การพัฒนาสื่อสามมิติโดยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในเชิงพุทธศาสนาและพุทธสถาน ของจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ชาญชัย นามพล
วีรวัตร คำภู
สุทิพย์ เป้งทอง

บทคัดย่อ

        การวิจัยการพัฒนาสื่อสามมิติโดยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในเชิงพุทธศาสนาและพุทธสถานของจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อการพัฒนาสื่อสามมิติโดยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในเชิงพุทธศาสนาและพุทธสถานของจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีต่อสื่อสามมิติที่ได้พัฒนาขึ้น 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพความเหมาะสมของสื่อสามมิติโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแบ่งแบบประเมินออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำงานตามฟังก์ชัน ด้านประสิทธิภาพการทำงาน ด้านการใช้งาน จากผลการประเมินประสิทธิภาพความเหมาะสมของสื่อสามมิติโดยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเสริมจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากทุกด้าน (gif.latex?\bar{x}  = 4.38, S.D. = 0.78) และผลการประเมินความพึงพอใจของประชากรกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 100 คน พบว่า มีความพึงพอใจในการใช้งานสื่อสามมิติเทคโนโลยีเสมือนจริงเสริม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}  = 4.34, S.D. = 0.82) จากผลการสำรวจในการใช้งานสื่อสามมิติ พบว่าเนื้อหามีการเล่าถึงประวัติศาสตร์ เนื้อหามีความสอดคล้องกับพุทธสถาน เนื้อหาที่ใช้ในชิ้นงานมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
[1]
นามพล ช., คำภู ว., และ เป้งทอง ส., “การพัฒนาสื่อสามมิติโดยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในเชิงพุทธศาสนาและพุทธสถาน ของจังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 123–134, ก.ย. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Tourism & Sports. Tourism Statistics [Internet]. 2020[cited 2020 August 8]. Available from: http://www.mots.go.th (in Thai).

Tansiri P. Virtual worlds merge real worlds Augmented Reality. Executive Journal. (Online).

University Bangkok. 2010; 30(2): 169-73. (in Thai)

Sricharoen J, Siharad D, Sukparsert A. The Tourism Promotion Application of 8 attractions that need to go to in Phetchabun province with the Augmented Reality Technology. Journal of Project in Computer Science and Information Technology, 2019; 5(1): 84-94. (in Thai)

Khamblown A, Chalermsuk C, Chaomsombut K. Development of Thailand Tourism Application Using Virtual Reality Technology. The 2nd National Conference UTCC Academic Day; 8 June 2018; University of the Thai Chamber of Commerce. Bangkok. 2018. p. 1873-85. (in Thai)

Wiriya S, Sukpradit A, and Thongkongyu R. The Development Augmented Reality Cultural Tourism in Nakhon Sawan Province. The 4th Kamphaeng Phet Rajabhat Univercity National Confernce; 22 December 2017; Kamphaeng Phet Rajabhat Univercity. Kamphaeng Phet. 2017. p. 1253-60. (in Thai)

Pattaragosol D. A Development of Virtual Reality Learning on Computer Network with

-degree Panoramic Photos Technology: A Case Study of MahaSarakham University Learning Center Database Website. Journal of Technology Management Rajabhat MahaSarakham University, 2016; 3(1), 53-8. (in Thai)

Kourouthanassis P, Boletsis C, Bardaki C, Chasanidou D. Tourists Responses to Mobile Augmented Reality Travel Guides: The Role of Emotions on Adoption Behavior. Pervasive and Mobile Computing. 2015; 18: 71-87.