การเสริมสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร 2) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์วิทยาลัยครู
ปากเซ 3) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านวิชาการและวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเรื่องการพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศวิทยาลัยครูปากเซ และแบบสอบถามความคิดเห็นเรื่องการพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศวิทยาลัยครูปากเซ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ( = 3.85, S.D. = 1.20) 2) ผลการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับความสามารถตนเอง ในการพัฒนาความสามารถด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก ( = 2.50, S.D. = 0.54) และ 3) ผลการเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านวิชาการและวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับความสามารถตนเอง ในการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานวิชาการและวิจัยอยู่ในระดับมาก ( = 2.80, S.D. = 0.37)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Strategies and Educational Quality Assurance Department. The Strategies of Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University; 2017. (in Thai)
Sinlapasakkhajorn N. and Unaromlert T. The Study of Issues and Obstacles Facing the Use of Media and Technology for Education in Primary School the Province Nakorn Pathom. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2015; 8(2): 628-38. (in Thai)
Harinvon U., Phunlapthawee K., Wiriyanom T., Chanyawudhiwan G. The Competency in Education Information Technology for Teacher. Journal of Education, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. 2014; 15(2): 147-56. (in Thai)
Srimungkla S.Wongchachom C.and Romyen L.Competency the Use of Information and Communications Technology Infrastructure of Teachers under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3. Sakhon Nakhon Graduate Studies Journal. 2018; 15(70): 189-97. (in Thai)
Kongchawan S. Development of Personal Potential on Use of Information Technology System in Khuan Sri Sub-District Administrative Organization, Ban Na San District, Surat Thani Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2013; 6(3): 228-47. (in Thai)
Rungrumphan C. and Niyomrat R. Guidelines for the Development of Information and Communication Technology Usage of Personnel in Office of Large Scale Water Resources Development of Royal Irrigation Department. The 6th International Conference of Suan Sunandha Rajabhat University, Bangkok, Thailand "Moving towards World Class Research"; 2015 April 28-30; Suan Sunandha Rajabhat University. Bangkok: 2015. p. 188-99. (in Thai)
Akakul T. Research methodology in behavioral and social science. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat Institute; 2006. (in Thai)
Srisa-ard B. Basic Research. Bangkok: Suweeriyasarn; 2011. (in Thai)
Nilkeaw B. Educational Research. Chiangmai: Faculty of Education: Chiangmai University; 1998. (in Thai)
Cronbach L.J. Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper & Row; 1990.