จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความ
วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (RMUTL. Eng. J.) เป็นวารสารทางวิชาการจัดพิมพ์ฉบับแรกในเดือนมกราคม พ.ศ.2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและองค์ความรู้ที่น่าสนใจทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งผลงานวิชาการและผลงานวิจัยสำหรับนักศึกษา บุคลากรภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนั้นเพื่อให้การเผยแพร่บทความ ผลงานทางวิชาการเป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์ จึงได้กำหนดแนวทางวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยไว้สำหรับการดำเนินงานของวารสาร ดังต่อไปนี้
บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
- ตรวจสอบและพิจารณาเนื้อหาบทความเบื้องต้นก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
- พิจารณาคุณภาพของบทความร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและกองบรรณาธิการก่อนการตีพิมพ์
- ตรวจสอบการคัดลอกเนื้อหาของบทความตามหลักสากล
- ยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ตามเกณฑ์ของวารสาร โดยไม่ใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลหรือใช้ความรู้สึกส่วนตนพิจารณาบทความนั้น หรือมีอคติต่อผู้เขียนหรือต่อหน่วยงานของผู้เขียน
- ให้อิสระแก่ผู้แต่งบทความในการเขียนบทความและคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานตามมาตรฐานทางวิชาการ
- รักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดทำวารสารและพิจารณาบทความโดยใช้วิธีการ peer review แบบ double blind
- รักษามาตรฐานและพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพตามที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยกำหนดตามมาตรฐาน
- มีการควบคุมและติดตามกระบวนการพิจารณาบทความของวารสารอย่างตรงไปตรงมา
ผู้แต่ง มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
- ต้องเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้ถูกต้องตามเทมเพลต (template) ที่ทางวารสารได้กำหนดไว้ใน คำแนะนำในการเขียนบทความ
- ต้องไม่คัดลอกผลงานของตนเองหรือผู้อื่น และหากมีการนำข้อความใด ๆ จากผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของตนเองต้องทำการอ้างอิง รวมทั้งต้องแสดงรายละเอียดเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความ
- ต้องนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอง การวิเคราะห์ หรือการคำนวณที่เกิดขึ้นจากการวิจัยอย่างตรงไปตรงมา ไม่ปลอมแปลง บิดเบือน หรือนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จในบทความ
- ผู้แต่งที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการเขียนบทความ
- ระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยและระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) โดยต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
- ประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญด้านเนื้อหาในบทความ คุณภาพของการวิเคราะห์ข้อมูล และความเข้มข้นของผลงาน ให้แล้วเสร็จในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เพื่อประโยชน์ของผู้เขียนบทความ
- รักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของ การประเมินบทความจนกว่าบทความได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
- ควรประเมินบทความด้วยความเที่ยงตรงและปราศจากอคติ โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตนที่ไม่เป็นไปตามหลักทฤษฎีเชิงวิชาการ
- หากผู้ประเมินบทความเห็นว่า ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการหรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้
ผู้ประเมินบทความควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ - ให้ข้อเสนอแนะที่ช่วยเหลือการตัดสินใจของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการในการพิจารณาบทความที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อความและบทความ
ในวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (RMUTL. Eng. J.) เป็นแนวคิดของผู้แต่งมิใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และมิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ทั้งนี้ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเนื้อหา แต่ให้อ้างอิงที่มา