ออกแบบพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปประเภทเครื่องประดับจากต้นไหล สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนแนวใหม่ ในมิติองค์ความรู้เชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน กลุ่มหนองบัวฮี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กนกวรรณ สุภักดี
นริศรา สารีบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มของต้นไหลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องประดับรูปแบบต่าง ๆ เพื่อออกแบบพัฒนาสร้างต้นแบบประเภทเครื่องประดับจากต้นไหล ในมิติองค์ความรู้เชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สู่การเสนอแนวทางในการสร้างสรรค์ด้านเทคนิคการใช้เส้นไหลที่มีการแบ่งเส้นให้ละเอียดและเล็กสามารถแปรรูปได้จำนวนมากขึ้น โดยนำเทคนิคการย้อมสีเดียวตามความนิยมของเทรนสี ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนแนวใหม่ให้กับชุมชนอย่างเหมาะสม และเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อต้นแบบเครื่องประดับจากวัสดุไหลให้สามารถแข่งขันในตลาด โดยค่าความเชื่อมั่นของทั้งฉบับเท่ากับ .80 จากการวิจัย พบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 – 25 ปี อาชีพอิสระ มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แบบที่ 6, 8 และ 9 โดยแบบที่ 6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ รูปทรงและสัดส่วน แบบที่ 8 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ลวดลาย และแบบที่ 9 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การเพิ่มมูลค่าให้กับไหลและเมื่อประเมินด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ต้นแบบและความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์จากไหล อยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.23 ค่าเบี่ยงเบน 0.09 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์โดยรวมมีความสวยงามเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้พบเห็น ซึ่งที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 4.50 ค่าเบี่ยงเบน 0.76 สรุปได้ว่า กลุ่มหมู่บ้านนี้มีความละเอียดในการขึ้นรูปไหลด้วยมือแบบดั้งเดิม เป็นกลุ่มที่ยังยึดพื้นฐานภูมิปัญญา มีการสร้างสรรค์ลวดลายเทคนิคการให้จังหวะสีของการถักลาย การจับสี การวางสีมากขึ้น รูปแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้สร้างสรรค์รูปแบบ
ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 3 ชุด 9 แบบ ประกอบด้วย สร้อยคอ สร้อยข้อมือ และต่างหู

Article Details

How to Cite
[1]
สุภักดี ก. และ สารีบุตร น., “ออกแบบพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปประเภทเครื่องประดับจากต้นไหล สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนแนวใหม่ ในมิติองค์ความรู้เชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน กลุ่มหนองบัวฮี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 13, ฉบับที่ 1, น. 69–81, พ.ค. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

Thachinlerd J. and Singhachai D. Development of an Equipment for Reed Stem Aplitting for Weaving Mats. [Thesis]. Khon Kaen University. 2009. (in Thai)

Hand - Woven Reed Mats [Internet]. 2015[cited 2020 April7]; available from: http://wadeebasketwork. blogspot.com/2015/02/blog-post_26 (in Thai)

Tungcharoen W. Jewelry art. Bangkok: Visual art. 1983. (in Thai)

Tana P. Industrial Design 1. Surindra: Surindra Rajabhat University, 2019. (in Thai)

Pocmontri A.and Somjai S. Value Added, Competitive Development, Product Development and Philosophy of Sufficiency Economy for Sustainable Marketing of Premium OTOP Hyacinth. Journal of Academic Journal Bangkokthonburi University. 2018; 7(2): 68–80. (in Thai)

Koomsalud S. Sudharatna Y. and Apibunyopas P. The Study of New Product Development Process of OTOP in OVOP Principle. Journal of Panyapiwat Journal. 2017, 9(3): 16–28. (in Thai)