แผ่นพืชคลุมดินจากต้นฟักทองและปอเทืองเพื่อควบคุมวัชพืชสำหรับผักสวนครัว

Main Article Content

วิชุดา กล้าเวช
รัฐพล สมนา
วรศิริ เดอ กาเดอเนต์
เกียรติสุดา สมนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปริมาณธาตุอาหาร การย่อยสลายในดินและการย่อยสลายที่ผิวดินของแผ่นพืชคลุมดินจากต้นฟักทองและปอเทือง ศึกษาประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชและศึกษาปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแผ่นพืชคลุมดินเมื่อเทียบกับการใช้วัสดุคลุมดินประเภทอื่น โดยในการดำเนินงานวิจัย วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ต้นฟักทองสำหรับทำแผ่นพืช และปอเทืองบดเป็นวัสดุเพิ่มธาตุอาหาร ในปริมาณ 0, 2.5, 5 และ 10 กรัม ต่อพื้นที่ 600 ตารางเซนติเมตร และ ทดสอบคุณสมบัติ ได้แก่ การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร การศึกษาการย่อยสลายในดินและการย่อยสลายที่ผิวดิน และการศึกษาการใช้แผ่นพืชคลุมดินจากฟักทองและปอเทืองในแปลงสาธิต ได้แก่ การหาร้อยละการขึ้นของวัชพืช การศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการใช้แผ่นพืชคลุมดิน จากผลการวิจัย พบว่า ปริมาณธาตุอาหารบนแผ่นพืชคลุมดินจากต้นฟักทองและปอเทืองมีโพแทสเซียมในระดับสูง (91 – 120 มก./กก.) ในตัวอย่างแผ่นพืชที่มีปริมาณปอเทืองบด 10 กรัมต่อพื้นที่ 600 ตารางเซนติเมตร การทดลองการย่อยสลายในดิน พบว่า ที่อายุ 15 วัน แผ่นพืชที่มีปริมาณปอเทืองบด 10 กรัมต่อพื้นที่ 600 ตารางเซนติเมตร ไม่พบแผ่นพืชจากต้นฟักทองและปอเทืองเหลืออยู่ สำหรับการย่อยสลายบนดิน พบว่า ยังมีแผ่นพืชจากต้นฟักทองและปอเทืองเหลืออยู่ มีน้ำหนักหายไปร้อยละ 12.35 ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชในแปลงสาธิต พบว่าที่อายุ 40 วัน มีค่าร้อยละการขึ้นของวัชพืช 57.5 เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่คลุมดินมีค่าร้อยละ 82.50 ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศของแผ่นพืชมีค่า 3.0544 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อกิโลกรัม ผลงานวิจัยนี้เกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้ควบคุมวัชพืชในแปลงผักสวนครัวสำหรับเกษตรกร และการต่อยอดสำหรับนักวิจัยในการพัฒนาแผ่นพืชคลุมดินให้มีประโยชน์สูงสุดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). คู่มือการปลูกผักสวนครัว เศรษฐกิจฐานรากมั่งคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ภายในปี 2565. https://district.cdd.go.th/khanu/wp-content/uploads/sites/46/2020/03/3.-คู่มือปลูกผักedit4.pdf

กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง และสุวรรณา พนาอดิศัย. (2564). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้า บ้านห้วยส้านลีซอ ตําบลห้วยชมภู อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 16(1), 19-33.

ณัฐพงค์ หงษ์ทอง และธีรนุช เจริญกิจ. (2563). อิทธิพลของวัสดุคลุมดินต่อการควบคุมวัชพืชและการแตกยอดใหม่ของต้นลำไย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(3), 325-331.

พรทิพย์ ศรีมงคล, กฤษดา พันธะสา, รณชัย ไขคำ, ณัฐวุฒ เนียมแดง, อภิวัฒน์ ภูมิภักดิ์, และสุภาวรรณ ประพันธ์. (2563). อิทธิพลของวัสดุคลุมดินต่อการควบคุมวัชพืชผลผลิตข้าวโพดหวานและการเปลี่ยนแปลงสมบัติบางประการของดิน, แก่นเกษตร, 48(พิเศษ 1), 453-458.

พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ และวิศิษฐิพร สุขสมบัติ. (2558). การใช้ประโยชน์จากปอเทืองในอาหารโคเนื้อ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/5795/1/Fulltext.pdf

วันปิติ ธรรมศรี. (2564). ผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 39(4). 329-336.

สมยศ เดชภิรัตนมงคล. (2561). ผลของการใช้วัสดุคลุมแปลงปลูกที่แตกต่างกัน ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของฟ้า ทะลายโจร. แก่นเกษตร, 46(พิเศษ 1), 494-500.

สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. (2565). ผลงานวิจัยประจำปี 2564. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย, สมนึก แก้วเกาะสะบ้า, นิพนธ์ บุญมี, ชุติมา สุขโภคี, ทิวากร คาเงิน, รัชนีกร เหม่ชัยภูมิ, และเจนจิรา หม่องอ้น. (2564). ผลของชนิดวัสดุคลุมดินต่อการควบคุมวัชพืชในการผลิตเมล็ดพันธุ์หลักข้าวไร่พันธุ์ อาร์ 258: กรณีศึกษา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 10(2), 11-18.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2566). คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์. https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y0hKdlpIVmpkSE5mYVhNPQ

Chang, J., Liang, J., Fang, W., Zhang, H., Zhang, Y., Zhao, H., Zhang, R., Zhang, P., & Zhang, G. (2023). Adsorption behaviors and bioavailability of tetrabromobisphenol A in the presence of polystyrene microplastic in soil: Effect of microplastics aging. Environmental Pollution, 334, 122156. https://doi.org/10.1016/j.envpol.2023.122156

Eggleston, S., Buendia, L., Miwa, K., Ngara, T., & Tanabe, K. (Eds.). (2006). 2006 IPCC Guidelines for national greenhouse gas inventories: Volume 4 agriculture, forestry and other land use. Institute for Global Environmental Strategies(IGES). https://www.ipcc-nggip.iges.or.jp/public/2006gl/pdf/4_Volume4/V4_14_An2_SumEqua.pdf

Hu, M., Huang, L., Wang, Y., Tan, H., & Yu, X. (2023). Insight into the effect of microplastics on the adsorption and degradation behavior of thiamethoxam in agricultural soils. Chemosphere, 337, 139262. https://doi.org/10.1016/j.chemosphere.2023.139262

Iqbal, R., Raza, M.A.S., Valipour, M., Saleem, M.F., Zaheer, M.S., Ahmad, S., Toleikiene, M., Haider, I., Aslam, M.U., &Nazar, M.A. (2020). Potential agricultural and environmental benefits of mulches - a review. Bulletin of the National Research Centre, 44, 75. https://doi.org/10.1186/s42269-020-00290-3

Kedzierski, M., Cireder-Boulant, D., Palazot, M., Yvin, M., & Bruzaud, S. (2023). Continents of plastics: An estimate of the stock of microplastics in agricultural soils. Science of The Total Environment, 880, 163294. https://doi.org/10.1016/j.scitotenv.2023.163294