พื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรม จากการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดพิษณุโลกผ่านกลยุทธ์การออกแบบสร้างสรรค์

Main Article Content

ปรารถนา ศิริสานต์
เพ็ญสิริ ชาตินิยม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลชุมชนและแนวทางการใช้ศิลปวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนรวมถึงถ่ายทอดและกระตุ้นแนวคิดเชิงกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ทางความคิด ความงาม ประโยชน์ใช้สอย นำไปสู่ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน สร้างกลยุทธ์ที่ใช้ขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดต้นแบบในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ของพื้นที่ 4 ชุมชน คือ ชุมชนราชพฤกษ์ ชุมชนวิเศษไชยชาญ ชุมชนวิสุทธิกษัตริย์ และชุมชนรถไฟสามัคคี และสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มตัวแทนชุมชน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนภาคเอกชน นักออกแบบในพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมสร้างสรรค์ และผู้มาเยือน มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการนำพาข้อมูลแบบปากต่อปาก สนทนากลุ่ม สัมภาษณ์แบบเชิงลึก และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ผลข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ย่านชุมชนมีการผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลายศาสนาอาศัยและดำเนินชีวิตในการใช้พื้นที่ ประกอบด้วยวิถีย่านชุมชนคนจีน ย่านชุมชนมุสลิม ย่านชุมชนคริสต์ กลยุทธ์การออกแบบในกระบวนการสร้างสรรค์กับชุมชนนำไปสู่กับขับเคลื่อนพื้นที่กิจกรรมประกอบไปด้วย การออกแบบภาพลักษณ์ การสร้างภาพตัวแทนเพื่อการรับรู้ ออกแบบพื้นที่เส้นทางเดินชุมชน และบันทึกฐานข้อมูลและนำไปใช้ประกอบในการสร้างพื้นที่กิจกรรมของการดำเนินงานวิจัยมีการดำเนินงาน 7 กิจกรรมภายใต้ แนวคิด “ติด-สอย-ห้อย-ตาม” ประกอบด้วย Open Art of PHS, SALAM Art, IDENTITY of PHS, Art Workshop Even, PHS Photo Contest, VDO History และเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าประสงค์ของการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรม จากการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดพิษณุโลก ผ่านกลยุทธ์การออกแบบสร้างสรรค์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศิริสานต์ ป., & ชาตินิยม เ. (2023). พื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรม จากการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดพิษณุโลกผ่านกลยุทธ์การออกแบบสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 18(2), 95–106. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/250484
บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ. (2554). ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 28(2), 1-19.

ประเวศ วะสี. (2550). วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. สวนเงินมีมา.

พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม และโฆษิต ชัยประสิทธิ์. (2559). การอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืนอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ลภัสรดา สหัสสพาศ์น และนรินทร์ สังข์รักษา. (2561). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์จังหวัดเพชรบุรี ตามบริบทสังคมประเทศไทย 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 1056-1072.

ศักดิ์สิทธิ์ คำหลวง, ศุภรัก สุวรรณวัจน์. (2561). การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรชุมชนกาดกองต้าโดยใช้ทฤษฎีสัญศาสตร์ ต่อการรับรู้ทุนวัฒนธรรมชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(1), 24-39.

สมาน อัศวภูมิ. (2558). ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 15 (ฉบับพิเศษ), 9-16.

สมาคมออกแบบสร้างสรรค์. (2555). ความคิดสร้างสรรค์. สืบค้น 20 มกราคม 2564, จาก https://www.cea.or.th/th/research

สุวัฒน์ ฉิมะสังคนันท์. (2560). การสร้างการรับรู้ภาพลักษณ์ และอัตลักษณ์ที่มีต่อส้มโอจังหวัดนครปฐม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1), 203-219.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). ปรัชญาชีวิตคิดนอกกรอบ. พลังปัญญา.