การพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลมันสำปะหลังโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พัฒนา ศรีชาลี
อรอุมา เนียมหอม
อัจฉริยา เหล่าศิริ
ปิยภัทร โกษาพันธุ์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมันสำปะหลังเป็นสินค้าทางการเกษตรที่มีการส่งออกเป็นอันดับสองรองมาจากข้าว ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวน แต่ในการปลูกของเกษตรกรนั้นเกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านผลผลิต แมลงศัตรูพืช และราคาที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้นนักวิจัยจึงได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลมันสำปะหลังโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีกลุ่มตัวอย่างกรณีศึกษาเขต จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 3 อำเภอ ซึ่งประกอบไปด้วย อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอสิรินธร และอำเภอโขงเจียม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของเกษตรกรผู้เป็นสมาชิกเพื่อใช้ในการแสดงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์พร้อมทั้งคำนวณพื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตทั้งหมดที่เกษตรกรปลูกในระยะเวลาต่าง ๆ แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้ออกมาแสดงเป็นสถิติของกลุ่มเกษตรกร จากผลการวิจัยพบว่ามีผลความพึงพอใจจากการประเมินของผู้ดูแลระบบในระดับ
ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย = 3.41 และค่า S.D = 0.80 ผลความพึงพอใจจากการประเมินของกลุ่มผู้ใช้งาน (เจ้าหน้าที่)
มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 3.79 และค่า S.D = 0.86 และผลความพึงพอใจจากการประเมินของกลุ่มผู้ใช้งานเกษตรกร (สมาชิก) มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 3.66 และค่า S.D = 0.83

Article Details

How to Cite
[1]
ศรีชาลี พ., เนียมหอม อ., เหล่าศิริ อ., และ โกษาพันธุ์ ป., “การพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลมันสำปะหลังโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 9, ฉบับที่ 1, น. 147–158, เม.ย. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Maneenate S. and Chaichan K.. Economic analysis of production and marketing of Cassava in Nakonratchasima to support the implementation of Asean Economic Community (AEC). Economics Program Faculty of Management Science Nakhon Ratchasima Rajabhat University. 2015. (in Thai)
[2] National Economic and Social Development Plan No.12 (2017-2021). Office of the National Economic and Social Development Board. 2016.
[3] Suparhan D. Botany and genetics of cassava. Crop Research Paper: Rayong Crop Research Center. Department of Agriculture. 1994. (in Thai)
[4] Chao Z, Xiaodong Z, Jianyu Y, Haixia L, Dehai Z, Wanbin Z. Evaluation of cassava planting potential with remote sensing and GIS. New Zealand Journal of Agricultural Research. 2007 Dec 1; 50(5): 1135-40.
[5] Sukhatme, P. V. (1957). Sampling theory of surveys with applications. The Indian Society Of Agricultural Statistics; New Delhi. (in Thai)
[6] Ferguson, G. A. (1959). Statistical analysis in psychology and education.
[7] Sokal RR, Rohlf FJ. The principles and practice of statistics in biological research. San Francisco: WH Freeman and company; 1969.