การพัฒนาก้อนอิฐดินดิบผสมใบกล้วยและขุยมะพร้าวเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างสำหรับบ้านดิน
DOI:
https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2019.2คำสำคัญ:
ก้อนอิฐดินดิบ, ขุยมะพร้าว, ใบกล้วย, บ้านดิน, วัสดุทางการเกษตรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาก้อนอิฐดินดิบผสมวัสดุทางการเกษตรได้แก่ ใบกล้วยและขุยมะพร้าว การศึกษาครั้งนี้ควบคุมร้อยละส่วนผสมของดินและทราย เท่ากับ 85:15 ปริมาณน้ำร้อยละ 20 โดยน้ำหนักแห้งของดินผสมทราย ใช้สัดส่วนผสมของวัสดุทางการเกษตรแทนที่ปริมาณดินผสมทราย ร้อยละ 0 3 5 8 และ 10 โดยน้ำหนักแห้ง ขึ้นรูปและนำไปตากแดดเป็นเวลา 20 วัน หลังจากนั้นนำไปทดสอบกำลังต้านทานแรงอัด กำลังต้านทานแรงดัด ความหนาแน่น และการหดตัว เปรียบเทียบกับก้อนอิฐดินดิบที่มีส่วนผสมของแกลบจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง จากผลการทดสอบคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรม แสดงให้เห็นว่าก้อนอิฐดินดิบที่มีส่วนผสมของใบกล้วย ร้อยละ 3 มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมเหมาะสมที่สุด โดยมีค่าความหนาแน่นใกล้เคียงกับก้อนอิฐดินดิบจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้งมากที่สุด กำลังต้านทานแรงอัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.02 และกำลังต้านทานแรงดัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ซึ่งสามารถนำไปใช้ทดแทนก้อนอิฐดินดิบจากศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้งได้ และมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างสำหรับบ้านดิน
Downloads
References
[2] Benghida D. Adobe bricks: the besteco-friendly building material. Advanced Materials Research. 2015;1005:386-390.
[3] Lertwattanaruk P, Tungsirisakul J. Effect of natural materials on properties of adobe brick for earth construction. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 2007;5(1):187-199.
[4] Lertwattanaruk P, Choksiriwanna J. The physical and thermal properties of adobe brick containing bagasse for earth construction. Built. 2011;1(1):54-61.
[5] เสริมชัย กรตระกูล. บ้านดินล้ำยุค. กรุงเทพมหานคร:พงษ์สาส์น; 2554.
[6] จตุพร ตั้งศิริสกุล. การประยุกต์ใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติในการเพิ่มประสิทธิภาพของก้อนอิฐดินดิบเพื่อใช้ในการก่อสร้างบ้านดิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550.
[7] เสน่ห์ รัตนปัญญาเจริญ, ชัยวัฒน์ ตั้งใจ และฤกษ์ชัย สว่างสินธุ์. การศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของอิฐดินดิบผสมหญ้าแฝกและฟางข้าวเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างบ้านต้นทุนต่ำ. [ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต]. สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2550.
[8] ทรงกลด ศรีวัฒนวรัญญู. การพัฒนาอิฐดินดิบผสมหญ้าแฝกเพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างบ้านต้นทุนต่ำ. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2551.
[9] จรุญศรี โชคศิริวรรณา. คุณสมบัติทางกายภาพและ ความร้อนของก้อนอิฐดินดิบผสมกากอ้อยเพื่อการก่อสร้างบ้านดิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
[10] Hyeng CB, Bell EY. Mechanical properties of sustainable adobe bricks stabilized with recycled sugarcane fiber waste. Int. Journal of Engineering Research and Application. 2016;6(9):50-59.
[11] Begum R, Habib A, Begum HA. Adobe bricks stabilized with cement and natural rubber latex. Int. Journal of Emerging Science and Engineering. 2014;2(4):36-38.
[12] American Society for Testing and Materials. ASTM C67 Standard Test Methods For Sampling and Testing Brick and Structural Clay Tile. Annual Book of ASTM Standards; 2011.
[13] American Society for Testing and Materials. ASTM C138 Standard Test Method for density(unit weight) yield and air content (gravimetric) of concrete. Annual Book of ASTM Standards; 2012.
[14] พุฒิพัทธ์ ราชคำ และธีรวัฒน์ สินศิริ. การศึกษาคุณสมบัติของอิฐดินเหนียวมวลเบาผสมเถ้าลอยและแคลเซียมไฮดรอกไซด์. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 2559;9(1):70-82.
[15] กรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน. เปรียบเทียบคุณสมบัติของวัสดุอุตสาหกรรม 10 ชนิด. [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2561]. ที่มา: www2.dede.go.th/newomesafe/webban/book/material%20table.htm.