การลดของเสียในกระบวนการผลิตมอเตอร์ด้วยการออกแบบอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน กรณีศึกษา สายการประกอบมอเตอร์

Main Article Content

สมชาย เปรียงพรม
ศุภกร เจริญประสิทธิ์
ธนกฤต บูชาพันธ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนผลิตมอเตอร์ บริษัท กรณีศึกษา จากการศึกษาข้อมูลในกระบวนการผลิต พบว่ามีของเสียที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากขั้นตอนการประกอบ ซึ่งส่วนใหญ่ลักษณะของเสียสามารถแบ่งออกได้เป็น 1) เสียงลูกปืนดัง 2) เสียงน๊อตเสียดสีสเตเตอร์ 3) เสียงดังหลวม และ 4) ไม่หมุน เป็นต้น 
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการผลิตและปริมาณของเสียตามลักษณะอาการดังกล่าวข้างต้นพบว่าของเสียที่เกิดจากกรณีเสียงลูกปืนดังมีสัดส่วนมากที่สุด จากนั้นทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยแผนผังแสดงเหตุและผลรวม ถึงการระดมสมองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องพบว่า ต้นเหตุของปัญหาเกิดขึ้นในขั้นตอนการประกอบลูกปืนเข้ากับฝาหน้า
ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1) มีสาเหตุมาจากอุปกรณ์จับยึดที่มีอายุการใช้งานนาน และ 2) รูปร่างของอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานไม่เหมาะกับลักษณะการล๊อคตำแหน่งฝาหน้าให้อยู่ในแนวการประกอบในขณะประกอบ
ลูกปืนเข้ากับฝาหน้า ดังนั้นเพื่อหาแนวทางการลดของเสียและแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาดังนี้ 1) การออกแบบอุปกรณ์จับยึดฝาหน้าแบบใหม่ และ 2) เพิ่มเติมอุปกรณ์สนับสนุนการประกอบในขั้นตอนการประกอบลูกปืน เพื่อให้การประกอบลูกปืนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลังจากออกแบบอุปกรณ์และการดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์จับยึดฝาหน้าแบบใหม่ รวมถึงการใช้อุปกรณ์สนับสนุนช่วยในขั้นตอนการประกอบลูกปืนดังกล่าวข้างต้น ผลการทดลองพบว่า อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถช่วยลดปริมาณของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตในขั้นตอนการประกอบมอเตอร์ กรณีเสียงลูกปืนดังเฉลี่ยลดลง 51.30 เปอร์เซ็นต์

Article Details

How to Cite
[1]
เปรียงพรม ส., เจริญประสิทธิ์ ศ. . ., และ บูชาพันธ์ ธ., “การลดของเสียในกระบวนการผลิตมอเตอร์ด้วยการออกแบบอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน กรณีศึกษา สายการประกอบมอเตอร์”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 12, ฉบับที่ 1, น. 15–28, พ.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Chuaruen C, Sangdow R, Punyadee A, Tawinwongsuriya V, Surin P. Waste Reduction in Injection Process. The 2nd Conference on Innovation Engineering and Technology for Economy and Society; 2018 November 16; Bangkok: Kasem Bundit University Romklao Campus. p. 120-5. (in Thai)

Rayanasuk R, Yuangyai C. Process Improvement in Electronics Part Assembly. IE Network Conference 2012; 2012 October 17-19; Petchaburi: The Cha-Am Methavalai Hotel. p. 685-92. (in Thai)

Chitnarin N, Yachiangkam S, Khamnan U, Nam-in A. Efficiency Enhancement of Standard Three-Phase Squirrel Cage Induction Motor by Stator Winding Modifications. Electrical Engineering Network Journal (EENET Journal). 2017; 1(2): 41-9. (in Thai)

Mekboon S, Plongmai J. Defects Reduction in Metal Part Production Process. Kasem Bundit Engineering Journal. 2016; 6(1): 91-106. (in Thai)

Mekboon S, Plongmai J. Defects Reduction in Polymer Solid Capacitor Production Process. Kasem Bundit Engineering Journal. 2017; 7(1): 105-123. (in Thai)

Ployphanitchareon K. Quality Control Principle. 3rd Edition. Bangkok: Technology Promotion Association (Thailand-Japan) Publisher, 2008 (in Thai).

Paythaisong W. Defect Reduction in Gear of Watch Milling Process [Project Report]. Bangkok; Kasem Bundit University; 2013. (in Thai)

Sunarak T, Chotibhawaris T. Reduction of Large Die-cut Corrugated Box Production Time by Gluing Machine Design: Case Study of Packaging Production Company. Engineering Journal of Siam University. 2018; 19(2): 1-13. (in Thai)