การทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับน้ำมันไบโอดีเซลถั่วดาวอินคา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการศึกษาที่ผ่านมา ถั่วดาวอินคามักถูกนำมาพัฒนาประโยชน์ทางโภชนาการเป็นหลัก สำหรับงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดเมล็ดถั่วดาวอินคาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซลใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล และเปรียบเทียบสมรรถนะเครื่องยนต์ระหว่างการใช้น้ำมันไบโอดีเซลถั่วดาวอินคากับน้ำมันดีเซลการวิจัยดำเนินการสกัดน้ำมันจากเมล็ดถั่วดาวอินคาผ่านกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นแล้วนำไปผสมกับน้ำมันดีเซลเป็นน้ำมันไบโอดีเซลในสัดส่วน 5:95, 20:80 และ 50:50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทดสอบสมรรถนะและวิเคราะห์ผลการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ผลการวิจัย พบว่าที่สัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลถั่วดาวอินคาต่อน้ำมันดีเซล 50:50 เปอร์เซ็นต์ ได้กำลังเครื่องยนต์เฉลี่ย 101.90 แรงม้าได้กำลังที่ล้อเฉลี่ย 82.60 แรงม้าและกำลังสูญเสียที่เกิดจากการต้านทานเฉลี่ย 18.20 แรงม้าที่แรงบิด 266.50 นิวตัน - เมตร ความเร็วรอบเครื่องยนต์ 2,045 รอบต่อนาทีจากผลการทดสอบเครื่องยนต์ดีเซลนี้ พบว่าเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซลถั่วดาวอินคามีสมรรถนะสูงกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 4.25, 7.41 และ 11.12 และผลการวิเคราะห์การเผาไหม้โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การระบายมลพิษในยานพาหนะใหม่เครื่องยนต์ดีเซลมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.2155 - 2546) พบว่า มีการเผาไหม้สมบูรณ์สามารถวัดค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ 0.64, 0.62 และ 0.55 กรัมต่อกิโลเมตร สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานกำหนด 0.64 - 0.95 กรัมต่อกิโลเมตร ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Ajiwe,v. I. E. Obika, A. E.(2000). African pear seed oil: potential alternative source todiesel oil. Energy & Fuel; p. 112-6
Bunyakiat K. Biodiesel, a new alternative energy for diesel engines.Sciencejournal. 2012; 3: p. 148 - 52. (in Thai)
Chaiburi CH.and Singin W. Biodiesel Production From Palm Oil Using SrO and KF/SrO Catalyst. Thaksin University Journal, Vol.15 (1),2555; p. 140-8. (in Thai)
Yang , Z. and Xie,W., (2007), “Soybean oil transesteri fication over zinc oxinc oxide modified with alkali earth metals” Fuel Process. Techrol; p. 631-8.
Kandpal, J.B.and M. Madn. (1994). “Jatropha curcas: a renewable source of energy forneting Futune energy needs” Technical Note; p 159-60
Phongrasami U. Analysis of the calorific value of fuels. Teaching PhetchaburiRajabhat University.
(in Thai)
Wongchai W. Biodiesel production from Ma - Ye Hin Oil and the effect of biodiesel fuel onengineperformance and exhaust gas. King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok Journal. 27. 2017; 4: p. 667- 80. (in Thai)
The Bureau of Fuel Quality Standards Department of Energy Business Ministry of Energy [Internet]. 2017 [cited 2018 May 1] available from: http://www.doeb.go.th/kmv2/report/ biodiesel1.pdf (in Thai)