การพัฒนาวิธีประมาณค่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทิศและมุมต่างกันด้วยวิธีสหสัมพันธ์และใช้เทคนิค การจำแนกลักษณะท้องฟ้าแบบมิติสาทิสรูป : กรณีท้องฟ้าแจ่มใส

ผู้แต่ง

  • สาคร จำปาอิ่ม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • จีรวรรณ แซ่เล้า ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • รุ่งโรจน์ สงค์ประกอบ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ หน่วยวิจัยระบบพลังงานสะอาด วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2016.15

คำสำคัญ:

พลังงานแสงอาทิตย์, สหสัมพันธ์, มิติสาทิสรูป

บทคัดย่อ

จากนโยบายของรัฐบาลภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับกลุ่มบ้านอยู่อาศัยกลุ่มอาคารธุรกิจและกลุ่มโรงงานนั้น โดยส่วนใหญ่การออกแบบตำแหน่งและทิศของอาคารไม่ได้ออกแบบให้ทิศและมุมรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้สูงสุดเนื่องจากหลักการสร้างบ้านอยู่อาศัยและอาคารธุรกิจโรงงานขึ้นอยู่กับผู้อาศัยเป็นหลักโดยใช้ฐานความพึงพอใจ พื้นที่ประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม ดังนั้นก่อนการติดตั้งระบบฯ ต้องมีการประมาณค่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับค่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ในงานวิจัยนี้ได้พัฒนาการประมาณค่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทิศและมุมต่างกันด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยและใช้เทคนิคการจำแนกลักษณะท้องฟ้าด้วยวิธีมิติสาทิสรูปโดยพัฒนาหัววัดรังสีแสงอาทิตย์ด้วยโฟโต้ไดโอดชนิดชิลิกอนครอบคลุมความยาวคลื่น 400 – 1100 นาโนเมตร จำนวน 24 ตัวครอบคลุมทิศทั้งแปดและในแต่ละทิศประกอบด้วยมุม 20 30 และ 40 องศา ตามลำดับ ติดตั้งเก็บข้อมูล ณ ตำแหน่งที่ตั้งละติจูดที่ 18.43 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 98.78 องศาตะวันออก เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร เก็บข้อมูลรายนาทีของวันจากนั้นใช้เทคนิคมิติสาทิสรูปจัดกลุ่มข้อมูลตามสภาพท้องฟ้า โดยในบทความนี้ได้เลือกลักษณะท้องฟ้าแจ่มใสเป็นตัวแทนวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยวิธีสหสัมพันธ์ พบว่ากรณีท้องฟ้าแจ่มใสสามารถใช้สมการถดถอยประมาณค่าพลังงานแสงอาทิตย์ได้โดยมีค่าสหสัมพันธ์เฉลี่ยประมาณ 0.92 ทิศที่ได้พลังงานสูงสุดคือทิศใต้ที่มุมเอียง 40 องศาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Energy Regulatory Commission. Announce Energy Regulatory Commission: Request for Proposal Solar PV Rooftop. Available from: http://www.erc.OR.th/ERCWeb2, [Accessed 15th February 2015].
2. Chang Y-P. Optimal the tilt angles for photovoltaic modules in Taiwan. JEPE.2010;32(9):956-64
3. Beringer S, Schilke H, Lohse I, Seckmeyer G. Case study showing that the tilt angle of photovoltaic plants is nearly irrelevant. SOL ENERGY.2011;85(3):470-6
4. Hussein H.M.S, Ahmad G.E, Ghetany H.H.EL. Performance evaluation of photovoltaic modules at different tilt angle and orientations. ENERG CONVERS MANAGE.2004; 45(15-16):2441-51
5. John A.D. and William A.B. (1980). Solar Radiation,Solar Engineering of Thermal Processes. John Wiley and Sons Inc., New York
6. John O.R, Sastry G.P, David A.D. Applied Regression Analysis; A Research Tool. Springer;1998.
7. Samia H. Modeling Solar Radiation at the Earth’s Surface. In: Fractal Classification of typical meteorological days from global solar irradiance:Application to five sites of different climate. Springer;2008. p29-53

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-01

How to Cite

จำปาอิ่ม ส., ทองปรอน จ., แซ่เล้า จ., สงค์ประกอบ ร., & สมศักดิ์ ธ. (2016). การพัฒนาวิธีประมาณค่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทิศและมุมต่างกันด้วยวิธีสหสัมพันธ์และใช้เทคนิค การจำแนกลักษณะท้องฟ้าแบบมิติสาทิสรูป : กรณีท้องฟ้าแจ่มใส. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 1(2), 29–34. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2016.15