การสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ในการก่อสร้างและบำรุงรักษางานทาง

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ เจียรกุลประเสริฐ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ชาคริต ชูวุฒยากร สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2024.3

คำสำคัญ:

อากาศยานไร้คนขับ , ยูเอวี , ถนน, งานบำรุงรักษา , รังวัดปริมาตร

บทคัดย่อ

บทความได้ประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อรังวัดปริมาตรงานทางหรืองานถนนจากภาพถ่าย เพื่อคำนวณปริมาตรงานดินคันทางโดยประมวลผลจากพื้นผิวถึงพื้นผิวและเปรียบเทียบค่าจากแบบจำลองระดับพื้นผิว ที่ได้จากการสำรวจด้วยกล้องสำรวจชนิดสถานีรวม (Total Station) โดยภาพถ่ายทางอากาศจุดควบคุมภาคพื้นดินจำนวน 5 จุด ณ พื้นที่วิจัยในจังหวัดลำปาง โดยใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม กำหนดตำแหน่งของหมุดควบคุม ในระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ และการบินด้วยอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) เพื่อถ่ายภาพ ได้ใช้การบินรูปแบบกริดที่ระดับความสูง 131 เมตร เหนือภูมิประเทศ ด้วยระยะระหว่างจุดศูนย์กลางจุดภาพบนพื้นดินเท่ากับ 3.60 ซม.ต่อพิกเซล กำหนดการซ้อนทับกันของภาพถ่ายทางด้านหน้าและด้านข้างเท่ากับร้อยละ 85 และ 75 ตามลำดับ ภาพถ่ายจำนวน 35 ภาพ ผลการตรวจสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งของภาพถ่ายที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับเปรียบเทียบกับจุดตรวจสอบภาพถ่ายความคลาดเคลื่อนในแกน X  Y  Z มีค่าเท่ากับ 6.787 4.023 และ 5.048 ซม. ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนทางแนวราบและแนวดิ่ง ที่ได้กับมาตรฐาน ASPRS, 2014 มีระดับชั้นความแม่นยำในแนวราบในชั้นคุณภาพ 12.5 ซม. มีระดับชั้นความแม่นยำแนวดิ่ง กรณีมีพืชปกคลุม เท่ากับ 20 ซม. การคำนวณปริมาตรดินจากอากาศยานไร้คนขับและกล้องสำรวจชนิดสถานีรวม มีปริมาตรเท่ากับ 570.7 ลบ.ม. และ 620.5 ลบ.ม. ตามลำดับ ค่าความแตกต่างปริมาตรดินจากอากาศยานไร้คนขับน้อยกว่าการสำรวจด้วยกล้องสำรวจชนิดสถานีรวม 49.8 ลบ.ม. หรือร้อยละ 8 ผลการศึกษาที่ได้ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาใช้ภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อการคำนวณปริมาณงานทาง เพื่อการควบคุมงานก่อสร้างและการบำรุงรักษางานทาง

References

Otto A, Agatz N, Campbell J, Golden B, Pesch, E. Optimization approaches for civil applications of unmanned aerial vehicles (UAVs) or aerial drones. A survey. 2018; 72(4): 411-58.

Skorobogatov G, Barrado C, Salamí E. Multiple UAV systems: A survey. Unmanned Systems. 2020; 8(02):149-69.

Liu P, Chen AY, Huang YN, Han JY, Lai JS, Kang SC, Wu TH, Wen MC, Tsai MH. A review of rotorcraft unmanned aerial vehicle (UAV) developments and applications in civil engineering. Smart Struct. Syst. 2014; 13(6):1065-94.

Inzerillo L, Di Mino G, Roberts R. Image-based 3D reconstruction using traditional and UAV datasets for analysis of road pavement distress. Automation in Construction. 2018; 96:457-69.

Julge K, Ellmann A, Köök R. Unmanned aerial vehicle surveying for monitoring road construction earthworks. The baltic journal of road and bridge engineering. 2019; 14(1):1-7.

Jitpairod A, Kruavit P. A study of image processing technique by using an unmanned aerial vehicle for wearing surface assessment. Proceedings of the 27th National Convention on Civil Engineering. 2023; STR53-1. Thai.

Chidburi P, Nusid K, Wisitticade T, Sarathongmao T, Thongkhumyard S, Kernmanee P. The application of UAV photogrammetry to monitor the deformation of side-slope protection: A case study of Khwae Noi Bamrungdan Dam, Phitsanulok Province. Proceedings of the 27th National Convention on Civil Engineering. 2023; SGI11-1. Thai.

Kranpleumjit T, Chantongpoon J, Keawtong N. Applications of Unmanned Aerial Vehicle for Quarry Mapping Case study Phet Muang Lei Crashing Plant. Proceedings of the 27th National Convention on Civil Engineering.2023; SGI01-8. Thai.

Wisuwat T. A river cross section survey by UAV photogrammetry in Lam Pa Chi River, Kanchanaburi Province. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research J. 2022; 14(2): 465-84. Thai.

Regulation of Department of land for build and use aerial photo maps (2547BE). 2004. Thai.

Smith DL, Abdullah QA, Maune D, Heidemann KH. New ASPRS positional accuracy standards for digital geospatial data 2014.

Subcommittees of UAV standard for engineering project. UAV Standard for Engineering Project. No.012033-22. 2022.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-16

How to Cite

เจียรกุลประเสริฐ ป. . ., ชูวุฒยากร ช. ., & พันธุ์ท่าช้าง ฐ. . (2024). การสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่อใช้ในการก่อสร้างและบำรุงรักษางานทาง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 9(1), 22–31. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2024.3