การพัฒนาคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักจากเถ้าโรงไฟฟ้าชีวมวล

Main Article Content

จรรยพร หลู่จิ่ง
ภคมน ปินตานา
นิกราน หอมดวง
ธเนศ ไชยชนะ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้เถ้าจากการเผาไหม้ในโรงไฟฟ้าชีวมวล มาทดแทนสัดส่วนปูนซีเมนต์และทดแทนสัดส่วนทรายในการนำมาเป็นคอนกรีตบล็อก เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางเชิงกล และค่าการนำความร้อนของคอนกรีตบล็อกที่ผลิตได้ และเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตคอนกรีตบล็อกที่มีส่วนผสมของเถ้าชีวมวลเปรียบเทียบกับคอนกรีตบล็อกที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ โดยศึกษาอัตราส่วน 0, 20, 40 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ในการแทนที่ปูนซีเมนต์และแทนที่ทราย ตามลำดับ ตัวอย่างมอร์ตาร์ ขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ขนาด 5x5x5 เซนติเมตร อายุการบ่ม 28 วัน ผลการวิจัย พบว่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้เถ้าชีวมวลแทนปูนซีเมนต์ คือ 40 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการไหลแผ่ 114.17 เปอร์เซ็นต์ หน่วยน้ำหนัก 222 กรัม การดูดซึมน้ำ 16.21 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่น 2.19 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร การนำความร้อน 0.436 W/m∙K และกำลังรับแรงอัด 2.53 เมกะปาสกาล และอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้เถ้าชีวมวลแทนทราย คือ 40 เปอร์เซ็นต์ มีค่าการไหลแผ่ 112.72 เปอร์เซ็นต์ หน่วยน้ำหนัก 236 กรัม การดูดซึมน้ำ 16.87 เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่น 2.29 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร การนำความร้อน 0.427 W/m∙K และกำลังรับแรงอัด 2.61 เมกะปาสกาล โดยคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักที่ผลิตได้มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ต้นทุนวัสดุผลิตคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักโดยผสมเถ้าชีวมวลแทนที่ปูนซีเมนต์ และแทนที่ทราย ต่อก้อน 1.02 บาท และ 1.14 บาท ตามลำดับ ประโยชน์ของการแทนที่ด้วยเถ้าชีวมวลเหลือทิ้งทั้งปูนซีเมนต์ และทราย เป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และเป็นวิธีการกำจัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปูนซีเมนต์ และลดทราย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
หลู่จิ่ง จ., ปินตานา ภ., หอมดวง น., & ไชยชนะ ธ. (2023). การพัฒนาคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักจากเถ้าโรงไฟฟ้าชีวมวล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 18(1), 139–155. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/248801
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2533). ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1619 (พ.ศ.2533). สืบค้น 7 มิถุนายน 2565, จาก http://ptg.co.th/TIS/TIS58-2533.pdf

กานต์ สุขสงญาติ, อิทธิพงศ์ ชัยสายัณห์, อำนาจ จันทร์กะพ้อ, ปรีดา จันทวงษ์, วิชาญ วิมานจันทร์, และพิชัย นามประกาย. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบเชิงเศรษฐศาสตร์ระหว่างบ้านที่ใช้ผนังอิฐมอญกับผนังมวลเบาด้านการถ่ายเทความร้อนและคุณสมบัติทางความร้อน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 17(2), 34-42.

จิรวัฒน์ วิมุตติสุขวิริยา. (2565). การศึกษาคุณสมบัติบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักผสมเถ้าลอยชีวมวลในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(1), 1-15.

ชูเกียรติ ชูสกุล และขวัญชีวา หยงสตาร์. (2561). กำลังอัดของมอร์ตาร์ที่ใช้หินฝุ่นแทนทราย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(2), 324-332.

ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง, วีระชาติ อินตา, ธีรวัฒน์ คำใจ, และเศวตสุนทร ชินะกุล. (2563). กำลังแรงอัดของอิฐบล็อกประสานจากดินลูกรังผสมซีเมนต์ด้วยเถ้าหินและเถ้าชีวมวล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่, 5(1), 15-24. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2020.3

ณัฐวัตร ตันติกุลวิจิตร และวินัย อวยพรประเสริฐ. (2564). ผลกระทบของสารลดน้ำอย่างมากที่มีผลต่อการไหลแผ่ กำลังอัด และกำลังดึงของมอร์ต้าร์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26, (น. 1-8). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

บุรฉัตร ฉัตรวีระ และวินัย หอมศรีประเสริฐ. (2558). กำลังรับแรงอัดของซีเมนต์มอร์ต้าร์เถ้าลอยระยองบ่มด้วยเตาอบไฟฟ้าภายใต้การกระทำของโซเดียมซัลเฟตและแมกนีเซียมซัลเฟต. วิศวกรรมสารธรรมศาสตร์, 3(1), 25-33.

ประชุม คำพุฒ. (2559). ความต้านทานแรงอัดของคอนกรีตผสมเถ้าปาล์มน้ำมันแทนซีเมนต์และหินฝุ่นแทนทรายบางส่วน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 4(3), 461-470.

ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. (2553). การศึกษาคอนกรีตมวลเบาผสมเถ้าแกลบเสริมแผ่นยางธรรมชาติ (รายงานการวิจัย). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พงษ์ศักดิ์ จิตตบุตร. (2562). สมบัติเชิงกลและการนำความร้อนของคอนกรีตบล็อกจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร. วารสารวิชาการพระจอมเล้าพระนครเหนือ, 29(2), 342-351.

พัชร อ่อนพรม. (2560). การใช้เถ้าแกลบแทนที่ทรายบางส่วนในคอนกรีตมวลเบา. บทความวิจัยและนวัตกรรมอาชีวศึกษา, 1(1), 37-54.

เพ็ญพิชชา คงเพิ่มโกศล, อรรคเดช อับดุลมาติน, วีรชาติ ตั้งจิรภัทร, และชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2559). การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตโดยใช้วัสดุประสานจากเถ้าก้นเตาและกากแคลเซียมคาร์ไบด์. วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 4(1), 11-19.

รายงานประจำปี (56-1 One Report) 2564. (2565). สหโคเจน. สืบค้น 7 มิถุนายน 2565, จาก https://sahacogen.com/?page_id=343

วีระศักดิ์ ละอองจันทร์ และหมิง จิ๋ง. (2552). การใช้เถ้าชีวมวลในการพัฒนาวัตกรรมผนังคอนกรีตมวลเบาเพื่อเป็นฉนวนกันความร้อนสำหรับอาคาร (รายงานการวิจัย). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศราวุธ ปฏิญญาศักดิ์. (2560). การพัฒนาคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักโดยมีส่วนผสมเพิ่มของเถ้าลอย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี].

สายสุนีย์ จำรัส และบุรฉัตร ฉัตรวีระ. (2553). อิทธิพลของสัดส่วนผสมที่มีต่อคุณสมบัติทางกายภาพและสมบัติไดอิเล็กตริกของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์เถ้าลอย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 33(2), 145-162.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 8 พฤศจิกายน). บัญชีราคาค่าวัสดุและค่าแรง ปีงบประมาณ 2665. โยธาไทย. สืบค้น 7 มิถุนายน 2565, จาก https://www.yotathai.com/yotanews/cost-build-65

สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เล่ม 1 ข้อกำหนดคุณภาพ มอก. 15-2547. กระทรวงอุตสาหกรรม.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2562, 5 พฤศจิกายน). บ้านประหยัดพลังงาน อยู่สู้ภาวะโลกร้อน. สืบค้น 7 มิถุนายน 2565, จาก http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post/บ้านประหยัดพลังงาน-อยู่สู้

อัพเดต ราคาวัสดุก่อสร้าง ปลายปี 2565. (2566, 10 มกราคม). บ้านและสวน. สืบค้น 16 มิถุนายน 2565, จาก https://www.baanlaesuan.com/221417/maintenance/material-cost

อัมพรรณดี ยูโซะ. (2552). ผลกระทบของอุณหภูมิน้ำผสมคอนกรีตต่อการรับกำลังอัดของคอนกรีต. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(2), 62-71.

อาถาพร สินธุสาร. (2552). เถ้าแกลบ : วัสดุเหลือทิ้ง (ไม่) ไร้ค่า. สำนักเทคโนโลยีชุมชน. สืบค้น 20 มิถุนายน 2563, จาก https://www.dss.go.th/images/st-article/ct_6_2552_Husk.pdf

American Society For Testing and Materials. (1999). Annual Book ASTM Standards. ASTM C109 : Standard Test Method for Compressive Strength of Hydraulic Cement Mortars (Using 2-in. or [50-mm] Cube Speciments. Retrieved on June 2, 2022, from https://kupdf.net/download/astm-c109_5c2baac7e2b6f5c14d04844c_pdf.

American Society For Testing and Materials. (2003). Annual Book of ASTM Standards. ASTM C139 : Standard Specification for Concrete Masonry Units for Construction of Catch Basins and Manholes. Retrieved on June 2, 2022, fromhttps://civilfield.co/2021/08/22/astm-c-139-03-pdf-free-download/

American Society For Testing and Materials. (2010). Annual Book ASTM Standards. ASTM C20 : Standard Test Methods for Apparent Porosity, Water Absorption, Apparent Specific Gravity, and Bulk Density of Burned Refractory Brick and Shapes by Boiling Water. Retrieved on June 2, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/334307526_Standard_Test_Methods_for_Apparent_Porosity_Water_Absorption_Apparent_Specific_Gravity_and_Bulk_Density_of_Burned_Refractory_Brick_and_Shapes_by_Boiling_Water_1

American Society For Testing and Materials. (2014). Annual Book ASTM Standards. ASTM C39 : Standard Test Method for Compressive Strength of Cylindrical Concrete Specimens. Retrieved on June 2, 2022, from https://kupdf.net/download/astm-c39-c39m-standard-test-method-for-compressive-strength-of-cylindrical-concrete-specimens-pdf_58e6abe4dc0d609541da9821_pdf

American Society For Testing and Materials. (2015). Annual Book of ASTM Standards. ASTM C518 : Standard Test Method for Steady-State Thermal Transmission Properties by Means of the Heat Flow Meter Apparatus. Retrieved on June 2, 2022, from https://kupdf.net/download/c-518-15pdf_5c2a3d12e2b6f56a70ac8249_pdf