing practices: an environmental and operational perspective,” International Journal of Production Research, vol. 57, no. 4, pp. 1037–1051, Jul. 2018.

S. M. Baskaran and A. R. Lakshmanan, “A framework model for lean tools selection for improving material flow using fuzzy TOPSIS,” International Journal of Productivity and Quality Management, vol. 27, no. 4, pp. 196-228, Jun. 2019.

T. L. Saaty, “Fundamentals of the analytic network process — Dependence and feedback in decision-making with a single network,” Journal of Systems Science and Systems Engineering, vol. 13, no. 2, pp. 129–157, Apr. 2004.

Department of International Trade Promotion, “Factsheet electronic commodities.” Ministry of Commerce. Accessed: Aug. 19, 2022. [Online]. https://www.ditp.go.th/contents_attach/78

/789569.pdf (in Thai)

N. Koohathongsumrit and P. Luangpaiboon, “An integrated FAHP–ZODP approach for strategic marketing information system project selection,” Managerial and Decision Economics, vol. 43, no. 6, pp. 1792-1809, Nov. 2022.

N. Koohathongsumrit, “Optimization route selecting by multi-criteria decision making analysis,” RMUTP Research Journal, vol. 11, no. 1, pp. 137-150. Jun. 2017. (in Thai)

N. Koohathongsumrit and W. Meethom, “Route selection in multimodal transportation networks: a hybrid multiple criteria decision-making approach,” Journal of Industrial and Production Engineering, vol. 38, no. 3, pp. 171–185, Feb. 2021.

N. Koohathongsumrit and W. Chankham, “A hybrid approach of fuzzy risk assessment-based incenter of centroid and MCDM methods for multimodal transportation route selection,” Cogent Engineering, vol. 9, no. 1, Jul. 2022, doi: https://doi.org/10.1080/23311916.2022.2091672.

S. Kheybari, F. M. Rezaie and H. Farazmand, “Analytic network process: An overview of applications,” Applied Mathematics and Computation, vol. 367, p. 124780, Feb. 2020, doi: https://doi.org/10.1016/j.amc.2019.124780.