การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงอากาศยาน

Main Article Content

สุรเดช นิลคุณ
บุญประจักษ์ จรูญ
บดินทร์ แก้วบ้านดอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการการซ่อมบำรุงอากาศยาน 2) สร้างต้นแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงอากาศยาน (DSSACM Model) 3) ศึกษาประสิทธิภาพและเปรียบเทียบเชิงการยอมรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สร้างขึ้น และ 4) สร้างโปรแกรมและทดสอบการยอมรับโปรแกรมจากผู้ใช้โดยทำการสำรวจจากกลุ่มประชากร 1,133 คน และสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากรได้ 294 คน นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนแรกมาสร้างเป็นต้นแบบระบบ แล้วจึงนำต้นแบบที่สร้างขึ้นมาทดลองใช้กับอากาศยานที่ 4 จากนั้นจึงนำข้อมูลจากการทดลองมาสร้างเป็นโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการจัดการการซ่อมบำรุงอากาศยานด้านประสิทธิภาพ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีความเหมาะสมมากที่สุด 2) ต้นแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงอากาศยาน ประกอบด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์ของแผนการซ่อมบำรุงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการเครื่องมือ พัสดุ อุปกรณ์ และการควบคุมคุณภาพ 3) ประสิทธิภาพต้นแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงอากาศยาน พบว่า มีจำนวนวันส่งมอบพื้นที่งานล่าช้าลดลงร้อยละ 100 มีจำนวนวันรอคอยลดลงร้อยละ 91.71 และใช้เวลาในการแก้ไขข้อบกพร่องหลังการทดสอบลดลงร้อยละ 86.91 และ 4) โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงอากาศยาน (DSSACM Program) เป็นที่ยอมรับจากผู้ทดลองใช้ ร้อยละ 83.33 

Article Details

How to Cite
[1]
นิลคุณ ส., จรูญ บ., และ แก้วบ้านดอน บ., “การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงอากาศยาน”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 2, น. 117–126, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Sangounsirikul, K. Operations reduction guidelines in state enterprise of mass transit and transportation. [Dissertation]. Bangkok. Chulalongkorn University; 2007. (in Thai).
[2] Kaewbandon, B. Aircraft Maintenance Report of Year 2 0 1 1 . Bangkok; Thai Airway public company limited; 2011, pp 30-35. (in Thai).
[3] Kaewbandon, B. Aircraft Maintenance Report of Year 2014. Bangkok; Thai Airway public company limited; 2014, pp 26-27. (in Thai).
[4] Krejcie & Morgan. Determining sample size for reseach activities. Education and psychological measurement; 1970.
[5] Preechapanich, O. Systems design and analysis. Bangkok: IDC premier Co.,Ltd.; 2014. pp 42-44. (in Thai).
[6] Laearddee, D. Synchronization between preventive maintenance planning and uncertain production planning : case study of power supply factory. [Dissertation]. Bangkok. Chulalongkorn University; 2006. (in Thai).
[7] Atak A, Kingma s. Safety Culture in an Aircraft Maintenance Organisation: A View from the Inside. [Internet]. 2011 [cited 2017 April 01]. Available from : https://www.sciencedirect.com /science/article/pii/S0925753510002201
[8] Li Jun. Reliability Analysis of Aircraft Equipment Based on FMECA Method. [Internet]. 2012 [cited 2017 April 01]. Available from: https://www. Science direct.com.
[9] Cheiphan, C. Factor support aircraft of sub unit maintenance of maintenance division,Thai Airway public company limited. [Dissertation]. Bangkok: Ramkhamhang University; 2011. (in Thai).
[10] Kaewbandon, B. Innovative management of large scale aircraft maintenance in Thai Airway public company limited. [Dissertation]. Bangkok: Pranakorn Rajabhat University; 2010. (in Thai).