การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น (หากมีกรณีพิเศษใดๆ กรุณากรอก comment มายังบรรณาธิการ)

  • ไฟล์บทความเป็นไฟล์นามสกุล .doc หรือ .docx ที่สามารถเปิดได้ในโปรแกรม Microsoft Word
  • ผู้แต่งได้จัดรูปแบบของบทความรวมถึงบรรณานุกรมให้ถูกต้องตามที่ได้ระบุไว้ใน คำแนะนำในการเขียนบทความ และไฟล์เทมเพลตของบทความ
  • ผู้แต่งได้กรอกในส่วนแนะนำผู้พิจารณาบทความพร้อมข้อมูลติดต่อในหน้าสุดท้ายของไฟล์ Template เป็นที่เรียบร้อย

คำแนะนำผู้แต่ง

คู่มือการใช้งานระบบ ThaiJo สำหรับผู้แต่ง: PDF

** สำหรับผู้ใช้เดิมในระบบ ThaiJo (ที่ไม่ได้สร้างแอคเค้าท์ใหม่)  ท่านจะต้องตั้งค่า role ของวารสารก่อนจึงจะสามารถส่งบทความได้ **
โดยไปที่เมนู ดูข้อมูลส่วนตัว (View Profile) มุมขวาบน -> แท็บ ตำแหน่ง (Roles) -> ติ๊กเลือก ผู้แต่ง (Author) -> บันทึก (Save) 

ดาวน์โหลด Template บทความ

การเตรียมบทความ

  1. การพิมพ์บทความใช้แบบอักษร TH SarabunPSK สำหรับบทความภาษาไทย หรือ Times New Roman สำหรับบทความภาษาอังกฤษ โดยให้จัดรูปแบบดังที่ระบุไว้ในเทมเพลตอย่างเคร่งครัด
  2. จำนวนหน้าทั้งหมดไม่ควรเกิน 8 หน้ากระดาษขนาด A4
  3. ภาพประกอบทุกภาพและตารางควรมีการอ้างอิงในบทความ รูปภาพที่เป็นดิจิทัลควรเลือกใช้รูปแบบ eps tiff หรือ jpg และมีความละเอียดของภาพไม่น้อยกว่า 300 dpi
  4. ตัวเลขที่ใช้เป็นเลขอารบิกเท่านั้น
  5. หน่วยที่ใช้ควรใช้ระบบหน่วย International System Units หรือ SI โดยในบทความเขียนเป็นภาษาไทย ส่วนคำอธิบายในรูปและตารางสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้
  6. คำภาษาไทยให้ใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  7. ศัพท์ภาษาอังกฤษให้แปลเป็นภาษาไทย ให้ใช้คำที่ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติไว้ ในกรณีที่ไม่ยังไม่ถูกกำหนดให้เขียนภาษาอังกฤษในวงเล็บด้านหลังเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น
  8. การย่อคำและการกำหนดสัญลักษณ์ให้ใช้เฉพาะคำย่อมาตรฐานโดยควรกำหนดคำเต็มก่อนครั้งแรกและอ้างอิงคำย่อไว้ท้าย 

ส่วนประกอบของบทความ

  1. ชื่อเรื่องที่ใช้ควรกระชับและชัดเจนแต่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด และไม่ควรใช้ตัวอักษรย่อ
  2. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะต้องแสดงรายละเอียดและระบุ ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการวิจัย สรุปผล โดยความยาวของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและอังกฤษไม่ควรเกิน 150 คำ โดยจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกัน และมีคำสาคัญประมาณ 3-5 คำ ส่วนการคั่นในบทคัดย่อภาษาไทยให้เว้นวรรค และเรียงลำดับตามตัวอักษร การคั่นคำสำคัญภาษาอังกฤษ (key word) ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) คำสำคัญภาษาอังกฤษต้องมีความหมายเหมือน คำสำคัญภาษาไทย และมีจำนวนเท่ากับคำสำคัญภาษาไทย
  3. เนื้อเรื่องของบทความจะประกอบไปด้วย บทนำ ทฤษฎีและวิธีการวิจัย ผลการวิจัยและอภิปราย บทสรุป กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง
    • บทนำ จะกล่าวถึงที่มาและความสำคัญของงานวิจัย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย สมมติฐาน ซึ่งเชื่อมโยงกับผลการวิจัย
    • ทฤษฎีและวิธีการวิจัย จะกล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดของวัสดุและวิธีการที่ใช้ในการศึกษา
    • ผลการศึกษา จะต้องแสดงเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของบทความซึ่งผลการศึกษาสามารถแสดงในรูปแบบตาราง และรูปภาพได้ แต่ต้องไม่ซ้ำกับเนื้อหาที่เขียนไว้ในส่วนนี้ ส่วนตำแหน่งการวางรูปภาพจะต้องอยู่หลังจาก คำแนะนำในบทความ และไม่จำเป็นต้องแสดงทันทีแต่ควรแสดงหลังจากการระบุหมายเลขตารางหรือรูปภาพในเนื้อหา การจัดตำแหน่งของรูปหรือตารางควรให้อยู่บริเวณด้านบนสุดหรือล่างสุดของบทความไม่ควรวางในบริเวณกึ่งกลางหน้ากระดาษ ในแต่ละช่วงของผลการวิจัย ผู้เขียนสามารถเขียนบทวิจารณ์โดยผลของการวิจารณ์จะต้องแสดงองค์ความรู้ใหม่ ผลประโยชน์ที่ได้รับ รวมทั้งรายละเอียดของปัญหาและอุปสรรค
    • บทสรุป เป็นการกล่าวถึงผลโดยย่อและข้อสรุปจากบทวิจารณ์
    • กิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนที่กล่าวคำขอบคุณถึงองค์กร หรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนต่อผู้เขียน
    • เอกสารอ้างอิง ซึ่งการเขียนเอกสารอ้างอิงสามารถแสดงในลำดับถัดไป โดยใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver system) ในกรณีที่เอกสารอ้างอิงต้นฉบับเขียนเป็นภาษาไทยให้ผู้เขียนเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษแล้วใช้ระบบแวนคูเวอร์และเขียนกำกับด้านท้ายว่า Thai ซึ่งตัวอย่างการอ้างอิงบางส่วนสามารถแสดงได้ดังนี้

บทความวิจัย

เป็นรายการวิจัย หรือรายงานทางวิชาการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารหรือหนังสือ

บทความปริทัศน์

เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เชิงวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากวารสารหรือหนังสือ โดยมีการวิเคราะห์และวิจารณ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึกอย่างแท้จริง

นโยบายส่วนบุคคล

ข้อมูลทั้งหมดที่ท่านกรอกเข้ามาในระบบส่งบทความของวารสาร รวมถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-สกุล ที่อยู่อีเมล จะถูกนำไปใช้เพื่อประกอบในกระบวนการจัดทำวารสารตามวัตถุประสงค์ทางวิชาการที่ตั้งไว้เท่านั้น และจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอกแต่อย่างใด