การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 8 เมกะวัตต์ ระหว่างวิธีการจัดเรียงกับไม่จัดเรียงแผงเซลล์แสงอาทิตย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561 ที่ให้มีการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มอีกกว่า 56,431 เมกะวัตต์ มีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ภาคประชาชนปีละ 100 เมกะวัตต์ เป็นเวลา 10 ปี การออกแบบระบบโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุกระบบ จะมีการสูญเสียในระบบการผลิตไฟฟ้าเกิดขึ้น ทั้งแบบที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ การจัดเรียงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ถือเป็นการลดการสูญเสียในระบบผลิตไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ออกแบบระบบสามารถควบคุมได้ งานวิจัยนี้ ใช้ข้อมูลโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 8 เมกะวัตต์วิเคราะห์ข้อมูลความต่างศักย์ไฟฟ้าของแผงจากผู้ผลิตที่ทดสอบก่อนส่งลูกค้าทั้งโครงการ จำนวน 30,800 แผง การจัดเรียงแผงที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้าใกล้เคียงกันอยู่ด้วยกัน ทำให้ระบบการผลิตไฟฟ้าดีกว่าแบบไม่จัดเรียงแผง หากไม่จัดเรียงแผงเซลล์ ความแตกต่างค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของแผงทั้งโครงการ เท่ากับ 2.22 โวลต์ และ 0.66 แอมป์ ส่งผลให้สตริงแต่ละวงต่างกันมาก ทำให้เกิดการสูญเสียในระบบผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1.28% การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งสองแบบ พิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่อัตราคิดลด 3% พบว่า ทั้งสองแบบมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่เป็นบวก แสดงว่ามีความคุ้มค่าที่จะลงทุน และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน กับอัตราผลตอบแทนภายใน พบว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบมีการจัดเรียงแผง มีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่าแบบไม่จัดเรียงแผง มีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.13 และ 1.06 อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับ 3.86% และ 3.38% ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ความอ่อนไหวทั้งกรณีต้นทุน การลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าแบบมีการจัดเรียงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังคงมีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Energy Policy and Planning Office. Ministry of Energy. Power Development Plan 2018-2037. [Internet]. No date [cites 2019 May 16] available from: https://www.eppo.go.th/images/Infromation_ service/public_relations/PDP2018/PDP2018.pdf (in Thai)
Sakchaiwattana Sutont, Somthawin Khunkhet, Kamon Jirasereeamornkul, Wanchak Lenwari, Sermsuk Buochareon and Yingrak Auttawaitkul. Comparison of 1 MW Solar Power Plants with "Arranging Solar Panels "and "Without Arranging Solar Panels". The 6th International Conference on Sustainable Energy and Green Architecture. 2017 August 30-31; Bangkok. Thailand. Kasertsart University; 2017. 69-73.
Yusufoglu U. A., Min B., Pletzer T. M., van Mölken J. I. and Kurz H. Simulation and analysis of PV module performance by innovative sorting methods. Energy Procedia. 2012; 27: 685 – 90.
Massi P. A, Tessarolo A, Barbini N, Mellit A, and Lughi V. The effect of manufacturing mismatch on energy production for large-scale photovoltaic plants. Solar Energy. 2015; 117: 282–9.
Kaushika N.D. and Anil K. R. An investigation of mismatch losses in solar photovoltaic cell networks. Energy. 2007; 32: 755–9.
Webber J. and Riley E. Mismatch Loss Reduction in Photovoltaic Arrays as a Result of Sorting Photovoltaic Modules by Max-Power Parameters. ISRN Renewable Energy. 2013; Volume 2013(9).
Thongsukowong A. Investment decisions. [Internet]. No date [cites 2019 May 16] available from: https://home.kku.ac.th/anuton/3526301/Doc_04.pdf (in Thai)
Ardalan A. Economic and Financial Analysis for Engineering and Project Management. Boca Raton: CRC Press; 2000.
Polchoosakolwong Y, Rukkan S, Seehomchai P and Jindawattana A. Feasibility study of solar power plant construction case study: Kudrang District, Maha Sarakham Province. Kasem Bundit Engineering. 2014; 1 (January-June): 41-57. (in Thai)