พารามิเตอร์ที่เหมาะสมของกรรมวิธีการผลิตลวดตีเกลียวชนิด 7 เส้น

ผู้แต่ง

  • ศุภัทร ศิลาลอย สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ปริญญา ศรีสัตยกุล สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • จิรวัฒน์ ณ พัทลุง สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2023.2

คำสำคัญ:

ลวดตีเกลียว 7 เส้น, สมบัติเชิงกล, การออกแบส่วนประสมกลาง (CCD)

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของกรรมวิธีการผลิตลวดตีเกลียว 7 เส้น เพื่อให้สมบัติเชิงกลเป็นตามข้อกำหนดของลูกค้า ได้แก่ แรงดึงพิสูจน์ มากกว่า 234.6 กิโลนิวตัน แรงดึงสูงสุด มากกว่า 261 กิโลนิวตัน และการยืดตัว มากกว่า 5 % ในปัจจุบันสมบัติเชิงกลลวดตีเกลียว 7 เส้นที่ผลิตได้นั้น มีสมบัติเชิงกลไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า ซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนของพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตขั้นตอนตีเกลียว ได้แก่ ความตึงลวด และ อุณหภูมิ แนวทางในการปรับปรุงจะเป็นการประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองด้วยเทคนิคการออกแบบส่วนประสมกลาง (CCD) ผลลัพธ์การวิเคราะห์เชิงสถิติ พบว่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของกระบวนการผลิตลวดตีเกลียว 7 เส้น คือ ความตึงลวด 12980 kg และอุณหภูมิ 376 °C เมื่อนำพารามิเตอร์ที่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการผลิตจริงพบว่า สามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลในกระบวนการผลิตลวดตีเกลียว 7 เส้น ได้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ แรงดึงพิสูจน์ 250.6595 กิโลนิวตัน แรงดึงสูงสุด 277.4124 กิโลนิวตัน และการยืดตัว 5.1985 %

Downloads

Download data is not yet available.

References

Supawat M, Jeerawat P. Defects reduction in metal Parts production process. Kasem Bundit Engineering Journal. 2016;6: 91-106.Thai

Jin Kook K, Jeong-Su K, Seung Hee K. Mechanical Properties of a new pre-stressing strand with ultimate strength of 2160 MPa. KSCE Journal of Civil Engineering (2014) 18(2): 607-615.

Thai Industrial Standards. TIS.420-2540(1997). Steel Wires Strands for Prestressed Concrete. Bangkok: TIS; 1997

Prapaisri S, Pongchanun L. Design and Analysis of Experimen. Bangkok: Top Publishing;2008

Dan T. The effect of stress relieving treatment condition on the quality of pressed concrete wire in Progressively Drawn Pearlitic Steel. PhD thesis. Kasetsart University; 2012.

Phumin S. Siam Prestressed Material Co.,Ltd. Stranding Data Report date: 17th February 2019.

Norasit A. Study of the Annealing Process for the Drawn Fine Copper. Master thesis. Chulalongkorn University;1999.

Quality Procedure Production, Siam Prestressed Material Co.,Ltd. Document number: QP-PD-01, 2018.

ASTM International Standards Institution. A416: 12. Steel Strand, Uncoated Seven-Wire for Pre- stressed Concrete. United States: ASTM; 2012

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-15

How to Cite

ศิลาลอย ศ., ศรีสัตยกุล ป. ., & ณ พัทลุง จ. . (2023). พารามิเตอร์ที่เหมาะสมของกรรมวิธีการผลิตลวดตีเกลียวชนิด 7 เส้น. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 8(1), 11–20. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2023.2