การหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของเครื่องเป่าแห้งมันเทศในชุมชนทับน้ำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการออกแบบการทดลอง

Main Article Content

ฉัตรพล พิมพา
บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง
ศิวพร แน่นหนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตั้งเครื่องเป่าแห้งมันเทศและเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการทำงานของเครื่องเป่าแห้งมันเทศ ซึ่งทำงานร่วมกับเกษตรกรในตำบลทับน้ำ อำเภอบางประหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลและการหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดเป็นวิธีการทางสถิติที่ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยของเครื่องจักรเพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องจักรจะสามารถทำงานได้ตามที่เกษตรกรต้องการ ผู้วิจัยใช้การออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียลเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยจำนวน 2 ปัจจัย ประกอบด้วย อุณหภูมิของตัวทำความร้อนและความเร็วของสายพานสำหรับผลตอบของงานวิจัยคือ จำนวนมันเทศที่ผ่านตามมาตรฐานของเกษตรกร ผลการทดลองพบว่าผลกระทบหลักของปัจจัยทั้งสองปัจจัยส่งผลกระทบต่อผลตอบของงานวิจัย สำหรับผลกระทบร่วมไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบของงานวิจัย จากนั้นจึงนำข้อมูลจากการทดลองไปหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุด ผลการหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดพบว่า การปรับตั้งอุณหภูมิของตัวทำความร้อนไว้ที่ 200 องศาเซลเซียสและการปรับความเร็วของสายพานไว้ที่ 1 เมตรต่อนาที จะทำให้มันเทศแห้งและสามารถบรรจุถุงจำหน่ายได้โดยไม่ต้องผึ่งมันเทศ งานวิจัยนี้ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดเวลาในการผึ่งแห้งมันเทศ เมื่อเปรียบเทียบการผลิตแบบเดิมกับการผลิตโดยเครื่องจักรนั้นจะพบว่า การผลิตมันเทศ 10 ตันด้วยวิธีแบบเดิมจะต้องใช้เวลาผึ่งมันเทศให้แห้ง 3 – 5 วัน ในขณะเครื่องจักรจะใช้เวลา 11.1 ชั่วโมง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พิมพา ฉ., โปณะทอง บ., & แน่นหนา ศ. (2023). การหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของเครื่องเป่าแห้งมันเทศในชุมชนทับน้ำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการออกแบบการทดลอง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 18(2), 1–11. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250649
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2559). การปลูกพืชใช้น้ำน้อย. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ฉัตรพล พิมพา. (2560). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องล้างหัวมันเทศของชุมชนทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(2), 81-89.

ฉัตรพล พิมพา. (2565). การหาสภาวะที่เหมาะสมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตมันเทศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทับน้ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 15(1), 113-122.

พาขวัญ ทองรักษ์, ทศพร นามโฮง, นัยวิท เฉลิมนนท์, เสน่ห์ บัวสนิท, วิจิตรา เหลียวตระกูล, วชิรญา เหลียวตระกูล สุภาวดี รอดศิริ, วรรภา วงศ์แสงธรรม, วรรณา ขันธชัย, นิษฐกานต์ ประดิษฐ์ศรีกุล, สุภาพร พาเจริญ และจันทร์เพ็ญ บุตรใส. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากมันเทศที่ปลูกในชุมชนทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สถาบันวิจัยพืชสวน. (2559). เทคโนโลยีการผลิตมันเทศ. สถาบันวิจัยพืชสวน.

สรรฐติชัย ชีวสุทธิศิลป์. (2557). กลยุทธ์การออกแบบการทดลองสำหรับวิศวกรรม. นันทพันธ์พริ้นติ้ง.

สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). บรรยายสรุปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจำปี พ.ศ 2563. สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ปี 2565 และแนวโน้มปี 2565. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Chang, F. K., & Ting, C. P. (2011). Optimal two-level fractional factorial designs for location main effects with dispersion factors. Communications in Statistics-Theory and Methods, 40(11), 2035-2043. https://doi.org/10.1080/03610921003725804

Emmanuel, E., Yong, L. L., Asadi, A., & Anggraini, V. (2022). Full-factorial two-level design in optimizing the contents of olivine and coir fiber for improving the strength property of a soft marine clay. Journal of Natural Fibers, 19(2), 546-561. https://doi.org/10.1080/15440478.2020.1751373

Kamaraj, L., Hariharasakthisudhan, P., & Arul Marcel Moshi, A. (2021). Optimizing the ultrasonication effect in stir-casting process of aluminum hybrid composite using desirability function approach and artificial neural network. Proceedings of the Institution of Mechanical Engineers, Part L: Journal of Materials: Design and Applications, 235(9), 2007-2021. https://doi.org/10.1177/14644207211025706

Kechagias, J. D., & Vidakis, N. (2022). Parametric optimization of material extrusion 3D printing process: an assessment of Box-Behnken vs. full-factorial experimental approach. The International Journal of Advanced Manufacturing Technology, 121(5), 3163-3172. https://doi.org/10.1007/s00170-022-09532-2

Montgomery, D. C. (2009). Design and analysis of experiment. (7th Ed.). John Wiley & Sons.

Montgomery, D. C. Runger, G. C. & Hubele, N. F. (2007). Engineering Statistics. (5th Ed.). John Wiley & Son.

Montgomery, D. C. & Runger, G. C. (2011). Applied Statistics and Probability for Engineers. (5th Ed.). John Wiley & Son.

Myers, R. H., Montgomery, D. C., & Anderson-Cook, C. M. (2016). Response surface methodology: process and product optimization using designed experiments. (4th Ed.). John Wiley & Sons.

Oduntan, O. B., & Oluwayemi, B. J. (2021). Optimization of a clay-slate fluidized bed dryer for production of fish feed. Malays Journal of Sustainable Agriculture (MJSA), 5(2), 72-78. https://doi.org/10.26480/mjsa.02.2021.104.110