การพัฒนาเครื่องหีบเมล็ดฝ้าย

Main Article Content

อรอุมา เนียมหอม
คณาธิศ เนียมหอม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาการทำงานของเครื่องหีบเมล็ดฝ้าย 2) เพื่อสร้างเครื่องหีบเมล็ดฝ้ายโดยใช้ระบบมอเตอร์ควบคุมการทำงาน และ 3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหีบเมล็ดฝ้ายให้ได้ปริมาณที่มากขึ้น และพอต่อความต้องการของตลาด ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน และยังช่วยเพิ่มปริมาณในการแปรรูปวัตถุดิบจากฝ้ายซึ่งโครงสร้างของเครื่องหีบเมล็ดฝ้าย ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 1/4 แรงม้า 220 โวลต์ จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้สายพานทำงาน และหมุนแกนใบเลื่อย ตัวเครื่องหีบเมล็ดฝ้ายมีน้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัม ประกอบด้วยโครงสร้างของแสตนเลส และอะคริลิคกล่องควบคุมและปุ่มสวิตซ์สำหรับเปิด/ปิด การทำงานเครื่องหีบเมล็ดฝ้าย การทำงานจะใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อนสายพานให้ทำงานขับใบเลื่อยให้ทำงาน พร้อมกับแปรงในการดีดฝ้ายให้ฟู ปุยฝ้ายที่ถูกหีบเมล็ดจะถูกแปรงปั่นมาอีกด้านของเครื่องในช่องเก็บปุยฝ้าย และเมล็ดฝ้ายจะถูกคัดแยกจะตกลงมาอีกช่องด้านหลังตัวเครื่อง จากการทดลองเครื่องหีบเมล็ดฝ้ายแบบดั้งเดิมที่ใช้วิธีการหีบเครื่องแบบลูกกลิ้งพบว่ามีค่าเฉลี่ยรวมใน 1 นาที จะได้ปุยฝ้าย 12.36 กรัม และเมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถในการทำงานใน 1 ชั่วโมง จะได้ปุยฝ้าย 0.74 กิโลกรัม กับการทดสอบการหีบฝ้ายด้วยเครื่องหีบเมล็ดฝ้าย ค่าเฉลี่ยรวมใน 1 นาที จะได้ปุยฝ้าย 324 กรัม และความสามารถในการทำงานใน 1 ชั่วโมง จะได้ปุยฝ้าย 3.89 กิโลกรัม ซึ่งมีปริมาณปุยฝ้ายมากกว่าการใช้เครื่องหีบเมล็ดฝ้ายด้วยมือหมุนอยู่ 3.56 กิโลกรัม

Article Details

How to Cite
[1]
เนียมหอม อ. . . และ เนียมหอม ค., “การพัฒนาเครื่องหีบเมล็ดฝ้าย”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 11, ฉบับที่ 1, น. 41–54, มิ.ย. 2021.
บท
บทความวิจัย

References

Thai Encyclopedia for Youth No.3. Cotton. [Online]. Can be accessed from http://kanchanapisek.or.th;1977. (in Thai)

Sithinopphan P. Design and Develop Cotton Craft Hand Made (Mudmee) With Natural Color with Coconut Crust. Paper Report of Rajamangala University of Technology Krungthep; 2012. (in Thai)

Booklet Cotton Silk. Form Cotton to be Fiber Create Fiber Cotton. Museum of Fabric Naresuan University. Year 1 Issue 6 August-September; 2008. (in Thai)

Panruthai Phuthongsri. Local Thai Wisdom Integration and Laos for Dye Fabric Process Color of Black galingale. Loei Rajabhat University; 2011. (in Thai)

Wuttipol Jhansraku and group. Research and Develop Cotton Seed Casing and Clean Cotton Fiber. Department of Agriculture; 2017. (in Thai)