การประยุกต์ใช้ซิกส์ซิกมาเพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิตแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป: กรณีศึกษา บริษัท A
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้างเนื่องจากสามารถลดต้นทุนการผลิตและมีความสะดวกรวดเร็ว อย่างไรก็ตามสถานประกอบการประสบกับปัญหาของเสียจากกระบวนการผลิตแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียจากกระบวนการผลิตแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป โดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุปัญหา 2) การวางแผน 3) การปฏิบัติ และ 4) การประเมินผล ซึ่งในขั้นตอนการปฏิบัติผู้วิจัยได้ดำเนินการตามกระบวนของซิกส์ซิกมา ประกอบด้วย การระบุปัญหา การวัดความสามารถของกระบวนการ การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การปรับปรุง และการควบคุม โดยได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือของซิกส์ซิกมาในแต่ละขั้นตอนของกระบวนซิกส์ซิกมา ผลการการศึกษาพบว่าระดับของซิกมาก่อนการปรับปรุงอยู่ที่ 3.3 หลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป โดยการจัดทำคู่มือกระบวนการผลิตแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปให้กับพนักงาน และการอบรมพนักงานเกี่ยวกับการจัดซื้อวัสดุ ทำให้สามารถลดของเสียจากกระบวนการผลิตได้จาก 9 แผ่น เหลือ 7 แผ่น ต่อการผลิต 36 แผ่น คิดเป็นร้อยละ 22.22 ทำให้ระดับซิกมาหลังการปรับปรุงอยู่ที่ระดับ 3.5 ผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ซิกส์ซิกมาซึ่งเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพสามารถลดของเสียจากกระบวนการผลิตได้ งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารโรงงานหรือหัวหน้าฝ่ายการผลิตที่ต้องการลดข้อบกพร่องจากกระบวนการผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปและลดต้นทุนการผลิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
T. Mahattanalai, “Industry Outlook 2021-2023: Construction Contractor.” Krungsri Research. Accessed: Aug. 21, 2022. [Online]. Available: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Contractors/IO/io-Construction-Contractors-21 (in Thai)
J. Antony. “Six Sigma vs Lean: Some perspectives from leading academics and practitioners,” Internatinal Jornal of Productivity and Performance Management, vol. 60, no.2, pp. 185–190, Jan. 2011.
P. Tanasanskulwong and U. Purintrapiban, “Application of Lean Six Sigma in wine glass manufacturing industry,” TNI Journal of Engineering and Technology, vol. 7, no. 1, pp. 22-31, Jun. 2019. (in Thai)
F. Ullah, M. J. Thaheem, S. Q. Siddiqui and M. B. Khurshid, “Influence of Six Sigma on project success in construction industry of Pakistan,” The TQM Journal, vol. 29, no. 2, pp. 276-309, Mar. 2017.
H. U. Rehman, M. Asif, M. A. Saeed, M. A. Akbar and M. U. Awan, “Application of Six Sigma at cell site construction: a case study,” Asian Journal on Quality, vol. 13, no. 3, pp. 212–233, Nov. 2012.
K. Urwongse, “Focus group discussion: effective qualitative data collection technique,” STOU Education Journal, vol. 12, no. 1, pp. 17-30. Jul. 2019. (in Thai)
J. Collis and R. Hussey, Business Research : a Practical Guide for Undergraduate & Postgraduate Students, 4th ed. Basingstoke, United Kingdom: Palgrave Macmillan, 2014.
L. Marakanon, J. Pilaket, N. Sakkongka and A. Ratana, “Waste reduction for precast concrete manufacturing process by using DMAIC technique,” Journal of Industrial Technology. vol. 14, no. 1, pp. 53-59. Jun. 2019. (in Thai)
W. Innupat, “Improvement of flocking process for automotive window frame rubber manufacturers based on Six Sigma principle,” M.S. independent study, Department of Business Engineering Management, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani, Thailand, 2017. (in Thai)