การพัฒนาระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบร่วมกับ ระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า

Main Article Content

ธานินทร์ รัชโพธิ์
มาวิน ปูนอน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบร่วมกับระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ศึกษาการประหยัดพลังงานและวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้ผลการวิจัยดังนี้ 1) การออกแบบและสร้างระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบร่วมกับระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าได้ออกแบบให้ตัวเก็บรังสีอาทิตย์มีพื้นที่ 1.5 ตารางเมตร ท่อผลิตน้ำร้อนทำจากท่อทองแดง พื้นผิวตัวเก็บรังสีอาทิตย์ทาสีดำด้าน หุ้มด้วยแผ่นสะท้อนความร้อนและฉนวนกันความร้อน ด้านบนปิดด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนต ตัวเก็บรังสีอาทิตย์เอียงทำมุม 15 องศากับแนวราบหันไปทางทิศใต้ ถังเก็บน้ำร้อนมีขนาด    200 ลิตร หุ้มด้วยแผ่นสะท้อนความร้อนและฉนวนกันความร้อน การหมุนเวียนน้ำจะใช้ปั๊มน้ำไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลต์ และระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าได้ใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ซึ่งหม้อผลิตน้ำร้อนของระบบนี้ทำจากสแตนเลส 2) การศึกษาการประหยัดพลังงานของระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบร่วมกับระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า พบว่า ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบร่วมกับระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้พลังงานไฟฟ้า 1.39 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และใช้เวลาในการผลิตน้ำร้อน 2.40 ชั่วโมง และเมื่อเปรียบเทียบกับระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า 2.17 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และลดระยะเวลาในการผลิตน้ำร้อน 50 นาที สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ระบบมีระยะเวลาคืนทุน 5.9 ปี และสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย 2,387 บาท/ปี

Article Details

How to Cite
[1]
รัชโพธิ์ ธ. และ ปูนอน ม., “การพัฒนาระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบร่วมกับ ระบบผลิตน้ำร้อนแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 73–84, ก.ย. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Department of alternative energy development and efficiency, Ministry of Energy. Developing and investment guide to renewable energy series 2 solar energy [Internet]. 2016 [cited 2016 January 4]. available from : http://www.dede.go.th/article_attach/h_solar.pdf (in Thai)
[2] Sampathkumar K, Arjunan T.V, Pitchandi P, Senthilkumar P. Active solar distillation A detailed review. Renewable and Sustainable Energy Reviews. 2010; 14(6): 1503-1526.
[3] Thirugnanasambandam M, Iniyan S, Goic R. A review of solar thermal Technologies. Renewable and Sustainable Energy Reviews. 2010; 14(1): 312-322.
[4] Sriwichai J, Srisuwan K. Development of electrical-solar hot shower. Pathumwan Academic Journal. 2014; 4(10): 11-25. (in Thai)
[5] Nihar P. Bara. Finite element analysis of induction furnace for optimum heat transfer.
International Journal of Innovative Research in Science, Engineering and Technology. 2013; 2(5) : 1313-1319.
[6] Halil Murat Unver. A new induction water heating system design for domestic heating. Energy Education Science and Technology Part A: Energy Science and Research. 2012; 29(2): 1133-1138.