การทำนายคุณภาพการนอนหลับด้วยปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้า กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางแล จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พัชรินทร์ วินยางค์กูล
วัชรพงษ์ เรือนคำ
อนัญญา เหล่ารินทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายคุณภาพการนอนหลับด้วยปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้ากลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 152 ราย เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้า และคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman rank correlation) และวิเคราะห์สถิติถดถอยโลจิสติกแบบนำตัวแปรเข้าพร้อมกัน (Enter logistic regression) ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ร้อยละ 75.7 ปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้าที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับพบว่า อายุ ระดับความดันโลหิต การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ระดับน้ำตาลในเลือด รอบเอว ประวัติการมีเครือญาติป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และระดับไขมันในเลือด สามารถร่วมทำนายคุณภาพการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 15.5 (Nagelkerke R2 = 0.155) โดยระดับไขมันในเลือดที่ ≥ 130 มก./ดล. ทำนายคุณภาพการนอนหลับไม่ดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR= 2.39; 95% CI = 1.058 – 5.396) สรุปได้ว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้า ที่สามารถทำนายคุณภาพการนอนหลับซึ่งสามารถนำเสนอเชิงข้อมูลต่อพื้นที่และวางแผนพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับให้มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ และวรัญ ตันชัยสวัสดิ์. (2540). ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์ประเทศไทย, 42(3), 123-132.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2560). เมื่อผู้สูงอายุนอนไม่หลับ. เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_6_008.html

ปฤษฐพร กิ่งแก้ว, ธนัญญา คู่พิทักษ์ขจร, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ, ศิตาพร ยังคง, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, และยศ ตีระวัฒนานนท์. (2556). การประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 7(3), 346-360.

วราภา แหลมเพ็ชร. (2544). การนอนหลับและปัจจัยรบกวนการนอนหลับของผุ้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแผนกผู้ป่วยอายุรกรรม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2553/1722

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 - 2563. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

สนธยา มณีรัตน์, สัมพันธ์ มณีรัตน์, พรรณภา เรืองกิจ, และณัฏฐินี ชัวชมเกต. (2564). คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยรบกวน วิธีการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยรบกวนของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 11, 10-24.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. สำนักพิมพ์ทริค ธิงค์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2566). ระบบข้อมูลสาธารณสุข HDC จังหวัด. https://datacro.moph.go.th/hdc/main/index.php

Buysse, D. J., Reynolds, C. F., Monk, T. H., Berman, S. R., & Kupfer, D. J. (1989). The pittsburgh sleep quality index: A new instrument for psychiatric practice and research. Psychiatry Research. 28(2), 193-213. https://doi.org/10.1016/0165-1781(89)90047-4

Center for Continuing Pharmaceutical Education. (2020, August 26). The 1st Academic Conference of Pharmacy Society of Thailand 2020 "High Blood Pressure: What to Know and Need to Know". https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=3115

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.

D'Agostino, R. B., Vasan, R. S., Pencina, M. J., Wolf, P. A., Cobain, M., Massaro, J. M., & Kannel, W. B. (2008). General cardiovascular risk profile for use in primary care: The framingham heart study. Circulation, 117, 743-753. https://doi.org/10.1161/CIRCULATIONAHA.107.699579

Gou, F., Zhong, X., & Jiao, H. (2023). Sleep quality and related influencing factors in adult hypertensive patients in Shandong Province, China. Medicine, 102(22). https://doi.org/10.1097/MD.0000000000033926

Huang, M., Yang, Y., Huang, Z., Yuan, H., & Lu, Y. (2021). The association of nighttime sleep duration and daytime napping duration with hypertension in Chinese rural areas: a population-based study. Journal of Human Hypertension, 35, 896-902. https://doi.org/10.1038/s41371-020-00419-x

Jin, Q., Yang, N., Dai, J., Zhao, Y., Zhang, X., Yin, J., & Yan, Y. (2022). Association of Sleep Duration With All-Cause and Cardiovascular Mortality: A Prospective Cohort Study. Frontiers in Public Health, 10. https://doi.org/10.3389/fpubh.2022.880276

Lao, X. Q., Liu, X., Deng, H.-B., Chan, T.-C., Ho, K. F., Wang, F., Vermeulen, R., Tam, T., Wong, M. C., Tse, L. A., Chang, L.-Y., & Yeoh, E.-K. (2018). Sleep quality, sleep duration, and the risk of coronary heart disease: a prospective cohort study with 60,586 adults. Journal of Clinical Sleep Medicine, 14(1), 109–117. https://doi.org/10.5664/jcsm.6894

Puangpetch, L. (2009). Self-Care Behavirors and Complications of Patients with Hypertentionospital. Region 6 Medical Journal, 23, 141-151.

Wang, Y., Sun, M. H., Niu, Z. Z., Li, Y. T., Gao, X., Li, M., Zhang, W. F., Sheng, W., Wang, T. Y., Li, H. Y., Wang, J. X., Wang, Z. B., & Wu, J. T. (2021). The impact of obstructive sleep apnea hypopnea syndrome on the perioperative and long-term outcome in patients with Stanford type A aortic dissection. Chinese Journal of Otorhinolaryngology Head and Neck Surgery, 56(5), 447-453.

Winyangkul, P., & Ruankham, W. (2017). Effects of sodium intake on sleep quality with uncontrolled hypertension patients in rural Chiang Rai Province, Northern Thailand. Journal of Health Research, 31(3), 185-190.

World Health Organization. (2023, March 16). Hypertension. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension

Xing, C., Huang, X., Zhang, Y., Zhang, C., Wang, W., Wu, L., Ding, M., Zhang, M., & Song, L. (2020) Sleep disturbance induces increased cholesterol level by NR1D1 mediated CYP7A1 inhibition. Frontiers in Genetics., 11. https://doi.org/10.3389/fgene.2020.610496