การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านชุมชนบ้านสุกร

Main Article Content

ปราโมทย์ วีรานุกูล
ผกามาศ ชูสิทธิ์
กิตติพันธ์ บุญโตสิตระกูล
กิตติพงษ์ สุวีโร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาภูมิปัญญากระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผา สำรวจแหล่งดิน ทดสอบคุณสมบัติทางฟิสิกส์ ค่าผลวิเคราะห์ทางเคมีแหล่งดินชุมชนบ้านสุกร 2) พัฒนาและสร้างเตาเผา อัตราส่วนผสมเคลือบปรับปรุงการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการเพิ่มมูลค่าและออกแบบเครื่องปั้นดินเผาร่วมสมัยตามความต้องการของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ 3) เพื่อผลิตสารกรองสนิมเหล็กน้ำบาดาล ที่ได้จากจากอัตราส่วนผสมระหว่าง ดินเชื้อ และโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ผลการวิจัย พบว่า 1) ขั้นตอนกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมมี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมดิน การเตรียมดินเชื้อ การหมักดิน การขึ้นรูปด้วยไม้ตีและหินดุ การกดลาย การตากแห้ง และการเผากลางแจ้ง ผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของเนื้อดิน พบว่า การหดตัวก่อนเผาร้อยละ 7.8 และการหดตัว หลังการเผาร้อยละ 8.3 ความแข็งแรงก่อนเผา 38.02 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และความแข็งแรงหลังเผา 101 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ผลวิเคราะห์ทางเคมี พบว่า มีซิลิการ้อยละ 58.04 อลูมินาร้อยละ 20 แคลเซียมออกไซด์ ร้อยละ 2.85 โซเดียมไดออกไซด์ร้อยละ 0.75 โปแตสเซียมไดออกไซด์ร้อยละ 0.48 และเหล็กออกไซด์ร้อยละ 5.56 2) การพัฒนาเตาเผาแบบทางเดินลมร้อนแนวนอน ขนาด 3.5 ลูกบาศก์เมตร โดยใช้อิฐทนไฟเป็นผนังเตาสามารถเผาได้มากกว่าอุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส และพบว่า เคลือบที่เหมาะสมต่อการเคลือบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชนบ้านสุกร คือ เคลือบฟริตอุณหภูมิตั้งแต่ 650 - 800 องศาเซลเซียส 3) การผลิตสารกรองสนิมเหล็กโดยใช้ดินเชื้อเป็นตัวพยุง พบว่า ดินเชื้อที่เคลือบผิวด้วยโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต เผาที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียสขึ้นไป 4) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ด้านกระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านชุมชนบ้านสุกรโดยมีค่าเฉลี่ยระดับ 3.95 ด้านทดสอบคุณสมบัติทางฟิสิกส์และค่าผลวิเคราะห์ทางเคมีของดินที่ใช้ในการผลิตจากแหล่งดินเหนียว ค่าเฉลี่ยระดับ 3.77 ด้านพัฒนาต้นแบบเตาเผาทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานเตาเผา เคลือบ และแบบผลิตภัณฑ์ ร่วมสมัยมีค่าเฉลี่ยระดับ 4.00 และด้านการผลิตสารกรองสนิมเหล็กจากดินเชื้อเป็นตัวพยุง ค่าเฉลี่ยระดับ 4.77

Article Details

How to Cite
[1]
วีรานุกูล ป., ชูสิทธิ์ ผ., บุญโตสิตระกูล ก., และ สุวีโร ก., “การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านชุมชนบ้านสุกร”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 2, น. 13–24, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Prichanjit S. Important Ceramic Kiln Sites in ancient Lanna. Ceramic Body and Glaze Technology Laboratory. National Conference on Research Development. Research and development to Revitalize Ceramic Kiln sites and value-add of red clay pottery products in Lampang Province, 2002 January 5, Pottery Development Center, The industry sector. Department of Industrial Promotion. p. 7-24. (in Thai)
[2] Prompuek T. Kiln and Firing. Bangkok. Ordain store: 1980. (in Thai)
[3] Sudsung N. Industrial Design. Bangkok. King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang: 2000. (in Thai)
[4] Sikka S. Local Handicraft Development. Ubon ratchathani. Ubon ratchathani University: 2006. (in Thai)
[5] Kanjanakhom P. Archaeological excavations at the late of the Metal Age sites in Nakhon Ratchasima Province. Bangkok. Silpakorn University: 1996. (in Thai)
[6] Sriruksa K. The application of local wisdom to produce Ban Wangthua pottery. Khon kaen. Khon kaen University: 2011. (in Thai)
[7] Phromsaka Na Sakolnakorn CH. Development Pottery process low firing Esan. Khon kaen. Khon kaen University: 2551.