องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดสาหร่ายสีเขียวน้ำจืดขนาดใหญ่ (Oedogonium sp.) และผลร่วมของสารสกัดกับปุ๋ยทางใบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากล้วยไม้เอื้องสามปอยขุนตาล

Main Article Content

มัณฑกา วีระพงศ์
สุภาวดี รามสูตร
ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าววีระพงศ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในสารสกัดสาหร่ายสีเขียวน้ำจืดขนาดใหญ่ Oedogonium sp. ที่เก็บจากแหล่งน้ำสายหลักในจังหวัดนครศรีธรรมราช และศึกษาผลของสารสกัดสาหร่ายร่วมกับปุ๋ยทางใบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากล้วยไม้เอื้องสามปอยขุนตาลจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างสาหร่าย 3 ซ้ำในพื้นที่แปลงใหญ่ รักษาสภาพด้วยกลูทาราลดีไฮด์ 2 เปอร์เซ็นต์ และวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน และธาตุอาหารหลักของพืช ทดลองฉีดพ่นสารสกัดสาหร่ายเข้มข้น 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรที่สกัดได้ร่วมกับปุ๋ยทางใบ (สูตร 21-21-21) เข้มข้น 90, 80 และ 70 เปอร์เซ็นต์ ให้กับต้นกล้ากล้วยไม้ที่อายุ 60 วัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า สารสกัดสาหร่ายมีปริมาณกรดอะมิโนรวม และกรดอะมิโนอิสระ เท่ากับ 4287.98±33.21 และ 2248.6±21.09 มิลลิกรัม/100 กรัม น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ และปริมาณไนโตรเจนรวม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับ 0.89±0.04, 0.06±0.01 และ 2.29±0.12 มิลลิกรัม/100 กรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ผลการใช้สารสกัดสาหร่ายความเข้มข้นต่าง ๆ ร่วมกับปุ๋ยทางใบเปรียบเทียบกับการใช้น้ำกลั่น และปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียว พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยด้านเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต ความสูงต้นที่เพิ่มขึ้น และเส้นรอบวงลำต้น โดยเฉพาะการใช้สารสกัดสาหร่ายสีเขียวเข้มข้น 10-20 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับปุ๋ยทางใบ พบว่า ความสูงต้นเฉลี่ย (1.06-1.08) อัตราการเจริญเติบโต (0.54-0.61) และจำนวนใบเฉลี่ย (4.00-4.06) ใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยทางใบอย่างเดียว ขณะที่ฉีดพ่นด้วยน้ำกลั่นอย่างเดียวมีค่าเฉลี่ยด้านความสูงต้น และจำนวนใบต่ำที่สุด เท่ากับ 0.88 และ 3.64 งานวิจัยนี้เป็นแนวทางส่งเสริมการใช้สารสกัดสาหร่ายในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขมมิการ์ โขมพัตร, นุรอามาลี ดีนามอ, และนันทา เชิงเชาว์. (2561). ผลของสารสกัดจากสาหร่ายทุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบฟีนอลิกในยางพาราและการประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความต้านทานต่อเชื้อไฟทอปธอร่า. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(3), 218-230.

ไซนต๊ะ สะมาลา, สมปอง เตชะโต, และสุรีรัตน์ เย็นซ้อน. (2557). ผลของสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ในกล้วยไม้สามปอยขุนตาล. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 45(3), 309-314.

ฐิรารัตน์ แก้วจำนง, สมรักษ์ รอดเจริญ, อำนวยโชค เวชกุล, ธัชชา สามพิมพ์, การุณ ทองประจุแก้ว, นัทท์ นันทพงศ์, มานพ อาดำ, และเสาวลักษณ์ มาลาวะ. (2564). ผลของการเสริมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Nostoc commune Vaucher TISTR 8870 ต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และการสร้างสีของปลากัด (Betta splendens Regan, 1910). วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 40(1), 106-120.

ประไพ ทองระอา, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต, กานดา ฉัตรไชยศิริ, กัลยาณี สุวิทวัส, พิมพ์นิภา เพ็ญช่าง, นิศารัตน์ ทวีนุต, และภาสันต์ ศารทูลทัต. (2560). การใช้สารสกัดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินร่วมกับปุ๋ยทางใบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากล้วยน้ำว้า ‘ปากช่อง 50’ จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 4(4), 16-21.

ปรางนุช เลิศหิรัณย์. (2562). สินค้ากล้วยไม้. สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.

พฤกษ์ คงสวัสดิ์. (2558). โครงการวิจัยและพัฒนาอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมกล้วยไม้เพื่อใช้ประโยชน์. กรมวิชาการเกษตร. 168 หน้า.

ยุพิน กสินเกษมพงษ์. (2558). วิจัยและพัฒนากล้วยไม้ (รายงานการวิจัย). กรมวิชาการเกษตร.

ยุวดี พีรพรพิศาล. (2558). สาหร่ายน้ำจืดในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 440 หน้า.

ยุวดี พีรพรพิศาล, ดวงพร อมรเลิศพิศาล, ดวงตา กาญจนโพธิ์, ธวัช แต้โสตถิกุล ญาณี พงษ์ไพบูลย์, และสุดพร ตงศิร. (2552). ศักยภาพของสาหร่ายน้ำจืดขนาดใหญ่ในการเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเวชสำอาง (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สลิล สิทธิสัจจธรรม. (2551). กล้วยไม้ป่าเมืองไทย. บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด.

สุทธวรรณ สุพรรณ, พลอยไพลิน สดมณี, ปัทมาภรณ์ คุ้มกัน, ศราวุธ ราชลี, และประดับรัฐ ประจันเขตต์. (2564). ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายเตา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(2), 49-67.

อภิญญา สโมสร, สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์, อำมร อินทร์สังข์, และจรงค์ศักดิ์ พุมนวน. (2553). ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายขนาดใหญ่ ต่อไรฝุ่น Dermatophagoides pteronyssinus (Trouessart) โดยวิธีสัมผัส. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. (น. 184-192). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Akila, V., Manikandan, A., Sukeetha, D. S., Balakrishnan, S., Ayyasamy, P. M., & Rajakumar, S. (2019). Biogas and biofertilizer production of marine macroalgae: An effective anaerobic digestion of Ulva sp. Biocatalysis and Agricultural Biotechnology, 18, 101035. https://doi.org/10.1016/j.bcab.2019.101035

AOAC. (1989). Official methods of analysis. (4th ed.). Association of Official Analytical Chemists.

AOAC International. (2019). Official Methods of Analysis of AOAC INTERNATIONAL. (21st ed.). AOAC International.

Deepika, P. & MubarakAli, D. (2020). Production and assessment of microalgal liquid fertilizer for the enhanced growth of four crop plants. Biocatalysis and Agricultural Biotechnology, 28, 101701. https://doi.org/10.1016/j.bcab.2020.101701

Grzesik, M., Romanowska-Duda, Z., & Kalaji, H. M. (2017). Effectiveness of cyanobacteria and green algae in enhancing the photosynthetic performance and growth of willow (Salix viminalis L.) plants under limited synthetic fertilizers application. Photosynthetica, 55(3), 510-521. https://doi.org/10.1007/s11099-017-0716-1

Official Journal of the European Communities. (1998). Determination of amino acids. Retrieved on July 18, 2021, from https://eur-lex.europa.eu/legalcontent/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:31998L0064&from=HU

Pereira, L. (2021). Macroalgae. Encyclopedia, 1, 177-188. https://doi.org/10.3390/encyclopedia1010017

Pimentel, F. B., Alves, R. C., Rodrigues, F., & Oliveira, M. B. P. P. (2018). Macroalgae-Derived Ingredients for Cosmetic Industry—An Update. Cosmetics, 5(1), 2. https://doi.org/10.3390/cosmetics5010002

Ramola, B., Kumar, V., Nanda, M., Mishra, Y., Tyagi, T., Gupta, A., & Sharma, N. (2019). Evaluation, comparison of different solvent extraction, cell disruption methods and hydrothermal liquefaction of Oedogonium macroalgae for biofuel production. Biotechnology Reports, 22, e00340. https://doi.org/10.1016/j.btre.2019.e00340

Raut, Y. & Capone, D. G. (2021). Macroalgal detrital systems: an overlooked ecological niche for heterotrophic nitrogen fixation. Environmental Microbiology, 23(8), 4372-4388. https://doi.org/10.1111/1462-2920.15622

Tan, C.-Y., Dodd, I. C., Chen, J. E., Phang, S.-M., Chin, C. F., Yow, Y.-Y., & Ratnayeke, S. (2021). Regulation of algal and cyanobacterial auxin production, physiology, and application in agriculture: an overview. Journal of Applied Phycology, 33(5), 2995-3023. https://doi.org/10.1007/s10811-021-02475-3

US EPA. (1996). SW-846 Test method 3052: Microwave Assisted Acid Digestion of Siliceous and Organically Based Matrices. Retrieved on July 20, 2021, from https://www.epa.gov/sites/default/files/2015-12/documents/3052.pdf

Vasantharaja, R., Abraham, L. S., Inbakandan, D., Thirugnanasambandam, R., Senthilvelan, T., Jabeen, S. K. A., & Prakash, P. (2019). Influence of seaweed extracts on growth, phytochemical contents and antioxidant capacity of cowpea (Vigna unguiculata L. Walp). Biocatalysis and Agricultural Biotechnology, 17, 589-594. https://doi.org/10.1016/j.bcab.2019.01.021

Zheng, X., Como, S., Huang, L., & Magni, P. (2020). Temporal changes of a food web structure driven by different primary producers in a subtropical eutrophic lagoon. Marine Environmental Research, 161, 105128. https://doi.org/10.1016/j.marenvres.2020.105128